ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนสารวิทยา"

พิกัด: 13°51′06″N 100°34′58″E / 13.851597°N 100.582738°E / 13.851597; 100.582738
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล โรงเรียน
โรงเรียนสารวิทยา เขตบางเขน
| name = โรงเรียนสารวิทยา
| native_language =
| native_name =
| en_name = Sarawittaya School
| image = [[ไฟล์:ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนสารวิทยา.gif|150px|ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนสารวิทยา]]
| caption =
| address = เลขที่ 2398/96 [[ถนนพหลโยธิน]] [[แขวงเสนานิคม]] [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10900
| abbr= ส.ย.
| code = 1000103002
| establish_date = [[1 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2487]]
| founder = พ.อ. พระวิทยาสารรณยุต เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก
| type = โรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
| group = สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 2
| class_range = มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
| students = 2,707 คน {{เทาเล็ก| (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2560)}}<ref>[http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1010720123&Area_CODE=101702 จำนวนนักเรียนโรงเรียนสารวิทยา]</ref>
| headman = นายราชวัตร สว่างรักษ์
| motto = '''เรียนดี มีวินัย ใจนักกีฬา'''
| song = มาร์ชสารวิทยา
| color = เขียว-ขาว
| campus =
| branch =
| website = http://www.srv.ac.th
| footnote =
}}
'''โรงเรียนสารวิทยา''' เป็น[[โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ]] ประเภทสหศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 2398/96 [[ถนนพหลโยธิน]] [[แขวงเสนานิคม]] [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10900 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 [[กระทรวงศึกษาธิการ]] ก่อตั้งโดย พ.อ.พระวิทยาสารรณยุต เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก มีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น ม.1 - ม.6 มี[[นักเรียน]]ประมาณ 2,700 คน ครู-อาจารย์ 127 คน มีทั้งหมด 72 ห้องเรียนโดย มัธยมศึกษาตอนต้นมี 36 ห้อง (แบ่งเป็น 12-12-12) มัธยมศึกษาตอนปลายมี 36 ห้อง (แบ่งเป็น 12-12-12) สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 6 แผนการเรียนคือ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษ-เทคโนโลยี, ภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศที่ 2 เช่น [[ภาษาจีน]],[[ภาษาญี่ปุ่น]],[[ภาษาฝรั่งเศส]],[[ภาษาเกาหลี]]<ref>[http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1010720123&Area_CODE=101702 ข้อมูลจำนวนห้องเรียนและจำนวนนักเรียนโรงเรียนสารวิทยา] </ref><ref>[http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID=1010720123&Area_CODE=101702 ข้อมูลจำนวนบุคลากรโรงเรียนสารวิทยา]</ref>



== สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ==
== สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:20, 15 ธันวาคม 2562

โรงเรียนสารวิทยา เขตบางเขน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • คติพจน์ : "ความรู้คู่คุณธรรม กิจกรรมเสริม เพิ่มสิ่งแวดล้อม พร้อมนำการปฏิรูป"
  • ปรัชญา/คติธรรม : "สุวิชโช ว ชเนสุโต" ผู้มีวิชาดี เป็นคนเด่นในหมู่ชน"
  • คำขวัญ : "เรียนดี มีวินัย ใจนักกีฬา"
  • สีประจำโรงเรียน : "เขียว-ขาว"
  • ตราประจำโรงเรียน : "พระมหาพิชัยมงกุฎ มีตรา ส.ย. อยู่ใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ"
  • ดอกไม้ประจำโรงเรียน : "ดอกสาละ"
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน : "พระศากยะมุนีศรีสาระ"
  • วันสถาปนาโรงเรียน : "1 กรกฎาคม 2487"

ประวัติ

ในปี 2484 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ต้องหยุดทำมีมติเห็นพ้องต้องกันว่าควรจัดตั้งโรงเรียนขึ้นภายในกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกเพื่อทำการสอนเด็กเหล่านั้นจึงได้ดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการ

ดังนั้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2487 พ.อ. พระวิทยาสารรณยุตเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนเป็นการภายในโดยใช้เรือนแถวนายทหารหมายเลข 9-10เป็นสถานที่ทำการสอน โดยมี พ.ต.ขุนบัญญัติ ทิพโกมุท เป็นเจ้าของ และผู้จัดการ นางสำรวย อุณหะเลขกะ เป็นครูทำการสอนอยู่ในความอุปการะของกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกและได้เริ่มทำการสอน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2487

ในปี 2489 สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง พ.อ.จักรายุทธวิชัย หงสกุล (ยศขณะนั้น) เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ จึงได้จัดตั้งโรงเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการและได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนราษฎร์เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติให้ชื่อว่า “โรงเรียนสารวิทยา” สอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ชั้นประถม ปีที่ 1-4ประเภทสามัญ (ก่อนการเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2494) อนุญาตให้รับนักเรียนได้ 125 คนและใช้บริเวณแผนกที่ 6 กรมช่างแสง (แปรสภาพจากกรมวิทย์ฯ ) ถนนพหลโยธินบ้านพักหมายเลข 9-10 เป็นที่ตั้งของโรงเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 27 คน รับนักเรียนทั่วไป มีครูทำการสอน 3 คน พ.ท.ขุนจรัส พนาวสาน เป็นเจ้าของโรงเรียน โดยมีร.อ.สุวัสตร์ ปัทมานนท์ เป็นผู้จัดการ และนางจำเนียร เอี่ยมบุญฤทธิ์ เป็นครูใหญ่ โรงเรียนได้ดำเนินการเรื่อยมา จนถึงปี 2490 จึงได้ขยายชั้นเรียนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีครูทำการสอน 9 คน เปิดสอนแบบสหศึกษา

ปีพ.ศ. 2498 โรงเรียนได้ขยายรับนักเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล และอนุญาตให้เป็นหน่วย สมทบสอบ และทำการสอบไล่ได้เองทุกชั้น

ต่อมาวันที่ 22 พฤศจิกายน 2500 โรงเรียนสารวิทยาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สารวิทยา” และมีนางวนิดา ปิ่นเพชร เป็นครูใหญ่แทน นางจำเนียร เอี่ยมบุญฤทธิ์ ครูใหญ่คนเดิมซึ่งขอลาออกเพื่อติดตามครอบครัวไปต่างจังหวัด

ในปี พ.ศ. 2503 โรงเรียนได้เปิดทำการสอนนักเรียนเตรียมปีที่ 1 แผนกวิทยาศาสตร์และในปี พ.ศ. 2504 ได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นเตรียมปีที่ 2

วันที่ 1 พฤษภาคม 2519 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สารวิทยา ได้รับโอนเข้าสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนสารวิทยา” นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 จนถึงปัจจุบันและวันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันสถาปนาโรงเรียน

โรงเรียนสารวิทยาจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 ก่อตั้งโดย พันเอกพระวิทยาสารรณยุต เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ เพื่อจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในกรุงเทพมหานคร โรงเรียนสารวิทยาตั้งอยู่เลขที่ 2398/96 ถนนพหลโยธิน เสนานิคม จตุจักร กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 31 ไร่ เป็นโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 2 ผู้อำนวยคนปัจจุบัน คือนายราชวัตร สว่างรักษ์

โรงเรียนสารวิทยาจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน 3,905 คน และครูจำนวน 113 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ทางการสอน นอกจากนี้ โรงเรียนสารวิทยาได้จัดแผนการเรียนที่หลากหลายตามความสนใจของนักเรียน ได้แก่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ ห้องเรียนปกติ Mini English Program หรือห้องเรียนจีนเข้มข้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ แผนการเรียนจีนเข้มข้น แผนการเรียนศิลป์-ภาษาเกาหลี แผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ รวมทั้ง โครงการห้องเรียนพิเศษ (SAP)

หลักสูตรและห้องเรียน

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
    • มี 12 ห้อง
    • ห้องเรียนปกติ ห้อง 1-12 ใช้หลักสูตรมาตราฐานกระทรวงศึกษาธิการ
      • โดยทั่วไป จัดตามคะแนนโดย ห้อง 1 และ 2 คือห้องคิงส์ เรียงตามลำดับคะแนนไปเรื่อยๆ จนถึง ห้อง 8
      • ทุกปีการศึกษาจะมีการจัดห้องใหม่โดยอิงจากเกรดเฉลี่ยเป็นเกณฑ์
      • นักเรียนห้องละ 45 คน
    • ห้อง GIFTED โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง (โดยทั่วไปคือห้อง 10)
      • รายวิชาวิทยาศาสตร์จะแยกออกเป็น 3 วิชาคือฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ คณิตศาสตร์แยกเป็น 2 วิชา ใช้หลักสูตร สอวน.
    • ห้อง MEP (Mini English Program) จำนวน 1 ห้อง (โดยทั่วไปคือ ห้อง 12)
      • ทำการสอนเป็นภาษาอังกฤษใน 4 รายวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (หลักและเสริม) และ สังคมศึกษา สอนโดยคณาจารย์ชาวต่างชาติ กำกับการสอนโดยครูไทย
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
    • มี 12 ห้อง
    • มีการจัดห้องเรียนตามแผนการเรียน หลักสามแผนการเรียน คือ ศิลป์-ภาษาที่สาม ศิลป์-คำนวณ และ วิทย์-คณิต และ โครงการพิเศษ SAP ศิลป์-คำนวณและวิทย์-คณิต โดยทั่วไปประกอบไปด้วย
      • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีนเข้มข้น (ศิลป์-จีน)(ห้องเรียนพิเศษ) 1 ห้อง โดยทั่วไปคือห้อง 1
      • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลีเข้มข้น (ศิลป์-เกาหลี)(ห้องเรียนพิเศษ) 1 ห้อง โดยทั่วไปคือห้อง 2
      • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น (ศิลป์-ญี่ปุ่น) 1 ห้องโดยทั่วไปคือห้อง 3
      • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-เทคโนโลยี (ศิลป์-เทคโน) 1 ห้องโดยทั่วไปคือห้อง 4
      • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส (ศิลป์-ฝรั่งเศส) 1 ห้องโดยทั่วไปคือห้อง 5
      • แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ (ศิลป์-คำนวณ) จำนวน 3 ห้องโดยทั่วไปคือห้อง 6-8
        • ห้อง 6 คือห้องที่มีคะแนนสูงสุด(ห้องคิงส์)เรียงลำดับตามเลขห้องไปคือ 7 และ 8
      • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต) จำนวน 4 ห้อง โดยทั่วไปคือห้อง 9-12
        • แต่เดิมห้อง 10 จะเป็นแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต) ทั่วไป
        • แต่เดิมห้อง 11 คือแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ภาษาจีน (วิทย์-คณิต-จีน) ปัจจุบันคือห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เข้มข้น (Gifted)
        • แต่เดิมห้อง 12 คือแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ภาษาญี่ปุ่น (วิทย์-คณิต-ญี่ปุ่น) ปัจจุบันคือห้องวิทย์-คณิต (คิงส์)
        • แต่เดิมการจัดห้องคิงส์-ควีน เริ่มนับจากห้อง 12 เรียงห้องลงไปคือห้อง 11 และ 10 ผู้ที่มีคะแนนสูงสุดจะถูกให้เรียนในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ภาษาญี่ปุ่น โดยทันที เช่นเดียวกับห้อง 11 คือ วิทย์-จีน ปัจจุบัน ไม่มีการใช้ระบบนี้แล้วเปลี่ยนเป็นระบบเลือกโทเสรีแทน
        • ห้อง 12 คือห้องที่มีคะแนนสูงสุด(ห้องคิงส์)เรียงตามลำดับเลขห้องไปคือ 11 และ 10
    • กลุ่มแผนการเรียนศิลป์-ภาษาที่สามจะต้องสอบวัดระดับทางภาษาตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ผ่านถึงจะสำเร็จการศึกษา (เช่น HSK JLPT TOPIK เป็นต้น)
    • กลุ่มแผนการเรียนศิลป์-คำนวณและวิทย์-คณิตจะต้องเลือกวิชาโทหรือเสรี (เช่น ศิลป์-คำนวณ-จีน วิทย์-คณิต-ญี่ปุ่น เป็นต้น) เป็นจำนวน 1 หน่วยกิต (2คาบ) *เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560

คณะสี

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

พลตำรวจเอกพจน์ บุณยะจินดา

แหล่งข้อมูลอื่น

13°51′06″N 100°34′58″E / 13.851597°N 100.582738°E / 13.851597; 100.582738