ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมจักร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
svg
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:


[[ยูนิโค้ด|รหัสยูนิโค้ด]] ซึ่งเป็นรหัสตัวอักษรสากลสำหรับคอมพิวเตอร์ เรียกวงล้อแห่งชีวิตว่า "Wheel of Dhamma" (วงล้อแห่งธรรม) และมีซี่แปดซี่ มีรหัสคือ "U+2638" และมีลักษณะดังนี้: <big>({{Unicode|☸}})</big>
[[ยูนิโค้ด|รหัสยูนิโค้ด]] ซึ่งเป็นรหัสตัวอักษรสากลสำหรับคอมพิวเตอร์ เรียกวงล้อแห่งชีวิตว่า "Wheel of Dhamma" (วงล้อแห่งธรรม) และมีซี่แปดซี่ มีรหัสคือ "U+2638" และมีลักษณะดังนี้: <big>({{Unicode|☸}})</big>

== ชื่อของธรรมจักร ==
แม้ว่าคำเรียกทุกคำส่วนมากจะแปลได้ความหมายว่า '''วงล้อแห่งชีวิต''' แต่วงล้อนี้ก็มีหลายชื่อเช่น
* วงล้อแห่งการเปลี่ยนแปลง (วัฐจักร)
* วงล้อแห่งธรรม (ธรรมจักร)

สัญลักษณ์นี้เรียกได้อีกอย่างว่า '''จักร''' หรือ '''จักรา''' โดยวงล้อแห่งชีวิตจะเรียกชื่อเฉพาะว่า '''ธรรมจักร''' ซึ่งหมายถึง "วงล้อแห่งธรรม" หรือ "ต๋าหม่าหลุน"ใน[[ภาษาจีนกลาง]]


== ธรรมจักรในพุทธศาสนา ==
== ธรรมจักรในพุทธศาสนา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:52, 21 สิงหาคม 2559

ธรรมจักรมีกำ 8 ซี่ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 ในทางพระพุทธศาสนา
ธรรมจักรอันใช้เป็นเครื่องหมายของคณะสงฆ์ไทย มีกำ 12 ซี่
ไฟล์:สัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้.png
ธรรมจักรมีกำ 12 ซี่ ในตราสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
สัญลักษณ์ธรรมจักรซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายของอนุศาสนาจารย์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา
ธงธรรมจักร
ธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

วงล้อแห่งชีวิต (อังกฤษ: Wheel of life) หรือ ธรรมจักร (อังกฤษ: Dharmachakra ; Wheel of Dhamma) ในศาสนาพุทธและฮินดู เป็นสัญลักษณ์แทนวัฏจักรเวียนว่ายตายเกิด หรือวงเวียนแห่งการ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธองค์

ลักษณะของธรรมจักรดั้งเดิมมีสองรูปแบบ คือมี หกซี่ หรือบางครั้งห้าซี่ และรูปแบบที่กำเนิดในพุทธศาสนาคือ แปดซี่ สอดคล้องกับ มรรคแปด หรือรูปพระหัถต์

รหัสยูนิโค้ด ซึ่งเป็นรหัสตัวอักษรสากลสำหรับคอมพิวเตอร์ เรียกวงล้อแห่งชีวิตว่า "Wheel of Dhamma" (วงล้อแห่งธรรม) และมีซี่แปดซี่ มีรหัสคือ "U+2638" และมีลักษณะดังนี้: ()

ธรรมจักรในพุทธศาสนา

ธรรมจักรแปดซี่จะใช้ในพุทธศาสนาเท่านั้น โดยซี่ทั้งแปดจะหมายถือ มรรคแปดซึ่งเป็นหนทางสู่การบรรลุ โดยความหมายอื่นที่มีการเอ่ยถึงคือ:

  • รูปทรงวงกลม (จักร) แทนความสมบูรณ์แบบของพระธรรม
  • แกนกลางแทนคำสอนซึ่งเป็นแก่นของการฝึกเพื่อนิพพาน
  • ขอบที่เชื่อมซี่ของธรรมจักรไว้จะหมายถึงความสมถะ มั่นคงยึดถือทุกสิ่งไว้ด้วยกัน

จำนวนกำของธรรมจักรที่มากกว่า 8 ซี่ จะมีความหมายอื่นในทางพระพุทธศาสนาที่ต่างออกไป ดังนี้

  • ถ้ามี 12 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท 12
  • ถ้ามี 24 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการทั้งด้านเกิด 12 และด้านดับ 12
  • ถ้ามี 31 ซี่ หมายถึง ภูมิ 31(กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4)[1]

ธรรมจักรในวัฒนธรรมทั่วไป

อ้างอิง

  • เอปสไตน์, มาร์ก. ความคิดปราศจากผู้คิด : จิตบำบัดจากมุมมองทางพุทธศาสนา. [ม.ป.ท.] : สำนักพิมพ์เบสิคบุ๊กส์, ค.ศ. 1995. ISBN 0465039316

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52