ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ละครวิทยุ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
*[[คณะมิตรมงคล | มิตรมงคล]]
*[[คณะมิตรมงคล | มิตรมงคล]]
* รังสิมันต์
* รังสิมันต์
* จามร ([[เวส สุนทรจามร]])
*จารุกนก (พจน์ จารุวนิชย์)
*จารุกนก (พจน์ จารุวนิชย์)
*นุชและสหาย (แนวชีวิต/เบาสมอง)
*นุชและสหาย (แนวชีวิต/เบาสมอง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:52, 9 กรกฎาคม 2556

ละครวิทยุ เป็นการนำการแสดงที่มีอยู่มาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง ดังนั้นลักษณะของบทละครวิทยุจึงแตกต่างจากบทละครทั่วไป ผู้ประพันธ์จะต้องหาวิธีสร้างจินตนาการให้แก่ผู้ฟัง ให้สามารถเข้าใจและนึกถึงภาพความเป็นไปของเรื่องได้ นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ กิริยาท่าทาง อุปนิสัยใจคอของ ตัวละคร อารมณ์และความรู้สึกต่างๆ จะต้องแสดงออกทางคำพูดของตัวละคร ใส่ความรู้สึกทางคำพูด การเจรจาบทต้องใส่อารมณ์เป็นพิเศษ เพราะผู้ฟังมองไม่เห็น ภาพตัวละคร บทละครวิทยุต้องมี บทบรรยาย แทรกเพื่อช่วยให้การดำเนินเรื่องกระชับ เป็นการเล่าประวัติ เหตุการณ์ต่างๆ เสริมจาก บทละคร ผู้ประพันธ์อาจใช้วิธีบรรยายโดยสอดแทรกไว้ในบทสนทนาของตัวละคร ผู้ควบคุมการแสดง จะต้องมีความสามารถเข้าใจ ตอนไหนจะให้ตัวละครใช้เสียงอย่างไร เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของเรื่อง ตัวละครสำหรับบทละครวิทยุต้องมีตัวสำคัญประมาณ 3-4 ตัวและต้องเลือกผู้แสดงที่มี เสียงแตกต่างกันมากๆ มิฉะนั้นผู้ฟังจะแยกเสียงไม่ออกว่าเป็นบทของตัวละครตัวไหน [1]

ขั้นตอนในการดำเนินเรื่อง

ขั้นตอนการดำเนินเรื่อง แต่ละคณะมีวิธีการนำเสนอที่เป็นสูตรคล้ายๆกัน คือ เริ่มต้น ผู้บรรยายทักทายผู้ฟัง บอกชื่อคณะละคร วัน เวลาที่ออกอากาศ ชื่อเรื่อง ชื่อเจ้าของบทประพันธ์ ชื่อผู้เขียนบทละครวิทยุ เล่าถึงความเดิมตอนที่แล้ว ผู้ฟังบางคนอาจไม่ได้ฟัง เพื่อย้ำเตือนความทรงจำของผู้ฟังอีกครั้ง

รายชื่อคณะละครวิทยุ ในประเทศไทย

อ้างอิง

  1. ละครวิทยุ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช สัมฤทธิบัตร หน้า 4-9-55
  2. อารีย์ นักดนตรี,โลกมายาของอารีย์ ,กายมารุต 2546 ISBN:974-91018-4-7 หน้า 304
  3. อารีย์ นักดนตรี,หน้า 300-303