พลระห่ำสงครามนรก
พลระห่ำสงครามนรก | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | แซม เมนเดส |
บทภาพยนตร์ | วิลเลียม บรอยส์เลส จูเนียร์ |
สร้างจาก | จาร์เฮด โดย แอนโทนี สวอฟฟอร์ด |
อำนวยการสร้าง | ดักลาส วิค ลูซี่ ฟิชเชอร์ |
นักแสดงนำ |
|
กำกับภาพ | โรเจอร์ ดีกิ้นส์ |
ตัดต่อ | วอลเตอร์ เมิร์ช |
ดนตรีประกอบ | โธมัส นิวแมน |
บริษัทผู้สร้าง | เรดวากอน โปรดักชั่นส์ นีล สตรีท โปรดักชั่นส์ |
ผู้จัดจำหน่าย | ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 123 นาที |
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 72 ล้านดอลลาร์ |
ทำเงิน | 97.1 ล้านดอลลาร์[1] |
พลระห่ำสงครามนรก (อังกฤษ: Jarhead) เป็นภาพยนตร์ดรามาชีวประวัติและสงครามของอเมริกันในปี พ.ศ. 2548 สร้างขึ้นมาจากบันทึกความทรงจำในชื่อจาร์เฮด เช่นเดียวกับชื่อหนังเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดย แอนโทนี สวอฟฟอร์ด เล่าเกี่ยวกับเรื่องราวของการรับราชการทหารในเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ ระหว่างช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งกำกับโดย แซม เมนเดส นำแสดงโดย เจค จิลเลินฮาล รับบทเป็น สวอฟฟอร์ด ร่วมกับ เจมี ฟ็อกซ์, ปีเตอร์ ซาร์สการ์ด, ลูคัส แบล็ค และ คริส คูเปอร์
ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์ เปิดตัวภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อวันที่ 4 พฤษจิกายน พ.ศ. 2548 โดยได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลายและทำรายได้ในบ็อกออฟฟิศที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง เนื่องจากทำรายได้เพียง 97 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 72 ล้านดอลดาร์สหรัฐ
ชื่อของเรื่องตั้งมาจากคำแสลงทางการทหารในหมูนาวิกโยธินสหรัฐ แปลว่าพวกไอเณร หรือพวกทหารหัวเกรียน[2] และท้ายที่สุดภาพยนตร์ชุดนี้ได้ถูกบรรจุลงแพลตฟอร์มซีดี กลายเป็นหนังแผ่น โดยมีเรื่องราวเพิ่มเติมอีก 3 ภาค กลายเป็น 3 เรื่องที่ใช้ชื่อชุดเดียวกันแต่ไม่มีความเชื่อมโยงกันเลย
โครงเรื่อง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2532 แอนโธนี "สวอฟฟ์" สวอฟฟอร์ด ซึ่งมีบิดาเป็นทหารผ่านศึกในสงครามเวียดนาม (พ.ศ. 2504–2518) มาก่อน เขาได้เข้าร่วมการคัดเลือกและฝึกเป็นนาวิกโยธินสหรัฐ และเข้าประจำการที่ค่ายเพนเดิลตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย สวอฟฟอร์ดอ้างว่าเขาสมัครเข้าร่วมนาวิกโยธินเพราะ "เดินหลงทางระหว่างไปมหาวิทยาลัย" เขาใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไปทั้งเรื่องการพยายามเข้าสังคมและการปรับตัว แม้ว่าเขาจะชอบแกล้งป่วยเพื่อหลีกเลี่ยงหน้าที่รับผิดชอบของเขาบ่อยๆ ก็ตาม แต่จ่าสิบเอกไซค์ส ได้มองเห็นศักยภาพในตัวของเขาและยื่นโอกาสให้กับเขาในการเข้าร่วมหลักสูตรพลแม่นปืน
หลังจากการฝึกฝนอย่างหนัก ทหารจำนวนแปดนายได้สำเร็จการฝึกหลักสูตรพลแม่นปืน โดยหนึ่งในนั้นคือสวอฟฟอร์ด ซึ่งอยู่ในตำแหน่งพลยิง และสิบโท อลัน ทรอย เพื่อนร่วมห้องของเขาได้มาเป็นพลชี้เป้าให้กับเขา ต่อมาเมื่อคูเวตถูกรุกรานโดยอิรัก หน่วยของสวอฟฟอร์ดก็ถูกส่งเข้าไปประจำการในพื้นที่คาบสมุทรอาหรับโดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์ ในสงครามอ่าว (พ.ศ. 2533–2534) ด้วยความกระหายในการรบ เหล่านาวิกโยธินพบว่าตนเองกลับต้องเบื่อหน่ายอยู่กับการฝึกซ้อม การฝึกยุทธวิธีเสริม ภารกิจประจำวัน และงานในความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำจนเกิดความเบื่อหน่าย ทำให้หลายคนพูดถึงเรื่องแฟนสาวและภรรยาของพวกตนที่รออยู่ที่บ้าน พวกเขายังสร้างบอร์ดข่าวที่มีรูปถ่ายพร้อมกับคำอธิบายความผิดและการนอกใจต่าง ๆ ของพวกเธอที่พวกเขาจับได้หรือรับรู้ (รู้จักกันในคำสแลงทางทหารว่า กำแพงโจดี้)
สวอฟฟอร์ดได้ลักลอบนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาจัดปาร์ตี้คริสต์มาส และให้เฟอร์กัสดูต้นทางเพื่อเฉลิมฉลอง ฟอร์กัสจุดไฟเผาเต็นท์โดยไม่ได้ตั้งใจในขณะปรุงไส้กรอกทำให้พลุไฟระเบิดขึ้น ปลุกคนทั้งค่ายให้ตื่นขึ้น ซึ่งทำให้จ่าสิบเอกไซค์สโกรธมาก แทนที่เขาจะโยนความผิดให้ฟอร์กัส เขากลับรับความผิดไว้ด้วยตัวเอง เขาจึงถูกลดตำแหน่งลงจากสิบตรีเป็นพลทหาร และได้รับหน้าที่ในการเผาเศษของอุจาระจากห้องน้ำเพื่อทำลายของเสีย ผลจากการถูกลงโทษ ความเบื่อหน่าย ความเครียด และความสงสัยในใจของเขาว่าแฟนของเขาได้นอกใจไปเช่นกัน ทำให้เขาสติแตกจนไปขู่ฟอร์กัสด้วยปืนไรเฟิลแล้วขอให้ยิงเขาด้วยไรเฟิลนั้น
ต่อมา ปฏิบัติการพายุทะเลทรายได้เริ่มขึ้น หน่วยนาวิกโยธินได้ถูกส่งกำลังไปยังพรมแดนซาอุดิอาระเบียและคูเวต สวอฟฟอร์ดได้รู้ข้อมูลจากจ่าไซค์สว่าทรอยปกปิตประวัติอาชญากรรมของเขาก่อนสมัครเข้ามาเป็นทหาร ทำให้เมื่อเดินทางกลับไปจะต้องถูกปลดประจำการ โดยทรอยเริ่มทำตัวเหินห่างจากเพื่อน ๆ ในหน่วย เมื่อทุกคนรู้ว่าทรอยจะสมัครเข้ามาประจำการใหม่อีกไม่ได้แล้ว เพื่อนนาวิกจึงจู่โจมใส่เขาและประทับตรา USMC เหล็กร้อนแดงลงบนตัวของทรอย เพื่อประทับตราว่าทรอยก็เป็นหนึ่งในพวกเขาเหล่านาวิกโยธินแล้ว จากนั้นหลังจากเหตุการณ์โจมตีทางอากาศในพวกเดียวกันเอง นาวิกโยธินได้เคลื่อนพลรุกคืบผ่านดินแดนของทะเลทราย โดยไม่พบกับกองกำลังของศัตรูบนภาคพื้นดินเลย จนกระทั่งเคลื่อนพลผ่าน "ทางหลวงแห่งความตาย" อันโด่งดัง (ถนนที่ทางเหนือมุ่งหน้าไปยังอิรักจากเมืองหลวงของคูเวต) ซึ่งเต็มไปด้วยซากของยานพาหนะที่ถูกไฟไหม้และศพของทหารอิรักที่กำลังล่าถอยที่ไหม้เกรียม ซึ่งเป็นผลมาจากการทิ้งระเบิด ต่อมาหน่วยนาวิกโยธิได้เคลื่อนพลไปจนเห็นบ่อน้ำมันของคูเวตซึ่งกำลังลุกไหม้อยู่ไกล ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการล่าถอยของอิรัก พวกเขาพยามขุดหลุมเพื่อหลับพักผ่อนในขณะที่มีฝนน้ำมันดิบตกลงมาจากท้องฟ้าซึ่งมาจากการเผาบ่อน้ำมัน โดยก่อนพวกเขาจะขุดเสร็จ จ่าไซค์ได้สั่งให้ทีมของพวกเขาเคลื่อนที่ไปต่อให้พ้นจากแนวฝนน้ำมันดิบเนื่องจากลมเปลี่ยนทิศ
ในช่วงท้ายของสงคราม ในที่สุดสวอฟฟอร์ทและทรอยได้รับภารกิจในการลอบสังหาร โดยพันโทคาซินสกี้ ผู้บังคับกองพันของเขาสั่งการให้ลอบสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยรีพับลิกกันการ์ดอย่างน้อยหนึ่งหรือสองคนในสนามบินบริเวณใกล้เคียงหน่วยของเขา ในวินาทีสุดท้ายที่สวอฟฟอร์ดจะยิง พันตรีลินคอล์นก็ขัดจังหว่ะเขา และเปลี่ยนไปใช้การโจมตีทางอากาศแทน ทรอยขอร้องที่จะสังหารเป้าหมายนี้ แต่ถูกปฏิเสธ และสั่งให้โจมตีทางอากาศ ทำให้สวอฟฟอร์ดและทรอยผิดหวังอย่างมาก และเขาไม่ได้ใช้ไรเฟิลของเขายิงใครเลยตลอดสงครามจนสิ้นสุด เขาพูดกับตัวเองว่าการฝึกของเขาทั้งหมดเพื่อที่จะได้จบหลักสูตรมาเป็นพลแม่นปืนนี้แทบไม่มีความหมายเลยในสงครามสมัยใหม่นี้
เหล่านาวิกโยธินเดินทางกลับมาบ้านด้วยรถบัสซึ่งมีนาวิกโยธินยุคสงครามเวียดนามมายินดีกับพวกเขา ซึ่งพวกเขารู้สึกได้ถึงความอึดอัดบางอย่างของชายคนนั้นและขอติดรถไปด้วย พร้อมทั้งมีขบวนแห่ไปทั่วทั้งเมืองเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ สวอฟฟอร์ดกลับบ้านไปหาครอบครัวและแฟนสาวของเขา และพบว่าเธอมีแฟนใหม่ไปแล้ว ฟาวเลอร์อยู่กับโสเภณีในบาร์ ซึ่งปัจจุบันมียศสิบตรี ครูเกอร์ในห้องประชุมของบริษัท เอสโกบาร์เป็นพนักงานในซุปเปอร์มาร์เก็ต คอร์เทซเป็นพ่อของลูกสามคน และไซค์สยังคงรับราชการทหารเป็นพันจ่าโทในสงครามอิรัก จนกระทั่งเฟอร์กัสได้มาแจ้งข่าวการจากไปของทรอยอย่างไม่คาดคิด ในงานศพของทรอย เพื่อน ๆ ที่ร่วมรบกันในครั้งนั้นได้กลับมาพบกันอีกครั้งและได้รำลึกถึงผลกระทบของสงครามที่เกิดกับพวกเขา
นักแสดง
[แก้]- เจค จิลเลินฮาล รับบทเป็น สิบตรี / พลทหาร / สิบโท แอนโธนี สวอฟฟอร์ด
- สก็อตต์ แม็กโดนัลด์ รับบทเป็น ครูฝึก ฟิทช์
- ปีเตอร์ ซาร์สการ์ด รับบทเป็น สิบโท อลัน ทรอย
- เจมี ฟ็อกซ์ รับบทเป็น จ่าสิบตรี ไซค์ส
- ลูคัส แบล็ค รับบทเป็น สิบตรี คริส ครูเกอร์
- ไบรอัน เจอรักตี้ รับบทเป็น สิบตรี เฟอร์กัส โอ'ดอนเนลล์
- เจคอบ วาร์กัส รับบทเป็น สิบตรี ฮวน คอร์เตซ
- ลาซ อาลอนโซ่ รับบทเป็น สิบตรี รามอน เอสโกบาร์
- จอคโกะ ซิมส์ รับบทเป็น จูเลียส
- อีวาน โจนส์ รับบทเป็น สิบตรี เดฟ ฟาวเลอร์
- คริส คูเปอร์ รับบทเป็น พันโท คาซินสกี้
- เดนนิส เฮย์สเบิร์ท รับบทเป็น พันตรี ลินคอล์น
- จอห์น คราซินสกี รับบทเป็น สิบโท แฮร์ริแกน
- เจมี มาร์ตซ์ รับบทเป็น ฟอสเตอร์
- รินี เบลล์ รับบทเป็น น้องสาวของสวอฟฟ์
- บริแอนน์ เดวิส รับบทเป็น คริสตินา
ลีโอนาร์โด ดิแคพรีโอ และ โทบีย์ แมไกวร์ เคยได้รับการพิจารณาให้มารับบทของแอนโทนี่ สวอฟฟอร์ด[3]
กระแสตอบรับ
[แก้]สำหรับ รอตเทนโทเมโทส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้คะแนน 61% จากผู้วิจารณ์ 201 ราย โดยมีเรตติ้งเฉลี่ย 6.40/10 โดยข้อสรุปของเว็บไซต์ระบุว่า "เรื่องราวมุมมองบุคลคที่หนึ่งของสงครามอ่าวนี้ ได้คะแนนในด้านของการแสดงและการถ่ายทำภาพยนตร์ แต่ขาดแรงผลักดันร่วมทางอารมณ์"[4] ในขณะที่ โรเจอร์ อีเบิร์ต ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้สามดาวครึ่งจากสี่ดาว โดยให้เครดิตในส่วนของการถ่ายทอดภาพของนาวิกโยธินในสงครามอ่าวที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวในส่วนของการต่อสู้กับความเบื่อหน่ายและความโดดเดี่ยว มากกว่าการต่อสู้กับศัตรูในสงคราม[5] ส่วนเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ B+ และ โอเวน เกลเบอร์แมน ได้เขียนว่า
พลระห่ำสงครามนรก ไม่ได้เป็นภาพยนตร์การเมืองอย่างโจ่งแจ้ง แต่เป็นด้วยการปลุกเร้าความไร้ประโยชน์ที่เกือบจะเหนือความเป็นจริงของผู้ชายที่มีความปรารถนาในชัยชนะผ่านการปฏิบัติ แต่ถูกกลบบังด้วยยุทธวิธี ภูมิประเทศ และศีลธรรมของสงครามของสงครามที่พวกเขาต้องเผชิญ ซึ่งมันสร้างเสียงสะท้อนที่ทรงพลังและยังเป็นอยู่ในทุกวันนี้[6]
สำหรับบทวิจารณ์ของสตีเฟน ฮันเตอร์ ใน เดอะวอชิงตันโพสต์ ยกย่องการแสดงของเจค จิลเลินฮาล ที่ไม่ได้โชวออฟมากไปต่อหน้ากล้อง และไม่ได้รู้สึกอิจฉาเวลาคนอื่นได้อยู่หน้ากล้องแทนเขา เขาพอใจในบทบาทที่เป็นและทำหน้าที่เป็นเหมือนปริซึมที่คอยสะท้อนภาพของชายหนุ่มคนอื่น ๆ ที่คอยเฝ้ามองสิ่งเหล่านั้น[7] เลสลี เฟลเพริน จาก นิตยสาร Sight and Sound เขียนว่า ถ้าไม่มีอะไรอย่างอื่น พลระห่ำสงครามนรกก็เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเกี่ยวกับสงครามที่เรายังไม่เข้าใจถึงผลที่ตามมา สงครามที่ตอนนี้กลายเป็นประวัติศาสตร์ด้วยภาคต่อหลังจากนั้นที่ยังคงโหมกระหน่ำไฟสงครามนั้นอยู่[8] ยูเอสเอทูเดย์ ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้สามดาวจากสี่ดาวและเขียนว่า สิ่งที่เราเหลือไว้ที่นั่นนั้นแข็งแกร่ง แต่ไม่ได้มีอะไรพิเศษมากนัก แม้ว่าจะเป็นเรื่องดีที่เมนเดสได้เติบโตขึ้นในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์[9] ริชาร์ด ชิกเกล ใน ไทม์ เขียนว่า แต่ภาพยนตร์ที่ดีที่สุด—และเรื่องนี้ แม้ว่าเรื่องราวมันจะเกิดขึ้นอย่างยาวนานและซ้ำซากในหมู่ของพวกเขา—ให้ถือว่าชายเหล่านั้นได้ต่อสู้ (หรือในกรณีที่พร้อมที่จะต่อสู้) ไม่ใช่เพื่อเหตุผลหรืออุดมการณ์ แต่เพื่อความอยู่รอด[10]
อย่างไรก็ตาม เอ. โอ. สก็อตต์ ใน เดอะนิวยอร์กไทมส์ เขารู้สึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ เต็มไปด้วยความเข้มข้นของหนังแต่ไม่มีผลกระทบกับร่างกายผู้ดูเลย และเรียกมันว่า ภาพยนตร์รองเกี่ยวกับสงครามรอง ที่ให้ความรู้สึกขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง[11] เคนเน็ธ ทูราน ได้เขียนบทวิจารณ์ใน ลอสแอนเจลิสไทมส์ ว่า
มันคือพื้นผิวที่ขัดเงาและสไตล์ระดับมืออาชีพของมัน ยังไม่สามารถแข่งได้กับความเป็นจริงที่กล้าหาญที่ถ่ายทอดผ่านสารคดี เช่น Gunner Palace และ Occupation: Dreamland — หรือที่ดีกว่านั้น ในภาพยนตร์ตลกร้ายแนวเหนือจริงของ เดวิด โอ. รัสเซล เรื่อง ฉกขุมทรัพย์มหาภัยขุมทอง — ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเป็นทหารในอิรักเป็นอย่างไร[12]
ข้อถกเถียง
[แก้]บทความของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เดวิด คารร์ นักเขียนและทหารผ่านศึกได้ตั้งข้อสังเกตว่าบางส่วนของโครงเรื่องภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำมาจากหนังสือของเขาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ที่ชื่อว่า Baghdad Express: A Gulf War Memoir โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเขา ในขณะที่ผู้เขียนบทภาพยนตร์ วิลเลียม บรอยส์เลส จูเนียร์ ได้ออกมาโต้ตอบข้อกล่าวหานั้นว่าเรื่องเล่านั้นอาจจะมีความกล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากประสบการณ์ร่วมกันของการประจำการเป็นนาวิกโยธินเหมือนกัน[13]
รางวัลที่เข้าชิง
[แก้]ปี พ.ศ. | รางวัล | สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|---|
2558 | 10th Satellite Awards | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม - ดรามา | เจค จิลเลินฮาล | เสนอชื่อเข้าชิง |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – ดราม่า | ปีเตอร์ ซาร์สการ์ด | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – ดัดแปลง | วิลเลียม บรอยส์เลส จูเนียร์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | วอลเตอร์ เมิร์ช | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Washington D.C. Area Film Critics Association Awards 2005 | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ปีเตอร์ ซาร์สการ์ด | เสนอชื่อเข้าชิง |
ภาคต่อ
[แก้]ภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วยภาคต่อแบบหนังแผ่น จำนวน 3 ภาคได้แก่ จาร์เฮด พลระห่ำสงครามนรก 2 (Field of Fire) (พ.ศ. 2557), จาร์เฮด พลระห่ำสงครามนรก 3 (The Siege) (พ.ศ. 2559) และ จาร์เฮด: Law of Return (พ.ศ. 2562) โดยทั้งสามภาคนั้นแตกต่างจากภาคแรกโดยสิ้นเชิง และเนื้อเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับต้นฉบับแต่อย่างใด[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Jarhead (2005)". Box Office Mojo. IMDb. Retrieved 2020-09-29.
- ↑ "Jarhead - มีอะไรในหัว "ไอ้เณร"". ประชาไท.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Jarhead". EW.com.
- ↑ "Jarhead". Rotten Tomatoes. Fandango. สืบค้นเมื่อ July 24, 2021.
- ↑ Ebert, Roger (2005-11-04). "Jarhead :: rogerebert.com :: Reviews". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ Gleiberman, Owen (2005-11-02). "'Jarhead' Review". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ Hunter, Stephen (2005-11-04). "'Jarhead': A Platoon Full of Sand And Grit". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ Felperin, Leslie (January 2006). "The Longest Days". Sight and Sound. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ Clark, Mike (2005-11-04). "A few good men give 'Jarhead' a solid feel". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ Schickel, Richard (2005-11-02). "In the Eye of Desert Storm". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2005. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ Scott, A.O. (2005-11-04). "Soldiers in the Desert, Antsy and Apolitical". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
- ↑ Turan, Kenneth (2005-11-04). "Jarhead". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29. [ลิงก์เสีย]
- ↑ Carr, David (2005-11-09). "Jarhead: Whose Stories Are They?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
- ↑ "A Look at the Jarhead Series (2005-2019)". The Action Elite (ภาษาอังกฤษ). 12 November 2019. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่October 2010
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2548
- ภาพยนตร์ชีวิตชีวประวัติ พ.ศ. 2548
- ภาพยนตร์ชีวิตสงครามที่ออกฉายในคริสต์ทศวรรษ 2000
- ภาพยนตร์ชีวิตสงครามอเมริกัน
- ภาพยนตร์ชีวิตชีวประวัติอเมริกัน
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับพลซุ่มยิง
- ภาพยนตร์ที่สร้างจากหนังสือสารคดี
- ภาพยนตร์ที่อำนวยการสร้างโดย ดักลาส วิค
- ภาพยนตร์ที่อำนวยการสร้างโดย ลูซี่ ฟิชเชอร์
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย แซม เมนเดส
- ดนตรีประกอบภาพยนตร์โดย โธมัส นิวแมน
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในปี พ.ศ. 2532
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในปี พ.ศ. 2533
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในปี พ.ศ. 2534
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในประเทศคูเวต
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในสหรัฐ
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในรัฐนิวเม็กซิโก
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในรัฐแคลิฟอร์เนีย
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศเม็กซิโก
- ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามอ่าว
- ภาพยนตร์เกี่ยวกับเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ
- ภาพยนตร์โดยยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์
- ภาพยนตร์สงครามที่สร้างจากเหตุการณ์จริง
- จาร์เฮด (ซีรีส์ภาพยนตร์)
- ภาพยนตร์ชีวิตในปี พ.ศ. 2548
- ภาพยนตร์ที่มีฉากในโรงภาพยนตร์
- ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 2000
- ภาพยนตร์อเมริกันในคริสต์ทศวรรษ 2000
- ภาพยนตร์ดรามาสงครามภาษาอังกฤษ