ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยมทูต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
* [[ความเชื่อ]]
* [[ความเชื่อ]]


{{เรียงลำดับ|ยมทูต}}
[[หมวดหมู่:ความเชื่อ]]
[[หมวดหมู่:ความเชื่อ]]
[[หมวดหมู่:เทพแห่งความตาย]]
[[หมวดหมู่:เทพแห่งความตาย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:12, 16 พฤษภาคม 2556

ประติมากรรมนูนบน “เหยือกเลอไคธอส” (Lekythos) เป็นภาพยมทูตเฮอร์มีสนำทางผู้ตาย “เมอร์ไรน์” ไปยังเฮดีส ราว 430 ถึง 420 ปีก่อนคริสต์ศักราช (พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติแห่งเอเธนส์)

ยมทูต (อังกฤษ: Psychopomp (ออกเสียง)) “Psychopomps” มาจากภาษากรีกว่า “ψυχοπομπός” (psychopompos) ที่แปลตรงตัวว่า “ผู้นำวิญญาณ” เป็นจินตสัตว์ (creature), สิ่งที่มีจิตวิญญาณ (spiritual being), เทวดา, ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ในหลายศาสนาผู้มีหน้าที่พาวิญญาณผู้ที่เพิ่งสิ้นชีวิตไปยังดินแดนหลังความตาย (afterlife) หน้าที่นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินผู้ตาย แต่เพียงนำทางเพื่อความปลอดภัย ยมทูตที่มักจะปรากฏในศิลปะเกี่ยวกับความตายจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ประเพณีและวัฒนธรรม บ้างก็เกี่ยวข้องกับม้า, กา, สุนัข, นกฮูก, นกกระจอก หรือกวาง

ตามหลักจิตวิทยาวิเคราะห์ของคาร์ล ยุง ยมทูตคือตัวกลางระหว่างจิตใต้สำนึกและจิตสำนึก บุคลาธิษฐานของยมทูตในฝันจะเป็นนักปราชญ์ หรือ สตรี หรือบางครั้งสัตว์ที่มีความกรุณา ในวัฒนธรรมบางวัฒนธรรมชาแมนจะทำหน้าที่เป็นผู้นำวิญญาณ ที่อาจจะรวมทั้งการนำวิญญาณของผู้เสียชีวิต หรือ ผู้เสียชีวิตอาจจะนำทางชาแมน ในการช่วยเหลือการกำเนิด หรือการนำวิญญาณของเด็กเกิดใหม่ให้เข้ามาในโลก(หน้า 36 ของ “Shamans in Eurasia”[1]) ที่เป็นการขยายความชื่อ “หมอตำแยแก่ผู้กำลังจะสิ้นใจ” (midwife to the dying) ซึ่งเป็นอีกหน้าที่หนึ่งของผู้นำวิญญาณ

อ้างอิง

  1. Hoppál, Mihály: Sámánok Eurázsiában. Akadémiai Kiadó, Budapest, 2005. ISBN 963-05-8295-3. (The title means “Shamans in Eurasia”, the book is written in Hungarian, but it is published also in German, Estonian and Finnish.) Site of publisher with short description on the book (in Hungarian).

ดูเพิ่ม