ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทกูงาวะ อิเอมิตสึ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:

{{ชื่อญี่ปุ่น}}
สใสบขช
{{กล่องข้อมูล โชกุน
| name =โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ <br /> 徳川家光
| ภาพ = ไฟล์:Iemitu.jpg
| อิสริยยศ =โชกุน
|succession = โชกุนแห่งเอะโดะ
| ดำรงตำแหน่ง =1623 – 1651
| ก่อนหน้า =[[โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ]]
| ถัดไป =[[โทะกุงะวะ อิเอะสึนะ]]
| บุตร-ธิดา =[[ชิโยะฮิเมะ]]<br />[[โทะกุงะวะ อิเอะสึนะ]]<br />[[โทะกุงะวะ สึนะชิเงะ]]<br />[[โทะกุงะวะ สึนะโยะชิ]]<br />และอื่นๆ
|succession1 =
| เกิด ={{วันเกิด|1604|8|12}}
| อสัญกรรม =[[8 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1651]] ({{อายุปีและวัน|2147|8|12|2194|6|8}})
| บิดา = [[โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ]]
| มารดา = [[โอะเอะโยะ]]
}}
'''โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ''' ({{ญี่ปุ่น|徳川 家光|Tokugawa Iemitsu||[[12 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1604]] - [[8 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1651]]}}) เป็น [[โชกุน]] คนที่ 3 แห่ง [[ตระกูลโทะกุงะวะ]] โดยท่านเกิดเมื่อวันที่ [[12 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1604]] เป็นบุตรชายคนโตของโชกุนคนที่ 2 [[โทะกุงะวะ ฮิเดะทะดะ]] และเป็นหลานปู่ของโชกุนคนแรกของตระกูล [[โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ]]
โดยท่านเป็นสมาชิกของตระกูลคนแรกที่เกิดในสมัย ที่ผู้เป็นปู่ได้เป็นโชกุนต่อมาเมื่อผู้เป็นบิดาได้ลงจากอำนาจในปี [[ค.ศ. 1623]]
ท่านก็ได้ขึ้นเป็นโชกุนคนใหม่ขณะอายุได้เพียง 19 ปีแต่อำนาจและอิทธิพลก็ยังคงอยู่ที่อดีตโชกุนฮิเดะทะดะผู้เป็นพ่อจนถึงปี [[ค.ศ. 1632]] เมื่ออดีตโชกุนถึงแก่อสัญกรรมท่านในวัย 28 ปีจึงขึ้นมามีอำนาจอย่างแท้จริงและเมื่อขึ้นมามีอำนาจอย่างแท้จริง ท่านก็สั่งการให้ประหารชีวิตน้องชายแท้ๆของท่านที่พยายามลอบสังหารท่านแต่ไม่สำเร็จ


== ปฐมวัย ==
== ปฐมวัย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:30, 31 ตุลาคม 2559

สใสบขช

ปฐมวัย

โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ กำเนิดในปีค.ศ. 1604 ที่ปราสาทเอะโดะ เป็นบุตรชายคนแรกของโทะกุงะวะ ฮิเดะทะดะ และนางโก (Gō, 江 หลานสาวของโอดะ โนะบุนะงะ) มีชื่อว่า ทะเกะชิโยะ (Takechiyo, 竹千代) อันเป็นชื่อบังคับของบุตรชายคนแรกของตระกูลโทะกุงะวะ มีพี่สาวทั้งหมดสี่คน มีน้องชายหนึ่งคนและน้องสาวอีกหนึ่งคน ปีต่อมาในค.ศ. 1605 ปฐมโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้สละตำแหน่งโชกุนให้แก่โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ บิดาของทะเกะชิโยะ ทะเกะชิโยะไม่เป็นที่โปรดปรานของนางโก มารดาของตน จึงถูกปล่อยให้นางคะสุงะ (Kasuga-no-Tsubone, 春日局) แม่นมเป็นผู้ดูแล นางโกได้ชักจูงให้โชกุนฮิเดะทะดะสามีของตนแต่งตั้งโทะกุงะวะ ทาดะนะงะ (Tokugawa Tadanaga, 徳川忠長) บุตรชายคนโปรดของตนเป็นทายาทแทนพี่ชาย แต่โอโงโชอิเอะยะซุยังคงยืนกรานที่จะให้อิเอะมิสึสืบทอดตำแหน่งโชกุน ในค.ศ. 1617 ทะเกะชิโยะได้ทำพิธี เก็นปุกุและรับชื่อว่า โทะกุงะวะ อิเอะมิสึ และโชกุนอิเดะทะดะได้แต่งตั้งให้อิเอะมิสึเป็นทายาทอย่างเป็นทางการ

โชกุนอิเอะมิสึ

ในค.ศ. 1623 โชกุนฮิเดะทะดะได้สละตำแหน่งโชกุนให้แก่อิเอะมิสึ อิเอะมิสึจึงได้สืบทอดตำแหน่งโชกุนต่อจากบิดาแต่อำนาจอันแท้จริงยังคงอยู่ที่บิดาคือฮิเดะทะดะในฐานะ โอโงโช ในค.ศ. 1624 โอโงโชฮิเดะทะดะและโชกุนอิเอะมิสึได้จัดขบวนอย่างใหญ่โตเดินทางไปยังเมืองเคียวโตะ พำนักที่ปราสาทนิโจ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนัก ในโอกาสที่น้องสาวของโชกุนอิเอะมิสึคือ พระจักรพรรดินีมะซะโกะ (Masako, 和子) ในพระจักรพรรดิโก-มิซุโน (Go-Mizunoo, 後水尾) ได้ประสูติพระธิดาในปีนั้น (ภายหลังคือ พระจักรพรรดินีเมโช) ซึ่งเป็นติดต่อกันครั้งสุดท้าย ระหว่างเอะโดะรัฐบาลโชกุนกับราชสำนักที่เคียวโตะในรอบสองร้อยปี จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์จีวรสีม่วง (Shie-jiken, 紫衣事件) ในค.ศ. 1629 ซึ่งทางรัฐบาลโชกุนได้กล่าวหาราชสำนักเคียวโตะว่า ได้ทำการมอบจีวรสีม่วงอันเป็นเครื่องประดับยศของพระสงฆ์ระดับสูง ให้แก่พระสงฆ์เกินจำนวนที่รัฐบาลโชกุนได้จำกัดไว้ รัฐบาลโชกุนจึงได้ยกเลิกเกียรติยศของพระสงฆ์เหล่านั้นและเนรเทศไป ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักเคียวโตะและรัฐบาลโชกุนต้องขาดสะบั้นลง

ในค.ศ. 1631 โชกุนอิเอะมิสึตัดสินใจที่จะกักบริเวณน้องชายของตนเอง คือ ทะดะนะงะ ไว้ในแคว้นของตนคือแคว้นโคะฟุ (Kofu, 甲府) ในค.ศ. 1632 โอโงโชฮิเดะตะดะถึงแก่อสัญกรรม ทำให้โชกุนอิเอะมิสึมีอำนาจปกครองญี่ปุ่นได้อย่างเต็มที่ เมื่อ โอโงโช ฮิเดะตะดะ ถึงแก่กรรมไปแล้ว โชกุนอิเอะมิสึจึงได้มีคำสั่งให้ทะดะนะงะน้องชายของตนกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปในค.ศ. 1634

ในค.ศ. 1635 โชกุนอิเอะมิสึได้ออกกฎหมายซะมุไร หรือ บุเกะ ชุฮัตโตะ (Buke-Shuhatto, 武家諸法度) ฉบับใหม่ โดยได้นำหลัก ซันกิน-โคไต (Sankin-kōtai, 参勤交代) เป็นการลดอำนาจของไดเมียว โดยการบังคับให้ไดเมียวเจ้าแคว้น จะต้องพำนักอยู่ในเมืองเอะโดะเป็นเวลาหนึ่งปี และออกไปพำนักอยู่ที่แคว้นของตนเป็นเวลาอีกหนึ่งปี สลับกันไปทุกปี โดยที่ภรรยาเอกและทายาทพำนักอยู่ในเมืองเอะโดะตลอดเวลา การเดินทางไปกลับจากแคว้นของตนและเมืองเอะโดะ ด้วยขบวนที่ใหญ่โตอลังการทำให้ไดเมียวเจ้าแคว้นต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และไม่สามารถสั่งสมอำนาจในแคว้นของตนได้ อีกทั้งรัฐบาลโชกุนยังบังคับให้ไดเมียวสร้างคฤหาสน์ใหญ่ในเมืองเอะโดะอีกอย่างน้อยคนละสามหลัง นโยบายนี้บังคับใช้ไปตลอดยุคเอะโดะ

กบฏชิมะบะระ

โชกุนอิเอะมิสึได้ช่วยเหลือบิดาของตนในการกวาดล้างและลงโทษชาวคริสเตียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบนเกาะคิวชูอันเป็นแหล่งเผยแผ่ศาสนาของมิชชันนารีชาวโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยเซ็งโงะกุ มีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากรวมทั้งไดเมียวบางคนเข้ารีต หลังจากนโยบายกดขี่ชาวคริสเตียนอย่างหนักหน่วงและความแห้งแล้งอดอยาก ทำให้ชาวญี่ปุ่นคริสต์บนแหลมชิมะบะระ (Shimabara, 島原) และเกาะอะมะกุซะ (Amakusa, 天草) อันเป็นส่วนหนึ่งของเกาะคิวชู ลุกฮือขึ้นต่อกต้านการปกครองของรัฐบาลโชกุนตระกูลโทะกุงะวะในค.ศ. 1637 นำโดยหนุ่มชาวนาชื่อว่า อะมะกุสะ ชิโร่ (Amakusa Shirō, 天草 四郎) เรียกว่า กบฏชิมะบะระ (Shimabara-no-ran, 島原の乱)

กองทัพกบฏชาวบ้านได้เข้าโจมตีปราสาทชิมะบะระ อันเป็นปราสาทของไดเมียวเจ้าแคว้นแต่ไม่สำเร็จ จึงได้เข้ายึดปราสาทฮะระ (Hara-jō, 原城) อันเป็นปราสาทว่างเปล่าเป็นฐานที่มั่น ทางฝ่ายบะกุฟุได้ส่ง อิตะกุระ ชิเงะมะสะ (Itakura Shigemasa, 板倉重昌) ยกทัพมาทำการล้อมปราสาทฮะระ นอกจากนี้ยังได้ขอความช่วยเหลือไปยังชาวฮอลันดาที่เมืองท่าฮิระโดะ ให้ส่งเรือรบมาช่วยปราบกบฏ แม้กระนั้นกบฏชาวบ้านก็ยังต่อสู้ป้องกันปราสาทอย่างแข็งขัน จนกระทั่งอิตะกุระ ชิเงะมะสะ ถูกสังหารในที่รบในค.ศ. 1638 รัฐบาลโชกุนจึงส่งมะสึไดระ โนะบุสึนะ (Matsudaira Nobutsuna, 松平信綱) มาแทน เป็นเวลาเดียวกับที่ชาวบ้านเริ่มจะอ่อนกำลังและขาดเสบียง ทำให้ทัพของรัฐบาลโชกุนเข้ายึดปราสาทฮะระได้ในที่สุด

กบฏชาวบ้านจำนวนมากถูกประหารชีวิตที่เมืองนะงะซะกิ กบฏชิมะบะระเป็นยุทธการทางทหารครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยเอะโดะ ทั้งยังมีการขอความช่วยเหลือจากฮอลันดา มาต่อสู้กับการลุกฮือที่ประกอบด้วยชาวบ้านเท่านั้น

นโยบายปิดประเทศ

กบฏชิมะบะระทำให้ทัศนคติของโชกุนอิเอะมิสึที่มีต่อชาวตะวันตกและคริสต์ศาสนาแย่ลง อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากฮะยะชิ ระซัง (Hayashi Razan, 林羅山) นักปราชญ์ขงจื้อและที่ปรึกษาคนสำคัญของโชกุน โชกุนอิเอะมิสึจึงได้ดำเนินนโยบายอย่างราชวงศ์หมิงและอาณาจักรโชซอน คือนโยบายปิดประเทศ หรือ ซะโกะกุ (Sakoku, 鎖国) เป็นกฎหมายต่างๆที่ประกาศออกมาในช่วงตั้งแต่ค.ศ. 1633 ถึง ค.ศ. 1638 จำนวนห้าฉบับ

ในค.ศ. 1631 โชกุนอิเอะมึสึได้จัดตั้งเรือ โฮโชะเซ็น (Hōsho-sen, 奉書船) อันเป็นเรือที่ต้องมีหนังสืออนุญาตจากโรจู ขึ้นมาแทนที่เรือชูอินเซ็น (Shuinsen, 朱印船) หรือเรือตรงแดงที่ใช้มาตั้งแต่ค.ศ. 1604

  • ค.ศ. 1632 กฎหมายปิดประเทศฉบับที่หนึ่ง อนุญาตให้เรือโฮโชะเซ็นเท่านั้นที่สามารถออกไปค้าขายต่างประเทศได้ และห้ามชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่นอกประเทศเกินห้าปีกลับเข้ามาในญี่ปุ่น
  • ค.ศ. 1634 กฎหมายปิดประเทศฉบับที่สอง เน้นย้ำกฎหมายปิดประเทศฉบับที่หนึ่ง
  • ค.ศ. 1635 กฎหมายปิดประเทศฉบับที่สาม อนุญาตให้เรือสินค้าจีนและฮอลันดาเทียบท่าได้ที่เมืองนะงะซะกิเท่านั้น ห้ามชาวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศไปกลับเข้ามาอีก
  • ค.ศ. 1636 กฎหมายปิดประเทศฉบับที่สี่ เนรเทศชาวโปรตุเกสที่ไม่ใช่พ่อค้าทั้งหมดไปที่เมืองมาเก๊า ส่วนที่เหลือที่เป็นพ่อค้าให้อยู่ที่นะงะซะกิและเดจิมะ
  • ค.ศ. 1639 กฎหมายปิดประเทศฉบับที่ห้า ห้ามมิให้เรือโปรตุเกสมาเทียบท่าที่ญี่ปุ่นอีก

โชกุนอิเอะมิสึได้ให้มีการถมทะเลขึ้นมาเป็นเกาะที่ริมทะเลเมืองนะงะซะกิ เรียกว่า เกาะเดะจิมะ (Dejima, 出島) หรือ "เกาะทางออก" ในค.ศ. 1634 โดยไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินญี่ปุ่น สถานีการค้าของฮอลันดาจากเดิมที่อยู่ที่เมืองท่าฮิระโดะมาตั้งแต่ค.ศ. 1609 ได้ถูกคำสั่งจากบะกุฟุให้ย้ายไปที่เกาะเดะจิมะในค.ศ. 1641

นโยบายการปิดประเทศโดยที่มีชาวฮอลันดาเป็นชาวตะวันตกเพียงชาติเดียวที่สามารถติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นได้นั้น จะยังคงสภาพเช่นนี้ไปอีกสองร้อยปี จนกระทั่งญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดประเทศในค.ศ. 1854

บั้นปลายชีวิต

ในค.ศ. 1642 เกิดทุพภิกขภัยปีคังเอ (Kan'ei-no-daikikin, 寛永の大飢饉) โชกุนอิเอะมิสึถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1650 บุตรชายคนโต คือ โทะกุงะวะ อิเอะสึนะ (Tokugawa Ietsuna, 徳川家綱) สืบทอดตำแหน่งโชกุนต่อมา

เหตุการณ์สำคัญในสมัยโชกุนอิเอะมิสึ

  • ค.ศ. 1637- เกิดกบฏชิมะบะระโชกุนจึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ใช้กำลังเข้าปราบปรามมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนพันกว่าคน
  • ค.ศ. 1639- โชกุนมีคำสั่งให้ปิดประเทศจากโลกภายนอกมีเพียง ฮอลันดา และ อังกฤษเท่านั้นที่สามารถค้าขายในญี่ปุ่นได้

และมาตรการนี้ได้ใช้มายาวนานถึง 115 ปีก่อนจะถูกยกเลิกไปในปีค.ศ. 1854 ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1651 ขณะอายุได้เพียง 47 ปี