ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใหญ่ลี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patseaza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
| alt Artist = [[นุภาพ สวันตรัจฉ์]] (พ.ศ. 2527)<br>[[ไก่ พรรณิภา]]
| alt Artist = [[นุภาพ สวันตรัจฉ์]] (พ.ศ. 2527)<br>[[ไก่ พรรณิภา]]
| Album =
| Album =
| Published = พ.ศ. 2504
| Published = พ.ศ. 2510
| Released =
| Released =
| track_no =
| track_no =
| Recorded = [[พ.ศ. 2507]]
| Recorded = [[พ.ศ. 2510]]
| Genre =
| Genre =
| Length =
| Length =
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม</br>
พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม</br>
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี</br>
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี</br>
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา</br>
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,</br>
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า</br>
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า</br>
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร</br>
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร</br>
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด</br>
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด</br>
สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา</br>
สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา</br>
หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา</br>
หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา</br>gvbm,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,


สายันต์ตะวันร้อนฉี่ ผู้ใหญ่ลีขี่ม้าบักจอน</br>
สายันต์ตะวันร้อนฉี่ ผู้ใหญ่ลีขี่ม้าบักจอน</br>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:20, 18 มีนาคม 2563

"ผู้ใหญ่ลี"
เพลงลูกทุ่งโดยศักดิ์ศรี ศรีอักษร
เผยแพร่พ.ศ. 2510
บันทึกเสียงพ.ศ. 2510
ผู้ประพันธ์เพลงพิพัฒน์ บริบูรณ์ (อิง ชาวอีสาน)

ผู้ใหญ่ลี เป็นเพลงลูกทุ่งเสียดสีสังคม ที่ขับร้องโดย ศักดิ์ศรี ศรีอักษร และโด่งดังในช่วงประมาณ พ.ศ. 2504 ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการกับชาวบ้านอย่างมีอารมณ์ขัน

เพลงผู้ใหญ่ลีแต่งโดยพิพัฒน์ บริบูรณ์[1] หัวหน้าวงพิพัฒน์ บริบูรณ์ ซึ่งเป็นสามีของศักดิ์ศรี ศรีอักษร ดัดแปลงมาจากรำโทน เรื่องราวของชายชาวอีสานชื่อ "ลี" มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ที่ทางวงเคยมาร้องล้อเลียนและได้รับความนิยม พิพัฒน์ บริบูรณ์ได้ใช้นามแฝงว่า "อิง ชาวอีสาน" เพลงนี้ได้รับการบันทึกเสียงในปี พ.ศ. 2507 กลายเป็นเพลงฮิตและส่งให้ศักดิ์ศรี ศรีอักษร กลายเป็นนักร้องชื่อดัง ได้เข้าไปขับร้องในไนต์คลับหรูในกรุงเทพ และมีการดัดแปลงคำร้องเป็นเพลงภาคต่ออีกหลายฉบับ เช่น ผู้ใหญ่ลีเข้ากรุง ผู้ใหญ่ลีหาคู่ เมียผู้ใหญ่ลี ลูกสาวผู้ใหญ่ลี ผู้ใหญ่ลีผู้ใหญ่มา[2] และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ลูกสาวผู้ใหญ่ลี (2507) นำแสดงโดยศักดิ์ศรี ศรีอักษร และดอกดิน กัญญามาลย์ ต่อมาศักดิ์ศรี ศรีอักษร ได้นำมาขับร้องใหม่ในจังหวะวาทูซี (Watusi) ใช้ชื่อเพลงว่า"ผู้ใหญ่ลีวาทูซี่" นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชันของแหม่มสาวชื่อ หลุยส์/ลูอิส เคนเนดี้ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของสหรัฐในเมืองไทย ผู้ชื่นชอบเพลงนี้อย่างมาก จนได้บันทึกลงแผ่นซิงเกิลสปีด 45 และร้องออกรายการทางไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม รวมทั้งเวอร์ชันของคณะสามศักดิ์ นำโดยอรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ด้วย

เพลงผู้ใหญ่ลีได้รับเลือกเป็นเพลงลูกทุ่งดีเด่นจากงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2534 และได้รับการบันทึกเสียงใหม่อีกหลายครั้งโดยนักร้องคนอื่น ๆ เช่น นุภาพ สวันตรัจฉ์, หนู มิเตอร์, ไก่ พรรณิภา และถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โฆษณาของธนาคารกรุงไทย [3] เมื่อ พ.ศ. 2547 จนถูกประท้วงจากสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย [4][5]

เนื้อเพลง

พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด
สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา
หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา
gvbm,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

สายันต์ตะวันร้อนฉี่ ผู้ใหญ่ลีขี่ม้าบักจอน
แดดฮ้อนฮ้อนใส่แว่นตาดำ
ผู้ใหญ่ลีกลัวฝนจะตกฮำ ผู้ใหญ่ลีกลัวฝนจะตกฮำ(ฮำ หมายถึงฝนตกใส่ เป็นภาษาอิสาน)
ถอดแว่นตาดำฟ้าแจ้งจางปาง
ฟ้าแจ้ง ฟ้าแจ้งจางปาง ฟ้าแจ้ง ฟ้าแจ้งจางปาง

คอกลมเหมือนดั่งคอช้าง เอวบางเหมือนยางรถยนต์
รูปหล่อเหมือนตอไฟลน หน้ามนเหมือนเขียงน้อยซอยซา
เขียงน้อย เขียงน้อยซอยซา เขียงน้อย เขียงน้อยซอยซา(หมายถึง กัญชา ในภาษาอิสาน)

อ้างอิง

  1. "ปิดตำนาน'พิพัฒน์ บริบูรณ์'ครูเพลงผู้แต่ง"ผู้ใหญ่ลี"". ไทยรัฐ ออนไลน์. 23 มกราคม พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ. 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. เพลงชุดผู้ใหญ่ลี 6 เพลง (มีตัวอย่างเพลงให้ฟัง) [ลิงก์เสีย]
  3. ธนาคารกรุงไทยย้ำภาพธนาคารชุมชน [ลิงก์เสีย]
  4. เมืองไทยรายสัปดาห์ 11 มิถุนายน 2547 [ลิงก์เสีย]
  5. กำนันผู้ใหญ่ประท้วงกรุงไทย ฉุนโฆษณา"ผู้ใหญ่ลี"ดูหมิ่น สำเนาจาก ผู้จัดการ [ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น