ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บินหลา สันกาลาคีรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ahoerstemeier (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
[[หมวดหมู่:นักประพันธ์ไทย]]
[[หมวดหมู่:นักประพันธ์ไทย]]
[[หมวดหมู่:นักประพันธ์รางวัลซีไรต์]]
[[หมวดหมู่:นักประพันธ์รางวัลซีไรต์]]
[[en:Binlah Sonkalagiri]]
{{โครงชีวประวัติ}}
{{โครงชีวประวัติ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:10, 15 พฤศจิกายน 2549

บินหลา สันกาลาคีรี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ บินหลา สันกาลาคีรี หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

บินหลา สันกาลาคีรี เป็นนามปากกาของ วุฒิชาติ ชุ่มสนิท เกิดที่ภาคใต้ แต่ปัจจุบันอาศัยอยู่ภาคเหนือ เรียนนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่จบ แต่ทำงานหนังสือมาตลอด เป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ หัวหน้ากองบรรณาธิการ และเป็นนักเขียนเต็มเวลา เขียนเรื่องสั้น นิยาย วรรณกรรมเยาวชน และสารดคีท่องเที่ยว เรื่องราวส่วนใหญ่ของเขาเป็นเรื่องที่เก็บเกี่ยวจากการเดินทาง (หลายครั้งมีจักรยานเป็นพาหนะ) แต่เขาปฏิเสธแข็งขันว่าไม่ได้เป็นนักเดินทาง ด้วยความที่อยู่ไม่เป็นที่เขาจึงนิยามตนเองว่าเป็นเกสต์ไรเตอร์ (guest writer - นักเขียนรับเชิญ) นักเขียนผู้มีนิวาสสถานเป็นเกสต์เฮาส์ (guest house) ซึ่งเขาบอกว่า “ทุกวันนี้ผมก็ยังไม่ปลูกบ้าน เพราะกลัวว่าจะต้องอยู่กับตรงนั้นนานเกินไป มีภาระต้องผ่อน ต้องอดทนกับสิ่งที่แวดล้อมนานเกินไป การที่ผมเช่าบ้านอยู่ผมเปลี่ยนแปลงตนเองง่ายกว่า”

"นิยายมันเป็นการทำงานของความคิด แล้วเราก็เลือกรูปแบบการนำเสนอ ตั้งใจว่าภายใน 2 ปีนี้ผมคงไม่ทำอย่างอื่น นอกจากนิยาย เวลามีความคิดสิ่งใดขึ้นมา ก็จะมองหาแต่รูปแบบนิยายมาถ่ายทอดความคิดนั้น ผมเชื่อมาตลอดตั้งแต่สมัยเรียนว่า อยากจะเป็นนักข่าว ผมเขียนเรื่องสั้นมาตั้งแต่สมัยมัธยมฯ แต่เรื่องสั้นได้ตีพิมพ์ครั้งแรกตอนปี 1 พ.ศ. 2527 ก็ค่อนข้างจะเป็นแรงกระตุ้นที่ดี ให้เกิดความเชื่อมั่นว่าน่าจะเขียนหนังสือได้ เป็นความเข้าใจผิดไปเอง เพราะกว่าที่ผมจะได้เขียนหนังสือจริงๆ ก็หลายปีต่อมา เรื่องสั้นเรื่องแรกของผมรวมเล่มปี พ.ศ. 2533 ประมาณ 7 ปีหลังจากเขียนหนังสือ ขณะนั้นเป็นนักข่าว เริ่มถามตนเองว่าอยากเป็นนักข่าวหรือนักเขียนกันแน่ เพราะนักเขียนกับนักข่าวจะไปคนละทาง แม้จะใช้ปากกาเหมือนกัน นักข่าวเป็นคนนำเสนอความจริงที่ถูกคนอื่นสร้างขึ้นในนาทีนั้น ไม่สามารถกำหนดการเสนอเองได้ ผู้อื่นเป็นคนกำหนด สำหรับนักเขียนนำเสนอความจริงที่เรากำหนด อาจจะเป็นความจริงเมื่อ 5 ปีที่แล้วหรือ 10 ปีที่แล้ว หรือ 50 ปีข้างหน้า ที่เรานำมาเสนอในวันนี้

ความจริงของผมไม่ใช่ข้อเท็จจริง แต่เป็นสัจจะ เป็นกระบวนการคิดที่ต้องจริง สมมติถามว่านิยายวิทยาศาตร์เป็นความจริงไหม ผมว่าจริง เรื่องเพ้อฝันนั้นไม่จริง แต่เรื่องจินตนาการน่ะจริง เส้นแบ่งเรื่องนี้ละเอียดอ่อนแต่ที่สุดแล้ว นักเขียนจะเป็นผู้นำเสนอความจริงออกมาไม่ใช่ส่วนเพ้อฝัน” บินหลาพูดถึงแนวคิดการทำงานของเ