ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไขมันทรานส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขการสะกด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
== ประโยชน์ ==
== ประโยชน์ ==


เนื่องจาก[[ไขมัน]]ทรานส์คือ[[ไขมัน]]ที่เกิดจากการแปรรูป จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และสามารถทนความร้อนได้สูง รวมถึงมีรสชาดที่ใกล้เคียงกับ[[ไขมัน]]ที่มาจาก[[สัตว์]] แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการ[[อาหาร]]ต่าง ๆ มักนิยมนำ[[ไขมัน]]ทรานส์มาใช้ประกอบ[[อาหาร]]มากมาย เช่น กลุ่มอาหาร[[ฟาสต์ฟู้ด]]ซึ่งใช้เป็น[[น้ำมัน]]สำหรับทอด[[ไก่]] [[มันฝรั่ง]] [[โดนัท]] หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการ[[เบเกอรี่]] ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น
เนื่องจาก[[ไขมัน]]ทรานส์คือ[[ไขมัน]]ที่เกิดจากการแปรรูป อิอิ จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และสามารถทนความร้อนได้สูง รวมถึงมีรสชาดที่ใกล้เคียงกับ[[ไขมัน]]ที่มาจาก[[สัตว์]] แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการ[[อาหาร]]ต่าง ๆ มักนิยมนำ[[ไขมัน]]ทรานส์มาใช้ประกอบ[[อาหาร]]มากมาย เช่น กลุ่มอาหาร[[ฟาสต์ฟู้ด]]ซึ่งใช้เป็น[[น้ำมัน]]สำหรับทอด[[ไก่]] [[มันฝรั่ง]] [[โดนัท]] หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการ[[เบเกอรี่]] ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น


== ผลต่อสุขภาพ ==
== ผลต่อสุขภาพ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:41, 3 สิงหาคม 2560

ไขมันทรานส์

ที่ ไขมันทรานส์ (อังกฤษ: trans fat) เป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งพบได้ไม่บ่อยในธรรมชาติ แต่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ ไขมันมีสายไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ยาว ซึ่งอาจเป็นไขมันไม่อิ่มตัว คือ มีพันธะคู่อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง หรือไขมันอิ่มตัว คือ ไม่มีพันธะคู่เลย ก็ได้ tyในธรรมชาติ โดยทั่วไปกรดไขมันมีการจัดเรียงแบบซิส (ซึ่งตรงข้ามกับแบบทรานส์) [1]

แม้ว่าไขมันทราน์จะกินได้ แต่มีการแสดงแล้วว่าไขมันทรานส์เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด[2][3] ส่วนหนึ่งไปเพิ่มไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ลดระดับไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดและเพิ่มการอักเสบทั่วร่างกาย[4] ไขมันทรานส์ยังเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ แต่น้อย เช่น กรดแวกซีนิก (vaccenic acid) และกรดคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิก (conjugated linoleic acid) มีไขมันทรานส์ที่เกิดเองตามธรรมชาติในปริมาณหนึ่งในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง ไขมันธรรมชาติและไขมันสังเคราะห์มีความแตกต่างทางเคมี แต่ไม่มีความเห็นพ้องกันทางวิทยาศาสตร์ถึงความแตกต่างในผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษาสองชิ้นในประเทศแคนาดาได้แสดงว่ากรดแวกซีนิกซึ่งเป็นไขมันทรานส์ธรรมชาติ ที่พบในเนื้อวัวและผลิตถัณฑ์นม แท้จริงแล้วอาจเป็นประโยชน์เมื่อเทียบกับน้ำมันพืชที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชัน (hydrogenated vegetable shortening) หรือมันหมูและน้ำมันถั่วเหลือง โดยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม LDL และไตรกลีเซอไรด์[5][6][7] ในทางตรงข้าม การศึกษาโดยกระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาแสดงว่า กรดแวกซีนิกมีผลเสียต่อ LDL และ HDL เหมือนกับไขมันทรานส์อุตสาหกรรม[8] เมื่อขาดหลักฐานอันเป็นที่ยอมรับและการตกลงทางวิทยาศาสตร์ หน่วยงานโภชนาการจึงพิจารณาไขมันทรานส์ทั้งหมดว่ามีผลเสียต่อสุขภาพเท่ากัน[9][10][11] และแนะนำให้ลดการบริโภคไขมันทรานส์ลงเหลือน้อยที่สุด[12][13]

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาออกข้อกำหนดเบื้องต้นว่าน้ำมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันบางส่วน (ซึ่งมีไขมันทรานส์) โดยทั่วไปไม่ผ่านการรับรองว่าปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การห้ามไขมันทรานส์ที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรมจากอาหารอเมริกา[14] ในประเทศอื่น มีข้อจำกัดทางกฎหมายต่อปริมาณไขมันทรานส์ สามารถลดระดับไขมันทรานส์ได้ โดยการใช้ไขมันอิ่มตัว เช่น มันหมู น้ำมันปาล์ม หรือไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันอย่างสมบูรณ์ ไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาอินเทอร์เอสเทอริฟิเคชัน (interesterified fat) และสูตรทางเลือกซึ่งใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันไม่อิ่มตัวหรือผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันบางส่วน ไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันไม่ใช่ไวพจน์กับไขมันทรานส์ เพราะปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันที่สมบูรณ์จะขจัดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหมด คือ ทั้งซิสและทรานส์

ประโยชน์

เนื่องจากไขมันทรานส์คือไขมันที่เกิดจากการแปรรูป อิอิ จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และสามารถทนความร้อนได้สูง รวมถึงมีรสชาดที่ใกล้เคียงกับไขมันที่มาจากสัตว์ แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ มักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น

ผลต่อสุขภาพ

การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มาก ๆ จะเป็นส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด และเนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ

  1. น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
  2. มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
  3. มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษ: Coronary Heart Disease) โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

ข้อมูลบนฉลากอาหาร

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้อาหารทุกประเภทที่จัดจำหน่ายภายในประเทศ ต้องระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะต้องมีปริมาณกรดไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ส่วนประเทศอื่น ๆ เช่น แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ก็มีการออกกฎให้ระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการเช่นกัน รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบด้วย ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบังคับให้มีการระบุข้อมูลปริมาณของไขมันทรานส์บนฉลากอาหาร

อ้างอิง

  1. PMID 17625687 (PMID 17625687)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  2. Food and nutrition board, institute of medicine of the national academies (2005). Dietary reference intakes for energy, carbohydrate, fiber, fat, fatty acids, cholesterol, protein, and amino acids (macronutrients). National Academies Press. p. 423.
  3. Food and nutrition board, institute of medicine of the national academies (2005). Dietary reference intakes for energy, carbohydrate, fiber, fat, fatty acids, cholesterol, protein, and amino acids (macronutrients). National Academies Press. p. 504.
  4. "Trans fat: Avoid this cholesterol double whammy". Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER). สืบค้นเมื่อ 2007-12-10.
  5. Wang, Flora and Proctor, Spencer (2008-04-02). "Natural trans fats have health benefits, University of Alberta study shows" (Press release). University of Alberta.{{cite press release}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Wang Y, Jacome-Sosa MM, Vine DF, Proctor SD (May 20, 2010). "Beneficial effects of vaccenic acid on postprandial lipid metabolism and dyslipidemia: Impact of natural trans-fats to improve CVD risk". Lipid Technology. 22 (5): 103–106. doi:10.1002/lite.201000016.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Bassett C, Edel A L, Patenaude AF, McCullough RS, Blackwood DP, Chouinard PY, Paquin P, Lamarche B, Pierce GN (2010). "Dietary Vaccenic Acid Has Antiatherogenic Effects in LDLr−/− Mice". The Journal of Nutrition. 140 (1): 18–24. doi:10.3945/jn.109.105163. PMID 19923390.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. David J. Baer, PhD. US Department of Agriculture, Agricultural Research Service, Beltsville Human Nutrition Research Laboratory. New Findings on Dairy Trans Fat and Heart Disease Risk, IDF World Dairy Summit 2010, 8–11 November 2010. Auckland, New Zealand
  9. EFSA Panel on Dietetic Products, Nutrition, and Allergies (NDA) (2010). "Scientific opinion on dietary reference values for fats". EFSA Journal. 8 (3): 1461. doi:10.2903/j.efsa.2010.1461. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |doi_inactivedate= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. UK Scientific Advisory Committee on Nutrition (2007). "Update on trans fatty acids and health, Position Statement" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-16. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  11. Brouwer IA, Wanders AJ, Katan MB (2010). "Effect of animal and industrial trans fatty acids on HDL and LDL cholesterol levels in humans – a quantitative review". PLoS ONE. 5 (3): e9434. doi:10.1371/journal.pone.0009434. PMC 2830458. PMID 20209147.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. "Trans fat". It's your health. Health Canada. Dec 2007.
  13. "EFSA sets European dietary reference values for nutrient intakes" (Press release). European Food Safety Authority. 2010-03-26.
  14. "Tentative Determination Regarding Partially Hydrogenated Oils". Federal Register. 8 November 2013. 2013-26854, Vol. 78, No. 217. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2014. สืบค้นเมื่อ 8 November 2013. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)