วัดบางยี่ขัน
วัดบางยี่ขัน | |
---|---|
อุโบสถวัดบางยี่ขัน | |
ชื่อสามัญ | วัดบางยี่ขัน, วัดมุธราชาราม, วัดมุขราชธาราม |
ที่ตั้ง | เลขที่ 376 ซอยอรุณอมรินทร์ 30 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดบางยี่ขัน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
วัดบางยี่ขันมีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า วัดมุธราชาราม หรือ วัดมุขราชธาราม ไม่ทราบว่าเรียกชื่อเหล่านี้มาเมื่อใด หรืออาจเป็นชื่อจริงเดิมของวัดบางยี่ขันที่เรียกกันตามประสาชาวบ้าน คาดว่าเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2172
ศิลปกรรม
[แก้]พระอุโบสถรูปทรงแบบอยุธยาแอ่นโค้งสำเภา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์อยู่ร่วมฐานชุกชีเดียวกัน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นฝีมือของช่างเขียนสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่มีการเขียนซ่อมและเขียนเพิ่มเติมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 3 แต่ยังคงขนบการเขียนภาพในลักษณะจิตรกรรมสมัยอยุธยา ฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 เชื่อกันว่าเป็นฝีมือของครูคงแป๊ะ จิตรกรเอกแห่งรัตนโกสินทร์ ฝีมือการเขียนภาพของท่านจะสอดแทรกอัตลักษณ์ความเป็นจีนอยู่เสมอ[1] ผนังเหนือช่องประตูหน้าต่างด้านหลังพระประธานเขียนเรื่องไตรภูมิ ด้านหน้าพระประธานเขียนเรื่องมารผจญ ซึ่งภาพมารผจญของวัดบางยี่ขันได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบที่สวยงามของภาพมารผจญในสมัยต้นรัตนโกสินทร์[2]
ด้านข้างพระประธานเหนือช่องหน้าต่างเขียนภาพเทพชุมนุม ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่องพุทธประวัติจากคัมภีร์ปฐมสมโพธิและเรื่องทศชาติชาดก ซึ่งมีภาพที่น่าสนใจและวาดได้อย่างประณีตปรากฏอยู่ 2 ภาพ ได้แก่ ภาพเหตุการณ์การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ซึ่งเป็นเหตุให้กษัตริย์หลายพระนครยกทัพมาทำสงครามเพื่อแย่งพระบรมสารีริกธาตุ เขียนได้ละเอียดลออมาก
ใบเสมาทำด้วยหินทรายแดงขนาดใหญ่แบบเดียวกับวัดประเสริฐสุทธาวาส[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เที่ยวงานวัดบางยี่ขัน ชมจิตรกรรมงานชั้นครูในพื้นที่บ้านสวนฝั่งธนฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2020-09-15.
- ↑ "วัดทองบางพลัด วัดบางยี่ขัน". ไทยศึกษา.
- ↑ "วัดมุธราชาราม" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 133.