พระอินทร์อภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอินทร์อภัย
เกิดราว พ.ศ. 2320
เสียชีวิตพ.ศ. 2358
สาเหตุเสียชีวิตถูกประหาร
อาชีพแพทย์
บุพการีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์

พระอินทร์อภัย (หรือ อินทรอไภย)[1] มีชื่อตัวว่า ไพ มีฐานันดรศักดิ์เดิมว่า เจ้าฟ้าทัศไภย (หรือ ทัศไพ)[1] เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หลังการผลัดแผ่นดินก็ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ แต่ด้วยมีความสามารถด้านการแพทย์ จึงเข้ารับราชการในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นตำแหน่งเจ้าราชนิกูลที่ พระอินทร์อภัย และเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4

พระอินทร์อภัยถูกประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2358 เพราะลอบเป็นชู้กับบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[2]

ประวัติ[แก้]

พระอินทร์อภัย มีฐานันดรศักดิ์เดิมว่า เจ้าฟ้าทัศไภย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประสูติแต่กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หรือเจ้าหญิงฉิม[1] ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาสี่คน ได้แก่ เจ้าฟ้าทัศพงษ์ เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมาร และเจ้าฟ้าปัญจปาปี[3]

หลังการผลัดแผ่นดิน เจ้าฟ้าทัศพงศ์และเจ้าฟ้าทัศไภยมีความรู้ทางการแพทย์ ได้รับราชการในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นเจ้าราชนิกุล ที่ พระพงษ์นรินทร์ และ พระอินทร์อภัย ตามลำดับ[2] มีตำแหน่งเข้าเฝ้าต่อจากเสนาบดี และสามารถเข้าออกในเขตพระราชฐานได้ เนื่องจากเป็นแพทย์

ด้วยความที่พระอินทร์อภัยเป็นแพทย์ในราชสำนักจึงสามารถเข้านอกออกในเขตพระราชฐานฝ่ายในได้โดยสะดวก พระอินทร์อภัยลอบเป็นชู้กับบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ เจ้าจอมอ่อน เจ้าจอมอิ่ม เจ้าจอมไม้เทด ทนายเรือกนายหนึ่ง และโขลนคนหนึ่ง เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทำการไต่สวนจนได้ความเป็นสัตย์ ทรงโปรดเกล้าให้ประหารชีวิตพระอินทร์อภัยและเจ้าจอมเมื่อปีวอก พ.ศ. 2358[4][5]

ทายาท[แก้]

พระอินทร์อภัยมีบุตร-ธิดา ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี, หน้า 81
  2. 2.0 2.1 เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9687-35-3
  3. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  4. หญิงร้าย, หน้า 158
  5. "ทำไมเจ้าจอมมารดาน้อย หม่อมเชื้อสายพระเจ้าตากห้าวจนร.4ทรงเกือบสั่งยิง-ตัดหัวตามพ่อ". ศิลปวัฒนธรรม. 29 ตุลาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระพระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552. 576 หน้า. ISBN 978-611-7146-02-2
  • วรธิภา สัตยานุศักดิ์กุล. หญิงร้าย. กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป, 2562. 256 หน้า. ISBN 978-616-301-670-6