ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาวิบัติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thitut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
; {{cn-span|คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์}}
; {{cn-span|คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์}}
:* เป็นอะไร → เปงราย, เปนรัย, เปงรัย, เป็นอัลไล
:* เป็นอะไร → เปงราย, เปนรัย, เปงรัย, เป็นอัลไล
:* ทำไม → ทามมาย, ทามมัย
:* ทำไม → ทามมาย, ทามมัย, ทายมาม
:* จังเลย → จังรุย, จังเยย, จุงเบย
:* จังเลย → จังรุย, จังเยย, จุงเบย
:* ไม่รู้ → มะรุ
:* ไม่รู้ → มะรุ
:* เฮ้ย → เห้ย, เฮ่ย
:* เฮ้ย → เห้ย, เฮ่ย, เหี้ย
:* น่ารักอ่ะ → น่าร็อคอ่ะ, น่าร๊ากอ้ะ, ตั้ลล๊ากอ่ะ
:* น่ารักอ่ะ → น่าร็อคอ่ะ, น่าร๊ากอ้ะ, น่าเย็ดอ่ะ, ตั้ลล๊ากอ่ะ


; {{cn-span|คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์}}
; {{cn-span|คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์}}
:* กู → กรู, กุ, กรุ, ตรู
:* กู → กรู, กุ, กรุ, ตรู
:* มึง → มรึง, เมิง, มืง, มุง
:* มึง → มรึง, เมิง, มืง, มุง
:* สัตว์ → สาด, สัส, สัก, แสรด
:* สัส → สาด, สัตว์, สัก, แสรด, สาสส
:* โคตร → โคโตะ, โคด , โครต ,โคตะระ
:* โคตร → โคโตะ, โคด , โครต ,โคตะระ, คะตะโรด, โตรค


; {{cn-span|คำเลียนเสียง โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มทัณฑฆาต หรือซ้ำตัวอักษร}}
; {{cn-span|คำเลียนเสียง โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มทัณฑฆาต หรือซ้ำตัวอักษร}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:08, 15 กรกฎาคม 2560

ภาษาวิบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำ[ต้องการอ้างอิง] คำว่า 'ภาษาวิบัติ' ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย[ต้องการอ้างอิง] รวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม[ต้องการอ้างอิง] คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย[ต้องการอ้างอิง]

ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร[1] ในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลง[2]

ทั้งนี้ การเปิดใช้พจนานุกรมเพื่อค้นหาคำที่ควรใช้ให้ถูกต้องอาจเป็นทางเลือกที่ดี[ต้องการอ้างอิง] ทางบัณฑิตยสถาน[เป็นใคร?]ได้กำหนดคำที่ใช้อย่างเป็นทางการหรืออยู่ในรูปแบบมาตรฐาน หากใช้ผิดอาจกลายเป็นคำวิบัติได้[ต้องการอ้างอิง] เป็นเพียงการใช้ภาษาให้แตกต่างจากปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจใช้จากรุ่นสู่รุ่นไปจนกว่าคำวิบัตินั้นจะหายไปจากสังคมนั้น ๆ[ต้องการอ้างอิง]

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่า ภาษาวิบัติเป็นการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ชอบ แม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ภาษาเปลี่ยน[3] การให้เหตุผลว่าภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นภาษาของชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ นิธิเห็นว่าเป็นเหตุผลแบบไสยศาสตร์ ไม่ค่อยน่าฟัง[3] นิธิยังเห็นว่า ปัญหาของภาษาไทยในปัจจุบันคือ การใช้ภาษาไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ไวยากรณ์ การใช้ศัพท์หรือการเรียบเรียง เป็นต้น และการไม่ศึกษาภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปนี้เองที่จะเป็นเหตุให้เกิด "ภาษาวิบัติ"[3]

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ช่วงที่มีผู้สร้างภาพยนตร์ไปตั้งเป็นชื่อ หอแต๋วแตกแหวกชิมิ กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย ระบุ คำว่า "ชิมิ" หากเป็นการใช้ภายในกลุ่มก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเป็นการล้อกันเล่นซึ่งเป็นปกติของภาษา และจะเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่การนำไม่ใช้เชิงสาธารณะดังที่ไปตั้งเป็นชื่อภาพยนตร์ ถือว่าไม่เหมาะสมนัก[4] เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 กนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า สถานการณ์ภาษาไทยในปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นวิกฤต และวัยรุ่นใช้ภาษาแช็ตเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต และสื่อสารภายในวัยรุ่นเท่านั้น ยังไม่พบนำมาใช้ในการเขียนหรือการทำงาน[5]

ลักษณะและตัวอย่าง

ผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์[ต้องการอ้างอิง]
  • สนุ๊กเกอร์ (สนุกเกอร์)
  • โน้ต (โน้ต)
สะกดผิดเพราะขี้เกียจพิมพ์ หรือเร่งรีบ[ต้องการอ้างอิง]
  • โทสับ (โทรศัพท์)
  • พุ่งนี้ (พรุ่งนี้)
ให้ดูแปลกตา[ต้องการอ้างอิง]
  • ชะมะ, ชิมิ, ชะ, ช่ายมะ (ใช่ไหม)
  • ป่าว , ป่ะ, ปล่าว (เปล่า)
  • คัย, ไค, ครัย, คราย (ใคร)
  • เตง, ตะเอง (ตัวเอง)
  • รึ, เหรอ, หรา, หรอ, อ่อ (หรือ)
  • ชั้น, ชั้ล, ช้าน (ฉัน)
  • เทอ, เทอร์, เทอว์ (เธอ)
  • แกร (แก)
  • ป๋ม (ผม)
  • บ่องตง (บอกตรงๆ)
  • ถ่ามตง (ถามตรงๆ)
  • ต่อมตง (ตอบตรงๆ)
คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์[ต้องการอ้างอิง]
  • เป็นอะไร → เปงราย, เปนรัย, เปงรัย, เป็นอัลไล
  • ทำไม → ทามมาย, ทามมัย, ทายมาม
  • จังเลย → จังรุย, จังเยย, จุงเบย
  • ไม่รู้ → มะรุ
  • เฮ้ย → เห้ย, เฮ่ย, เหี้ย
  • น่ารักอ่ะ → น่าร็อคอ่ะ, น่าร๊ากอ้ะ, น่าเย็ดอ่ะ, ตั้ลล๊ากอ่ะ
คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์[ต้องการอ้างอิง]
  • กู → กรู, กุ, กรุ, ตรู
  • มึง → มรึง, เมิง, มืง, มุง
  • สัส → สาด, สัตว์, สัก, แสรด, สาสส
  • โคตร → โคโตะ, โคด , โครต ,โคตะระ, คะตะโรด, โตรค
คำเลียนเสียง โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มทัณฑฆาต หรือซ้ำตัวอักษร[ต้องการอ้างอิง]
  • อ๊าย → แอร๊ยย, อร๊ายยย
  • มัน → มันส์
  • วู้ → วู๊วววววววว์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง