ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการสะพานลอนดอน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Yokoronichi (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
==ความเป็นมา==
==ความเป็นมา==


ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 [[รัฐพิธีศพในสหราชอาณาจักร|งานพระศพในสหราชอาณาจักร]]นั้นดำเนินการไม่เรียบร้อยมาตลอด เป็นต้นว่า ในงานพระศพ[[เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์]]เมื่อ ค.ศ. 1817 สัปเหร่อล้วนเมาสุรา ขณะที่งานพระศพ[[พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 4]] เมื่อ ค.ศ. 1830 นั้น นิตยสาร ''[[ไทมส์]]'' บันทึกว่า "บริหารจัดการแย่" (ill-managed) พฤติการณ์เหล่านี้มาเปลี่ยนแปลงเอาเมื่อ[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]]ทรงเตรียมงานพระศพของพระองค์มาตั้งแต่ ค.ศ. 1875 จนสวรรคตลงใน 26 ปีให้หลัง<ref name="theguardian.com"/>
ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 [[รัฐพิธีศพในสหราชอาณาจักร|งานพระศพในสหราชอาณาจักร]]นั้นดำเนินการไม่เรียบร้อยมาตลอด เป็นต้นว่า ในงานพระศพ[[เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์]]เมื่อ ค.ศ. 1817 เจ้าพนักงานภูษามาลาล้วนเมาสุรา ขณะที่งานพระบรมศพ[[พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 4]] เมื่อ ค.ศ. 1830 นั้น นิตยสาร ''[[ไทมส์]]'' บันทึกว่า "บริหารจัดการแย่" (ill-managed) พฤติการณ์เหล่านี้มาเปลี่ยนแปลงเอาเมื่อ[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]]ทรงเตรียมงานพระบรมศพของพระองค์มาตั้งแต่ ค.ศ. 1875 จนสวรรคตลงใน 26 ปีให้หลัง<ref name="theguardian.com"/>


การใช้รหัสลับสำหรับบอกข่าวการสวรรคตนั้น เริ่มเมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 6]] สวรรคตใน ค.ศ. 1952 มีการแจ้งข้อความว่า "มุม[[Hyde Park, London|สวนไฮด์]]" (Hyde Park Corner) ต่อข้าราชการผู้ใหญ่ เพื่อเป็นนัยว่า พระเจ้าแผ่นดินสิ้นแล้ว ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ควบคุมแผงไฟใน[[พระราชวังบักกิงแฮม]]รู้ข่าวเร็วเกินไป<ref name="theguardian.com"/><ref name="independent.co.uk"/>
การใช้รหัสลับสำหรับบอกข่าวการสวรรคตนั้น เริ่มเมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 6]] สวรรคตใน ค.ศ. 1952 มีการแจ้งข้อความว่า "มุม[[Hyde Park, London|สวนไฮด์]]" (Hyde Park Corner) ต่อข้าราชการผู้ใหญ่ เพื่อเป็นนัยว่า พระเจ้าแผ่นดินสิ้นแล้ว ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ควบคุมแผงไฟใน[[พระราชวังบักกิงแฮม]]รู้ข่าวเร็วเกินไป<ref name="theguardian.com"/><ref name="independent.co.uk"/>


ส่วน[[สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี]] นั้น มีการใช้แผนเรียก "ปฏิบัติการสะพานเทย์" (Operation Tay Bridge) สำหรับเตรียมงานพระศพล่วงหน้าถึง 22 ปี และแผนนี้ก็ใช้เป็นแบบแผน[[พระราชพิธีพระศพของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์|งานพระศพเจ้าหญิงไดอานา]]ใน ค.ศ. 1997<ref name="theguardian.com"/>
ส่วน[[สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี]] นั้น มีการใช้แผนเรียก "ปฏิบัติการสะพานเทย์" (Operation Tay Bridge) สำหรับเตรียมงานพระบรมศพล่วงหน้าถึง 22 ปี และแผนนี้ก็ใช้เป็นแบบแผน[[พระราชพิธีพระศพของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์|งานพระศพเจ้าหญิงไดอานา]]ใน ค.ศ. 1997<ref name="theguardian.com"/>


==แผน==
==แผน==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:57, 30 ธันวาคม 2563

ปฏิบัติการสะพานลอนดอน (อังกฤษ: Operation London Bridge) เป็นรหัสลับเรียกแผนดำเนินการต่าง ๆ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคตลง[1][2][3][4] เดิมทีแผนนี้วางขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และปรับปรุงเรื่อยมาทุกปี ในการวางแผนมีความร่วมมือจากกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ เป็นต้นว่า หน่วยตำรวจนครบาล กองทัพบริติช ราชอุทยานลอนดอน ตลอดจน คริสตจักรอังกฤษ และสื่อมวลชน นอกจากนี้ การตัดสินใจสำคัญบางประการยังเป็นพระวินิจฉัยของสมเด็จพระราชินีนาถโดยตรง แต่บางเรื่องที่ต้องอาศัยการวินิจฉัยของผู้สืบบัลลังก์ต่อก็มี

แผนนี้กำหนดให้ใช้ข้อความว่า "สะพานลอนดอนพังแล้ว" (London Bridge is down) เป็นรหัสสำหรับบอกคนวงใน เช่น นายกรัฐมนตรี และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ให้ทราบว่า สมเด็จพระราชินีนาถสวรรคตแล้ว จะได้เริ่มปฏิบัติตามแผน

ความเป็นมา

ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานพระศพในสหราชอาณาจักรนั้นดำเนินการไม่เรียบร้อยมาตลอด เป็นต้นว่า ในงานพระศพเจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์เมื่อ ค.ศ. 1817 เจ้าพนักงานภูษามาลาล้วนเมาสุรา ขณะที่งานพระบรมศพพระเจ้าจอร์จที่ 4 เมื่อ ค.ศ. 1830 นั้น นิตยสาร ไทมส์ บันทึกว่า "บริหารจัดการแย่" (ill-managed) พฤติการณ์เหล่านี้มาเปลี่ยนแปลงเอาเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเตรียมงานพระบรมศพของพระองค์มาตั้งแต่ ค.ศ. 1875 จนสวรรคตลงใน 26 ปีให้หลัง[1]

การใช้รหัสลับสำหรับบอกข่าวการสวรรคตนั้น เริ่มเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 6 สวรรคตใน ค.ศ. 1952 มีการแจ้งข้อความว่า "มุมสวนไฮด์" (Hyde Park Corner) ต่อข้าราชการผู้ใหญ่ เพื่อเป็นนัยว่า พระเจ้าแผ่นดินสิ้นแล้ว ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ควบคุมแผงไฟในพระราชวังบักกิงแฮมรู้ข่าวเร็วเกินไป[1][2]

ส่วนสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี นั้น มีการใช้แผนเรียก "ปฏิบัติการสะพานเทย์" (Operation Tay Bridge) สำหรับเตรียมงานพระบรมศพล่วงหน้าถึง 22 ปี และแผนนี้ก็ใช้เป็นแบบแผนงานพระศพเจ้าหญิงไดอานาใน ค.ศ. 1997[1]

แผน

แผนสำหรับดำเนินการเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคตแล้ว มีดังนี้

วันสวรรคต

คริสโตเฟอร์ ไกดต์ (Christopher Geidt) ราชเลขาธิการ เป็นข้าราชการคนแรกที่มีหน้าที่รับมือกับข่าวการสวรรคต สิ่งแรกที่เขาจะทำ คือ ติดต่อนายกรัฐมนตรี แล้วข้าราชการทั้งหลายก็จะแจ้งข้อความ "สะพานลอนดอนพังแล้ว" ต่อ ๆ กันไปทางโทรศัพท์ที่มีระบบป้องกัน[1] จากนั้น ศูนย์ปฏิกิริยาโลก (Global Response Centre) ในสังกัดสำนักต่างประเทศ ซึ่งมีที่ตั้งอันไม่เปิดเผยอยู่ในลอนดอน จะแจ้งข่าวการสวรรคตไปยังรัฐบาล 15 ประเทศในเครือจักรภพประชาชาติที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นประมุข[1]

แล้วจะมีการแจ้งสื่อมวลชน โดยแถลงต่อสมาคมสื่อ และต่อบีบีซีทางระบบส่งผ่านการแจ้งเตือนทางวิทยุ (Radio Alert Transmission System) รวมถึงต่อสถานีวิทยุพาณิชย์ทั้งหลายผ่านเครือข่าย "ไฟมรณะ" (obit light) สีฟ้า ซึ่งจะเป็นที่รับทราบของพิธีกรรายการวิทยุว่า ถึงเวลาเปิด "เพลงที่เหมาะสม" และเตรียมเสนอข่าวฉับพลัน ในการนี้ นิตยสาร ไทมส์ มีเวลา 11 วันสำหรับเตรียมออกข่าว ส่วนสำนักข่าวไอทีเอ็นและสกายนิวส์ได้ซักซ้อมเกี่ยวกับการสวรรคตมานานแล้ว โดยใช้คำว่า "คุณนายรอบินสัน" (Mrs Robinson) เรียกสมเด็จพระราชินีนาถแทน[1]

ครั้นแล้ว ชาวพนักงานจะติดกระดาษขอบดำลงประกาศการสวรรคตไว้ตามประตูพระราชวังบักกิงแฮม ขณะเดียวกัน เว็บไซต์สำนักพระราชวังก็จะขึ้นประกาศอย่างเดียวกัน[1] แล้วจะมีการเรียกประชุมรัฐสภานัดพิเศษภายในไม่กี่ชั่วโมง เพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้แถลงการสวรรคตต่อสภาสามัญชน

วันถัดจากวันสวรรคต

หลังสวรรคตแล้วหนึ่งวัน สภาสืบราชย์ (Accession Council) จะประชุมประกาศยกเจ้าชายชาลส์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์[1] เย็นนั้น จะมีการประชุมรัฐสภาเพื่อถวายสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

งานพระศพ

มีการเตรียมเคลื่อนหีบพระศพไว้หลายทาง สุดแต่ว่าจะสวรรคตที่ใด เช่น

แต่ไม่ว่ากรณีจะเป็นเช่นไร หีบพระศพจะตั้งไว้ในท้องพระโรงพระราชวังบักกิงแฮมเป็นเวลา 4 วัน แล้วจะย้ายไปตั้งสักการะ ณ โถงเวสมินสเตอร์ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ อีก 4 วัน

ส่วนงานพระศพจะจัดขึ้น ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เมื่อสวรรคตแล้ว 9 วัน หลังจากนั้น จะฝังพระศพไว้ ณ โบสถ์น้อยนักบุญจอร์จ (St George's Chapel) ในปราสาทวินด์เซอร์[1]

ชื่อ

แผนเตรียมความพร้อมสำหรับการสวรรคตของพระราชวงศ์บริติชนั้นมักใช้ชื่อสะพานในสหราชอาณาจักรมาเรียก เป็นต้นว่า

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Knight, Sam (16 March 2017). "Operation London Bridge: the secret plan for the days after the Queen's death". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 March 2017.
  2. 2.0 2.1 Oppenheim, Maya (16 March 2017). "This is the secret code word when the Queen dies". The Independent.
  3. Bowden, George (16 March 2017). "5 Things We've Learned About 'London Bridge' – The Queen's Death Protocol".
  4. Meyjes, Toby (16 March 2017). "There's a secret code word for when the Queen dies". Metro.
  5. "A week of mourning for the last empress". The Guardian. 1 April 2002.
  6. "The Insider – Paul Routledge". New Statesman. 17 June 2002.