ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mjbmrbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: it:Guerra civile libica
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: de:Bürgerkrieg in Libyen
บรรทัด 63: บรรทัด 63:
[[cs:Povstání v Libyi 2011]]
[[cs:Povstání v Libyi 2011]]
[[da:Oprøret i Libyen 2011]]
[[da:Oprøret i Libyen 2011]]
[[de:Bürgerkrieg in Libyen 2011]]
[[de:Bürgerkrieg in Libyen]]
[[el:Εξέγερση στην Λιβύη το 2011]]
[[el:Εξέγερση στην Λιβύη το 2011]]
[[en:2011 Libyan uprising]]
[[en:2011 Libyan uprising]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:59, 28 มีนาคม 2554

การก่อการกำเริบในลิเบีย พ.ศ. 2554
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง พ.ศ. 2553-2554

  เมืองที่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายกัดดาฟี
  เมืองที่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้านกัดดาฟี
  การสู้รบยังดำเนินอยู่/สถานการณ์ไม่ชัดเจน
วันที่15 กุมภาพันธ์ 2554 - ปัจจุบัน
สถานที่
ผล กำลังดำเนินอยู่
คู่สงคราม

ลิเบีย กลุ่มต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี

ลิเบีย รัฐบาลกัดดาฟี

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ลิเบีย ไม่มีแกนนำจัดตั้งที่ชัดเจน ลิเบีย มูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี
กำลัง
ไม่ทราบ 50,000+ นาย (ก่อนหน้าทหารและตำรวจบางส่วนจะแปรพักตร์)[3]
ความสูญเสีย
ผู้ประท้วงเสียชีวิต 600+ คน
ทหารกบฏเสียชีวิต 152 นาย[4][5][6][7]
ทหารเสียชีวิต 111 นาย (20 ก.พ.)[8]
ทหารเสียชีวิต 10 นาย (28 ก.พ.)[9]
ตำรวจและทหารรับจ้างเสียชีวิตไม่ทราบจำนวน
ประมาณการเสียชีวิต 1,000-3,000+ คน[10][11]
ได้รับบาดเจ็บ 5,000 คน[12]

การก่อการกำเริบในลิเบีย พ.ศ. 2554 เริ่มต้นขึ้นในลักษณะของการประท้วงและเผชิญหน้าต่ออำนาจรัฐในประเทศลิเบีย และพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของประเทศที่ครองอำนาจมายาวนานร่วม 40 ปี เหตุความไม่สงบได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และได้ขยายตัวกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการลุกฮือขึ้นทั่วประเทศจนถึงขณะนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกจุดประกายขึ้นจากการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในประเทศตูนีเซียและอียิปต์ ซึ่งเชื่อมโยงกับการประท้วงในวงกว้างทั่วทั้งทวีปแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง[13] ริชาร์ด เองเจล หัวหน้าผู้สื่อข่าวต่างประเทศของสำนักข่าว NBC News ซึ่งได้เข้าไปในประเทศลิเบียและรายงานข่าวที่โทบรุก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ได้กล่าวว่า "การประท้วงในเวลานี้ไม่ใช่การประท้วงอีกต่อไปแล้ว มันเป็นสงคราม มันเป็นการกบฏอย่างเปิดเผย"[14] นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็น "การลุกฮือเพื่อพยายามทวงคืนประเทศลิเบียจากระบอบอัตตาธิปไตยที่มีอำนาจมาอย่างยาวนานที่สุดในโลก"[15] พันเอกกัดดาฟี ผู้นำประเทศลิเบีย ได้กล่าวโทษการลุกฮือครั้งนี้ว่าเป็นการกระทำขององค์การก่อการร้ายอัลกออิดะห์และ "พวกเด็กติดยา"[16]

กองกำลังความมั่นคงจำนวนมากของกัดดาฟีปฏิเสธที่จะสังหารพลเรือนและมีส่วนมากที่แปรพักตร์เข้ากับฝ่ายต่อต้าน กัดดาฟีได้จากทหารรับจ้างต่างด้าวเป็นจำนวนมาก เพื่อโจมตีกลุ่มผู้ประท้วงและชาติแอฟริกาเป็นจำนวนมาก[17] จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ดูเหมือนว่ากัดดาฟีจะสูญเสียการควบคุมเหนือหัวเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ[18][19] ฝ่ายค้านลิเบียได้จัดตั้งสภาแห่งชาติลิเบียขึ้นและสื่อเสรีเริ่มปฏิบัติการในไซเรนนิกา[20]

เจ้าหน้าที่ทางการของลิเบียจำนวนมากได้ลาออกจากตำแหน่งด้วยสาเหตุจากการประท้วงที่เกิดขึ้น ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 มีรายงานว่าหัวเมืองหลายแห่งในประเทศลิเบียได้ตกอยู่ในความควบคุมของกลุ่มผู้ต่อต้าน และไม่ได้อยู่ในความควบคุมของรัฐบาลกัดดาฟีอีกต่อไป[18][21] ด้านรัฐบาลกัดดาฟียังควบคุมกรุงตรีโปลี เมืองเซิร์ท (Sirt) และเมืองซาบา (Sabha)[10]

หลายประเทศได้ประณามอย่างรุนแรงต่อรัฐบาลลิเบียภายใต้การนำของกัดดาฟีซึ่งใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน[22] สหรัฐอเมริกาดำเนินการลงโทษต่อกัดดาฟี คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติซึ่งอายัดทรัพย์ของกัดดาฟีและบุคคลใกล้ชิดจำนวน 10 คน มติดังกล่าวยังสั่งห้ามการเดินทางและยื่นเรื่องลิเบียต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวน[23] อย่างไรก็ตาม ผู้นำรัฐบางคนในละตินอเมริกาแสดงการสนับสนุนต่อรัฐบาลกัดดาฟี[22] ทำให้พวกเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์[24][25][26][27]

อ้างอิง

  1. "Libya's Tribal Revolt May Mean Last Nail in Coffin for Qaddafi". Business Week. สืบค้นเมื่อ 25 February 2011.
  2. BBC News (23 February 2011). Libya: Who is propping up Gaddafi?
  3. IISS, The Military Balance 2 009, p. 256.
  4. Correspondents in Paris (24 February 2 011). "Over 640 die in Libya unrest". News AU. สืบค้นเมื่อ 24 February 2 011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. Dziadosz, Alexander (23 February 2011). "Benghazi, cradle of revolt, condemns Gaddafi". Reuters. Benghazi. สืบค้นเมื่อ 24 February 2 011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Protesters hit by hail of gunfire in Libya march". Associated Press. 25 February 2011. สืบค้นเมื่อ 25 February 2011.
  7. "Rebel army may be formed as Tripoli fails to oust Gaddafi". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
  8. 9:45 PM. "Libya says 300 dead in violence, including 111 soldiers". The Asian Age. สืบค้นเมื่อ 2011-02-24.
  9. http://www.nytimes.com/2011/03/01/world/africa/01unrest.html?partner=rss&emc=rss
  10. 10.0 10.1 "Libya protests: Gaddafi embattled by opposition gains". BBC News. 24 February 2011.
  11. "Human rights groups: Violence in Libya must stop". CNN. สืบค้นเมื่อ 26 February 2011.
  12. "Live Blog – Libya Feb 22". Blogs. Al Jazeera. 22 February 2 011. สืบค้นเมื่อ 22 February 2 011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help) (อังกฤษ)
  13. Shadid, Anthony (18 February 2011). "Libya Protests Build, Showing Revolts' Limits". The New York Times. Cairo. สืบค้นเมื่อ 22 February 2011.
  14. Engel, Richard (22 February 2011). "In Libya it's 'open revolt'". World Blog. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
  15. "The Economist, "Time to Leave -- A correspondent reports from the border between Libya and Egypt"". The Economist. 22 February 2011. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  16. http://www.bloomberg.com/news/24 February 2011/qaddafi-blames-revolt-on-al-qaeda-as-foes-tighten-hold-in-east.html
  17. "Experts Disagree on African Mercenaries in Libya". Voice of America. 1 March 2011. สืบค้นเมื่อ 3 March 2011.
  18. 18.0 18.1 "Gaddafi defiant as state teeters – Africa". Al Jazeera English. 23 February 2011. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  19. "Middle East and North Africa unrest". BBC News. 24 February 2011. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
  20. {{cite news|url=http://www.magharebia.com/cocoon/awi/xhtml1/en_GB/news/awi/newsbriefs/general/2011/02/28/newsbrief-02%7Ctitle=Free press debuts in Benghazi|agency=Magharebia|date=28 February 2011|accessdate=3 March 2011}}
  21. "BBC News - Middle East and North Africa unrest". BBC News. 24 February 2011. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
  22. 22.0 22.1 Nicholas Casey; José de Córdoba (February 26, 2011). "Where Gadhafi's Name Is Still Gold". The Wall Street Journal.
  23. Wyatt, Edward (February 26, 2011). "Security Council Calls for War Crimes Inquiry in Libya". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
  24. Chinchilla blasts Ortega for Gadhafi support, The Tico Times
  25. "Humala criticizes Chavez for supporting Gaddafi". Livinginperu.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
  26. "Jewish group slams 'solidarity' with Gadhafi". Foxnews.com. 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
  27. Brown, Cameron S. "Wiesenthal Center slams 'solidarity' with Gaddafi". Jpost.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.

แหล่งข้อมูลอื่น