เกล็ดหิมะ (สแลง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกล็ดหิมะ หรือ สโนว์เฟลก (Snowflake) เป็น ศัพท์สแลงเชิงลบต่อบุคคล ที่ใช้กันมากในช่วงในคริสต์ทศวรรษที่ 2010 ซึ่งเปรียบเปรยบุคคลที่มีความรู้สึกว่าตนนั้นมีความโดดเด่นสูงกว่าผู้อื่นแต่มากเกินความเป็นจริง หรือ บุคคลที่มีความรู้สึกว่าตนเองได้รับสิทธิพิเศษกว่าผู้อื่นแต่ไม่สมเหตุสมผล หรือ มีอารมณ์ละเอีนดอ่อนมากเกินไป หรือ โกรธง่ายจากการถูกสบประมาทและไม่สามารถจัดการกับความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์ได้

นัยยะของคำว่า เกล็ดหิมะ (หรือ สโนว์เฟลก) ยังปรากฏในคำเปรียบเปรยอื่น ๆ ได้แก่คำว่า เจเนเรชันเกล็ดหิมะ (เจเนเรชันสโนว์เฟลก - Generation Snowflake) และ เกล็ดหิมะ ที่เป็นศัพท์สแลงทางการเมืองของการสบประมาส

ความเป็นมาและการใช้งาน

เชื่อกันว่า เกล็ดหิมะ ทุกเกล็ดมีโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การใช้ศัพท์ "เกล็ดหิมะ" ส่วนใหญ่อ้างอิงถึงคุณสมบัติทางกายภาพของเกล็ดหิมะ เช่น โครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ หรือความเปราะบาง ในขณะที่มีการใช้ส่วนน้อยที่อ้างอิงถึงสีขาวของหิมะ


เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ

คำว่า เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ หรือ เจเนเรชันสโนว์เฟลก (Generation Snowflake หรือ Snowflake Generation) ได้รับความนิยมจากหนังสือ I Find That Offensive ! ของ Claire Fox ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์การเผชิญหน้ากันที่เกิดขึ้นระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยและคณบดีวิทยาลัย นิโคลัส เอ. คริสทาคิส (Nicholas Christakis) ที่เกิดขึ้นในปีค.ศ. 2015 ที่มหาวิทยาลัยเยล[ต้องการอ้างอิง] การเผชิญหน้านี้ได้รับการบันทึกและอัปโหลดใน ยูทูบ ซึ่งแสดงภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยกำลังโต้เถียงกับคริสทาคิส เกี่ยวกับการไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับ ชุดฮาโลวีน และระดับความเหมาะสมของการเข้ามาแทรกแซงของมหาวิทยาลัยเยล ในเรื่องเครื่องแต่งกายของนักศึกษา ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นการจัดระเบียบทางวัฒนธรรม ซึ่งในช่องฟ็อกซ์(ทีวี) อรรถาธิบายวิดีโอนี้ว่า เป็นการแสดงภาพของ "การกรีดร้องของกลุ่มนักเรียนผู้ประท้วงในลักษณะการตีโพยตีพาย" (อาการของการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ที่รุนแรงได้) และปฏิกิริยาสะท้อนที่มีต่อวิดีโอไวรัลนี้นำไปสู่การตั้งคำนิยามเชิงดูหมิ่นต่อนักเรียนกลุ่มนั้น ว่าเป็น "เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ"   [ ไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งที่มาหลัก ] "เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ " เป็นหนึ่งในศัพท์แห่งปีของ พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับคอลลินส์ ในปีค.ศ. 2016 โดยให้คำจำกัดความของคำนี้ว่า หมายถึง "คนหนุ่มสาวในยุคคริสต์ทศวรรษที่ 2010 ที่ถูกมองว่ามีความยืดหยุ่นน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดมากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ " [1]

คำว่า เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ หรือ เจเนเรชันสโนว์เฟลก ยังมักใช้อ้างอิงถึงนัยยะของ คำกระตุ้นเตือน และ พื้นที่ปลอดภัย (การจัดเซฟโซน ก่อนการก้าวล่วงไปในจุดนอกการควบคุม) หรือใช้เพื่ออธิบายต่อคนหนุ่มสาวว่านี่เป็นการต่อต้านเสรีภาพในการพูด โดยเฉพาะในการอ้างอิงถึงแนวปฏิบัติที่เรียกว่า Deplatforming (รูปแบบของการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือการสร้างความยับยั้งชั่งใจ โดยบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ด้วยเป้าหมายในการปิดโอกาสผู้พูดหรือสุนทรพจน์ที่มีการโต้เถียง หรือการปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงสถานที่ที่จะแสดงความคิดเห็น) นอกจากนี้ยังใช้เพื่ออ้างถึงการเพิ่มขึ้นปัญหาสุขภาพจิตในหมู่คนหนุ่มสาว [2]

คำสบประมาททางการเมือง

หลังจากผลการลงประชามติสนับสนุน เบร็กซิต (Brexit) ในสหราชอาณาจักร และการเลือกตั้ง โดนัลด์ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ คำว่า เจเนอเรชันเกล็ดหิมะ มักถูกย่อให้สั้นลงเหลือเพียง "เกล็ดหิมะ" และกลายเป็นการดูถูกทางการเมือง บทความในเดือนพฤศจิกายน 2016 จาก เดอะการ์เดียน ให้ความเห็นว่า "ก่อนหน้านี้ การเรียกใครสักคนว่าเกล็ดหิมะ น่าจะต้องร่วมกับคำว่า 'เจเนอเรชัน'

เกล็ดหิมะ (Snowflake) เป็นการดูถูกทางการเมืองที่โดยทั่วไปใช้โดยผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเอียงขวา เพื่อใช้สบประมาทผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเอียงซ้าย ในบทความจาก ลอสแองเจลิสไทมส์ เจสสิก้า รอยกล่าวว่า ออลต์ไรต์ ในสหรัฐอเมริกากล่าวถึงคนเสรีนิยมส่วนใหญ่ และรวมผู้ที่ประท้วงโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าเป็นพวก "เกล็ดหิมะ" บทความในปี 2017 จาก Think Progress ให้ความเห็นว่า "การดูถูกทางการเมืองนี้ขยายวงกว้างออกไปไม่เพียงเฉพาะต่อคนหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มเสรีนิยมทุกรุ่น และกลายเป็นทางเลือกหลักในการที่ฝ่ายขวาจะเรียกใครก็ตามที่ค้องสงสัยว่า ปปปป ได้ง่ายเกินไปเช่นกัน ต้องการเซฟโซนมากเกินไป เปราะบางเกินไป" Jonathon Green บรรณาธิการของ Green's Dictionary of Slang ระบุว่าศัพท์ เกล็ดหิมะ เป็นการดูถูกที่ผิดปกติในการเรียกเฉพาะคนที่อ่อนแอและเปราะบาง โดยที่ไม่ได้การอ้างอิงเกี่ยวกับ การดูถูกเพศหญิง (misogynistic) หรือ การเกลียดกลัวพวกรักเพศเดียวกัน (homophobic)

จอร์จ ทาเคอิ (นักแสดง) ได้ขยายคำอุปมาเพื่อเน้นย้ำถึงพลังของคนพวกเกล็ดหิมะ โดยกล่าวว่า "สิ่งที่เกี่ยวกับ "เกล็ดหิมะ" คือ ความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่หากด้วยจำนวนที่มหาศาลกลับกลายเป็น หิมะถล่ม ที่ไม่สามารถหยุดได้ ซึ่งจะฝังคุณ (พวกฝ่ายขวา) ไว้ใต้นั้น" ในขณะที่คนอื่น ๆ โต้กลับโดยดูถูกผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเอียงขวาโดยอ้างว่า "เสียงการกรีดร้องลักษณะนี้ สามารถพบได้ทั่วทุกมุมมองทางการเมือง (ไม่ได้มาจากคนหนุ่มสาว หรือ ผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเอียงซ้ายเพียงทางเดียว)" แต่รวมถึงพบได้จากประธานาธิบดีทรัมป์ด้วย

นักแสดงตลก โอนีล เบรนแนน เรียกโดนัลด์ ทรัมป์ว่า "เกล็ดหิมะที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา" ในขณะที่ความคิดเห็นจาก The Guardian ในเดือนมกราคม 2017 อ้างถึงประธานาธิบดีทรัมป์ว่า "ประมุขแห่งเกล็ดหิมะ (Snowflake-in-Chief) " และผู้บรรยายของ CNN Van Jones เรียกทรัมป์ "ประธานาธิบดีเกล็ดหิมะ" ตามคำตอบของเขาต่อเรื่องการสอบสวนรัสเซียของเอฟบีไอเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 [3]

Shelly Haslam-Ormerod อาจารย์ด้านสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี จาก Edge Hill University วิจารณ์การใช้คำนี้อย่างรุนแรง โดยโต้แย้งใน The Conversation ว่าเป็นการหยามเหยียดความท้าทายด้านสุขภาพจิตที่เยาวชนในปัจจุบันต้องเผชิญในโลกที่ไม่แน่นอน และสังเกตว่าแม้แต่เด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 10 ปีถูกเหมารวมป้ายสีให้เป็น "เกล็ดหิมะ" อย่างไม่เป็นธรรมในบทความแท็บลอยด์

ในคอลัมน์ของ Michelle Malkin ได้วิพากษ์วิจารณ์บทบัญญัติของ รัฐบัญญัติคุ้มครองผู้ป่วยและการบริบาลที่เข้าถึงได้ ซึ่งกำหนดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของนายจ้างเพื่อขยายไปยังลูกหลานของพนักงานที่เป็นผู้ใหญ่แล้วซึ่งมีอายุไม่เกิน 26 ปี โดยอธิบายว่าเป็น "อาณัติคนขี้เกียจ" และเรียกคนหนุ่มสาวเหล่านี้ว่า "เกล็ดหิมะอันล้ำค่า". มัลคินระบุว่าบทบัญญัติดังกล่าวมี ผลกระทบทางวัฒนธรรม โดยไปลดแรงจูงใจสำหรับคนอายุ 20 ปีกว่า ๆ ให้เติบโตขึ้นเอง และแสวงหาชีวิตที่พึ่งพาตนเอง และการดำรงชีวิตด้วยตนเอง"

"Broflake" (มาจาก " bro " และ "snowflake") เป็นคำที่เสื่อมเสียซึ่งเกี่ยวข้องกันซึ่ง Oxford Dictionaries ให้ คำจำกัดความไว้ว่า "คนที่ไม่พอใจหรือขุ่นเคืองใจได้ง่ายจากทัศนคติที่ก้าวหน้าซึ่งขัดแย้งกับมุมมองแบบดั้งเดิมหรือแบบอนุรักษ์นิยมของเขา" นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้กับผู้หญิงในความหมายทั่วไปของคนที่อ้างว่าไม่โกรธเคืองง่าย ๆ แต่มักจะเป็น

การใช้งานอื่น ๆ

ในช่วงทศวรรษ 1970 ตามพจนานุกรมคำแสลงฉบับกรีน ศัพท์เกล็ดหิมะ ถูกใช้เพื่ออธิบายถึง "คนผิวขาวหรือคนดำที่ถูกมองว่าทำตัวเหมือนคนขาวมากเกินไป"

ในที่ทำงาน

ในปี 2560 บริษัท การตลาดแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาได้สร้าง "การทดสอบความเป็นพวกเกล็ดหิมะ" (snowflake test) เพื่อใช้ในกระบวนการจ้างงานเพื่อตัดผู้สมัครงานที่มีแนวโน้มของความอ่อนไหวและความโอบอ้อมอารี ที่มากเกินไป ซึ่งมักส่งผลให้โกรธเคืองง่ายเกินไป" คำถามในการทดสอบดังกล่าวจำนวนมาก ถูกตั้งมาเพื่อประเมินท่าทีของผู้สมัครที่มีต่อ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตำรวจ และอาวุธปืน อย่างไรก็ตาม Cary Cooper (นักจิตวิทยาและนักวิชาการ) จาก สถาบันธุรกิจแมนเชสเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ให้ความเห็นว่า การทดสอบนี้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แย่ในการดึงดูดผู้สมัครงานรุ่นเยาว์ที่มีความสามารถ

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ในเดือนมีนาคมปี 2017 แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ รายการตลกสเก็ตช์ภาพสดของชาวอเมริกัน ออกอากาศเกี่ยวกับ หมาของทรัมป์ (ซึ่งด้วยความช่วยเหลือทางเทคโนโลยี) สามารถพูดตำหนิมนุษย์ที่ต่อต้านทรัมป์ในห้องว่าเป็น "พวกเกล็ดหิมะเสรีนิยม"

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Top 10 Collins Words of the Year 2016". Collins English Dictionary. 3 November 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2017. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  2. Keaveney, Stephanie (19 December 2016). "The 'Snowflake' Generation: Real or Imagined?". The John William Pope Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2016. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
  3. Van Jones: Trump is 'President Snowflake', CNN Video, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤษภาคม 2017, สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2017