พูดคุย:ข้อมูลอภิพันธุ์
เพิ่มหัวข้อ
|
ศัพท์บัญญัติ
[แก้]ทั้ง เมทา และ ดาตา เป็นคำทับศัพท์ที่มีใช้ในคำอื่น ๆ ขอราชบัณฑิต นะครับ จึงควรจะใช้ให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน -jame
- สงสัยนะครับ ไม่รู้ว่าคุณ Jame มาจากราชบัณฑิตฯ หรือเปล่า สงสัยหลายคำที่ขัดแย้งกันเองกับหลักการเขียนคำทับศัพท์ของราชบัณฑิตเองนะครับ อย่างง่ายๆ ก็คำนี้ ในราชบัณฑิตเขียนว่า ถ้าเป็นคำลงท้ายให้ใช้ ต.เต่า (ถ้าขึ้นต้นให้ใช้ ท.ทหาร) และคำว่า metadata t แรก นี่ก็เป็นคำสะกด, t สองเป็นคำเริ่มต้น (met-a-da-ta) แต่ใช้ ท.ทหาร กับ ต.เต่า สลับกันนะครับ คำว่า ดาตา นี่คงใช้กันจนชินแล้วพอเข้าใจ แต่ไม่เข้าใจคำว่า เมทา นะครับ --Manop | พูดคุย - 06:20, 7 พฤษภาคม 2006 (UTC)
metadata
[แก้]ถ้าเอาแบบไทย ๆ น่าจะเป็น เมตาดาตา หรือ เมต้าดาต้า ไปเลยนะครับ (เดตา นี่อเมริกันชัดเลย) .. กูเกิลเจอ ทั้ง เมทาดาตา เมตาดาตา เมต้าดาต้า เมตาเดตา นะ แต่ เมทะเดตา นี่ ยังไม่มีใครใช้ -- bact' คุย 03:14, 6 มกราคม 2006 (UTC)
- เมตาดาตา มันเหมือน เมตตา ดาตา เป็นคำสวดเลยนะ ในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ของทักษิณา สวนานนท์ และ ฐานิศรา เกียรติบารมี มีคำว่า META tag ใช้ว่า "เมต้าแท็ก" เราก็ใช้ metadata เป็น "เมต้าดาต้า" ดีมั๊ยครับ? --- Jittat 03:25, 6 มกราคม 2006 (UTC)
- Dict ของ MSN เขียนว่า met·a·da·ta - méttə dàytə
- dictionary.com - /me't*-day`t*/ (อเมริกัน)และ /mee'-/; /-dah`t*/ (อังกฤษ)
คงต้องตกลงว่า meta กับ data จะใช้คำไหนนะครับ meta
- เมต้า
- เมตา
- เมตะ
data
- ดาต้า
- เดต้า
- เดตา - อ่านเหมือน ดะเตา ^_^
--Manop | พูดคุย - 05:20, 6 มกราคม 2006 (UTC)
meta
[แก้]ค้นศัพท์บัญญัติมาทั้งหมดแล้วพบ meta มีการเขียนดังนี้ (ที่ไม่ได้ถูกแปลเป็นคำอื่น)
- metabolism = เมแทบอลิซึม
- metacompiler = เมทาคอมไพเลอร์
- metacutisation, metacutization = เมทาคิวไทเซชัน
- metaphase = เมทาเฟส
- metaphloem = เมทาโฟลเอ็ม
- metaxylem = เมทาไซเล็ม
ส่วนใหญ่ใช้ "เมทา" จึงสรุปว่าให้ใช้ "เมทา" --浓宝努 10:57, 16 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
data
[แก้]ค้นศัพท์บัญญัติมาทั้งหมดแล้ว data เกือบทั้งหมดแปลเป็นคำว่า "ข้อมูล" เว้นแต่คำเดียวที่ทับศัพท์
- datagram = เดทาแกรม
จะเห็นว่า พยางค์แรกใช้สระเอ พยางค์สองใช้ ท ทหาร แต่เมื่อพยางค์สองลงท้ายก็อาจสะกดด้วย ต เต่าแทน (ตามหลักการทับศัพท์)
ไม่มีการทับศัพท์โดยตรงของคำว่า data โดยราชบัณฑิตยสถาน (ใช้คำว่า "ข้อมูล" แทน) ดังนั้นการกล่าวอ้างนี้ตกไป
ค้นจาก dictionary.com พบว่าพยางค์แรกอ่านได้ถึงสามแบบ ได้แก่ เด- แด- ดา-
ค้นจาก Oxford พบว่าระบุพยางค์แรกอ่านว่า เด- เพียงอย่างเดียว
ค้นจาก Merriam-Webster พบว่าพยางค์แรกอ่านได้ถึงสามแบบ ได้แก่ เด- ดา- และ ดา- (a กับ ä ไม่ต่างกันในภาษาไทย)
ทั้งหมดไม่มีการระบุว่าแบบอเมริกันหรือแบบบริติช ชั่งน้ำหนักทั้งหมดแล้ว พยางค์แรก {เด > ดา > แด} พยางค์สอง {ตา > ทา} จึงสรุปให้ใช้ "เดตา" --浓宝努 11:22, 16 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
อภิข้อมูล
[แก้]อันนี้เป็นศัพท์บัญญัติเอง หรือว่ามีใช้กันครับ ฝากผู้รู้ช่วยหาเอกสารยืนยันหน่อยครับ พอดีกูเกิล แล้วไม่เจอเลยซักหน้า (อภิข้อมูล ค้นหา) --Manop | พูดคุย - 20:03, 25 เมษายน 2006 (UTC)
- ตามหลักแล้วไม่สามารถประกอบ อภิ- ซึ่งเป็นคำบาลีสันสกฤต กับคำไทยได้ ดังนั้นจะไม่มีคำว่า "อภิข้อมูล" เมื่อไม่นานมานี้ผมก็มีปัญหากับ metamedia ซึ่งจะเขียนว่า "อภิสื่อ" ก็ไม่ได้เช่นกัน แต่เลี่ยงไปใช้คำอื่นแทนคือ "สื่อก้าวหน้า" --浓宝努 10:47, 16 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ชื่อบทความ
[แก้]@Sudsanan: ที่คุณเปลี่ยนเพราะ "ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์เทคโนโลยีทางภาพ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 185." เป็นแหล่งอ้างอิงที่ใช้ไม่ได้หรือครับ ปกติในวิกิพีเดียภาษาไทยเราจะพยายามใช้คำตามราชบัณฑิตยสถาน ยกเว้นว่าคำนั้นไม่ไหวจริง ๆ --Horus (พูดคุย) 01:02, 17 มีนาคม 2561 (ICT)