ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟอสฟอรัส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
นนนน
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{Elementbox_header | number=15 | symbol=P | name=ฟอสฟอรัส | left=[[ซิลิคอน]] | right=[[กำมะถัน]] | above=[[ไนโตรเจน|N]] | below=[[สารหนู|As]] | color1=#a0ffa0 | color2=black }}
{{Elementbox_series | [[อโลหะ]] }}
{{Elementbox_groupperiodblock | group=15 | period=3 | block=p }}
{{Elementbox_appearance_img |PhosphComby| แว๊กซ์ขาว/ แดง/<br />ดำ/ ไม่มีสี }}
{{Elementbox_atomicmass_gpm | [[1 E-26 kg|30.973762 (2)]] }}
{{Elementbox_econfig | &#91;[[neon|Ne]]&#93; 3s<sup>2</sup> 3p<sup>3</sup> }}
{{Elementbox_epershell | 2, 8, 5 }}
{{Elementbox_section_physicalprop | color1=#a0ffa0 | color2=black }}
{{Elementbox_phase | [[ของแข็ง]] }}
{{Elementbox_density_gpcm3nrt | (white) 1.823 }}
{{Elementbox_density_gpcm3nrt | (red) 2.34 }}
{{Elementbox_density_gpcm3nrt | (black) 2.69 }}
{{Elementbox_meltingpoint | k= (white) 317.3 | c=44.2 | f=111.6 }}
{{Elementbox_boilingpoint | k=550 | c=277 | f=531 }}
{{Elementbox_heatfusion_kjpmol | (white) 0.66 }}
{{Elementbox_heatvaporiz_kjpmol | 12.4 }}
{{Elementbox_heatcapacity_jpmolkat25 | (white) <br />23.824 }}
{{Elementbox_vaporpressure_katpa | 279 | 307 | 342 | 388 | 453 | 549 | comment= (white) }}
{{Elementbox_vaporpressure_katpa | 455 | 489 | 529 | 576 | 635 | 704 | comment= (red) }}
{{Elementbox_section_atomicprop | color1=#a0ffa0 | color2=black }}
{{Elementbox_oxistates | ±3, '''5''', 4<br /> (ออกไซด์เป็น[[กรด]]ปานกลาง) }}
{{Elementbox_electroneg_pauling | 2.19 }}
{{Elementbox_ionizationenergies4 | 1011.8 | 1907 | 2914.1 }}
{{Elementbox_atomicradius_pm | [[1 E-10 m|100]] }}
{{Elementbox_atomicradiuscalc_pm | [[1 E-11 m|98]] }}
{{Elementbox_covalentradius_pm | [[1 E-10 m|106]] }}
{{Elementbox_vanderwaalsrad_pm | [[1 E-10 m|180]] }}
{{Elementbox_section_miscellaneous | color1=#a0ffa0 | color2=black }}
{{Elementbox_magnetic | no data }}
{{Elementbox_thermalcond_wpmkat300k | (white) <br />0.236 }}
{{Elementbox_bulkmodulus_gpa | 11 }}
{{Elementbox_cas_number | 7723-14-0 }}
{{Elementbox_isotopes_begin | isotopesof=phosphorus | color1=#a0ffa0 | color2=black }}
{{Elementbox_isotopes_stable | mn=31 | sym=P | na=100% | n=16 }}
{{Elementbox_isotopes_decay | mn=32 | sym=P | na=[[synthetic radioisotope|syn]] | hl=14.28 [[วัน|d]] | dm=[[beta emission|β<sup>-</sup>]] | de=1.709 | pn=32 | ps=[[sulfur|S]] }}
{{Elementbox_isotopes_decay | mn=33 | sym=P | na=[[synthetic radioisotope|syn]] | hl=25.3 [[วัน|d]] | dm=[[beta emission|β<sup>-</sup>]] | de=0.249 | pn=33 | ps=[[sulfur|S]] }}
{{Elementbox_isotopes_end}}
{{Elementbox_footer | color1=#a0ffa0 | color2=black }}

'''ฟอสฟอรัส''' ({{lang-en|phosphorus}}) เป็น[[ธาตุเคมี|ธาตุ]][[อโลหะ]] [[เลขอะตอม]] 15 สัญลักษณ์ '''P'''

ฟอสฟอรัสอยู่ใน[[พีนิคโตเจน|กลุ่มไนโตรเจน]] <ref>[http://sabaydee.myreadyweb.com/webboard/topic-9846.html กลุ่มไนโตรเจน (N)]</ref> มี[[วาเลนซ์]]ได้มาก ปรากฏในหลาย[[อัลโลโทรป]] พบทั้งในหิน[[ฟอสเฟต]] และ[[เซลล์]][[สิ่งมีชีวิต]]ทุกเซลล์ (ในสารประกอบใน[[ดีเอ็นเอ]]) เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยาได้สูง จึงไม่ปรากฏในรูปอิสระในธรรมชาติ

คำว่า ฟอสฟอรัส มาจาก[[ภาษากรีก]]แปลว่า 'ส่องแสง' และ 'นำพา' เพราะฟอสฟอรัสเรืองแสงอ่อน ๆ เมื่อมี[[ออกซิเจน]] หรือมาจาก[[ภาษาละติน]] แปลว่า 'ดาวประกายพรึก' ค้นพบประมาณปี 1669 โดย[[นักเล่นแร่แปรธาตุ]][[ชาวเยอรมัน]] [[เฮนนิก แบรนด์]]<ref>[[:en:Hennig_Brand]]</ref>

ในขณะที่[[ภาษาไทย]]ในสมัยก่อน เรียก ฟอสฟอรัส ว่า 'ฝาสุภเรศ'<ref>รายการ[[พินิจนคร]] ตอน พระปฐมเจดีย์ ปาฏิหาริย์แห่งสถูปสถาน โบราณคดีแห่งทวาราวดี ทาง[[ทีวีไทย]] : [[16 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2553]]</ref>

ฟอสฟอรัสเป็นอโลหะอยู่ในหมู่ที่ VA หมู่เดียวกับธาตุ[[ไนโตรเจน]]ในธรรมชาติไม่พบฟอสฟอรัสในรูปของธาตุอิสระ แต่จะพบในรูปของสารประกอบฟอสเฟตที่สำคัญได้แก่หินฟอสเฟต หรือ[[แคลเซียมฟอสเฟต]] (Ca<sub>2</sub>(PO<sub>4</sub>)<sub>2</sub>) [[ฟลูออไรอะปาไทต์]] (Ca<sub>5</sub>F (PO<sub>4</sub>)<sub>3</sub>)

นอกจากนี้ยังพบฟอสฟอรัสใน[[ไข่แดง]] [[กระดูก]] [[ฟัน]] [[สมอง]] [[เส้นประสาท]]ของคนและสัตว์ ฟอสฟอรัสสามารถเตรียมได้จากแคลเซียมฟอสเฟต โดยใช้แคลเซียมฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับคาร์บอนในรูปถ่านโค๊ก และ[[ซิลิคอนไดออกไซด์]] (SiO<sub>2</sub>) ในเตาไฟฟ้า

ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยให้รากของพืชแข็งแรง และแผ่กระจายได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลำต้นแข็งแรงตามไปด้วย ปกติแล้วธาตุฟอสฟอรัสจะมีอยู่ในดินมากพออยู่แล้ว เป็นธาตุที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ในดินหรือละลายน้ำได้ยากซึ่งจะทำให้พืชดูดเอาไปใช้ได้ยากด้วย แม้แต่ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินโดยตรงก็ประมาณกันไว้ว่า 80-90 % ของธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมดนั้นจะถูกดินยึดไว้โดยการทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน ดังนั้น ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย

ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของ สารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H<sub>2</sub>PO<sup>4-</sup> และ HPO<sup>4-</sup>) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อใส่ลงไปในดินประมาณ 80-90% จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืชปุ๋ย ฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินและสูญเสีย ความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจนเกินไป

พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีต้นแคระแกร็นใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่าง ๆ จะมีสีม่วงตามบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดิน อย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น

ฟอสฟอรัสช่วยในการ[[สังเคราะห์ด้วยแสง]] สร้าง[[แป้ง]]และ[[น้ำตาล]] เป็นส่วนประกอบของ[[เอนไซม์]]ที่สำคัญหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร ตลอดจนการติดเมล็ด สร้างระบบรากให้แข็งแรง ช่วยในการแตกกอ และช่วยให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ช่วยให้พืชดูดใช้ธาตุ[[ไนโตรเจน]]และ[[โมลิบดีนัม]]ได้ดีขึ้น ธาตุนี้มักพบในรูปที่พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ เนื่องจากจะถูกตรึงอยู่ในดิน ส่วนใหญ่พืชจะแสดงอาการขาดธาตุนี้บ่อยครั้ง แม้ว่าในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามถ้าขาดธาตุฟอสฟอรัสราก พืชจะไม่เจริญ มีรากฝอยน้อย ต้นเตี้ย ใบและต้นมีสีเข้มและบางครั้งมีสีม่วงหรือแดงเกิดขึ้น พืชแก่ช้ากว่าปกติ เช่น การผลิดอก ออกผลช้า มีการแตกกอน้อย การติดเมล็ดน้อย หรือบางครั้งไม่ติดเมล็ด


== ประเภทของฟอสฟอรัส ==
== ประเภทของฟอสฟอรัส ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:55, 16 กุมภาพันธ์ 2564

นนนน

ประเภทของฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัสขาว

โมเลกุลของฟอสฟอรัสขาวประกอบด้วยฟอสฟอรัส 4 อะตอม มีสูตรโมเลกุล P4

  • เป็นของแข็งสีขาวหรือเหลือง ว่องไวในการเกิดปฏิกิรยามาก
  • มีจุดหลอมเหลว 44 °C
  • มีความหนาแน่น 1.82 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
  • ไม่นำไฟฟ้า
  • ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ในคาร์บอนไดซัลไฟด์ (CS2) หรือตัวทำละลายอื่นที่โมเลกุลไม่มีขั้ว เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4)
  • ลุกไหม้ในอากาศได้เองที่อุณหภูมิ 35 C จึงต้องเก็บไว้ในน้ำไม่ให้สัมผัสกับ O2
  • มีกลิ่นคล้ายกระเทียมเป็นพิษ ถ้าหายใจเข้าไปจะเป็นโรคขากรรไกรผุ
  • ต้มกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ได้ ฟอสฟีน (PH3)

ฟอสฟอรัสแดง

โมเลกุลมีโครงสร้างเป็นสายยาวคล้ายลูกโซ่ เป็นพอลิเมอร์ของ P4

  • เป็นของแข็งสีแดง เป็นรูปที่เสถียรกว่าฟอสฟอรัสขาว
  • มีจุดหลอมเหลว 590 °C ที่ 43 บรรยากาศ
  • มีความหนาแน่น 2.34 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
  • ไม่นำไฟฟ้า
  • ไม่ละลายในน้ำและ คาร์บอนไดซัลไฟด์
  • ลุกไหม้ในอากาศที่อุณหภูมิ 250 °C

ฟอสฟอรัสดำ

มีโครงสร้างแบบโครงร่างตาข่าย มีสมบัติดังนี้

  • เป็นของแข็งสีดำ
  • มีจุดหลอมเหลว 610 °C
  • มีความหนาแน่น 2.699 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
  • เสถียรกว่าฟอสฟอรัสแดง และติดไฟยาก
  • นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะนำไฟฟ้าได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของฟอสฟอรัส

  • เป็นแร่ธาตุที่สามารถพบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับกระบวนการทางเคมีของร่างกายในเกือบทุกส่วน มีความสำคัญต่อการทำงานที่เป็นปกติสม่ำเสมอของหัวใจ และสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของไต ต่อโครงสร้างของกระดูกและฟัน ร่างกายจำเป็นต้องใช้ฟอสฟอรัสในกระบวนการส่งต่อสัญญาณประสาท
  • วิตามินดีและแคลเซียม มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของฟอสฟอรัส ถ้าหากร่างกายขาดฟอสฟอรัส วิตามินบี 3 จะไม่สามารถดูดซึมได้ และโรคจากการขาดฟอสฟอรัส ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบและโรคกระดูกอ่อนในเด็ก โดยศัตรูของฟอสฟอรัส ได้แก่ การรับประทานธาตุเหล็ก แมกนีเซียม อะลูมิเนียม มากเกินไป อาจทำให้ฟอสฟอรัสด้อยประสิทธิภาพลง
  • ฟอสฟอรัส ช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบได้
  • ฟอสฟอรัสสามารถนำมาทำไม้ขีดไฟได้

อ้างอิง