พระราชบัญญัติการปกครองอินเดีย ค.ศ. 1858
หน้าตา
ชื่อเต็ม | An Act for the better Government of India |
---|---|
อ้างอิง | สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย |
วาระ | |
ได้รับพระบรมราชานุญาต | 2 สิงหาคม ค.ศ. 1858 |
เริ่มใช้เมื่อ | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1858 |
พระราชบัญญัติการปกครองอินเดีย ค.ศ. 1858 (อังกฤษ: Government of India Act 1858) เป็นกฎหมายที่รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรตราขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1858 รัฐบาลของไวเคานต์พาเมอร์สตันเสนอกฎหมายนี้ขึ้นหลังเกิดกบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 กฎหมายฉบับนี้ถ่ายโอนอำนาจการปกครองอนุทวีปอินเดียจากบริษัทอินเดียตะวันออกมาขึ้นกับราชสำนักอังกฤษโดยตรง[2] ทำให้พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงสามารถแต่งตั้งสมาชิกรัฐบาลอินเดียและแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการไปปกครองอินเดีย
กฎหมายฉบับนี้ทำให้การปกครองของบริษัทในอินเดียสิ้นสุดลง และเป็นจุดเริ่มต้นบริติชราช โดยมีใจความสำคัญดังนี้
- พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรจะทรงปกครองอินเดียผ่านทางรัฐมนตรีว่าการอินเดีย
- ตั้งกระทรวงว่าการอินเดียขึ้น มีรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ
- ตั้งสภาอินเดียขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับอินเดียจำนวน 15 นาย ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรี
- ยกฐานะ "ผู้สำเร็จราชการอินเดีย" ขึ้นเป็น "อุปราชแห่งอินเดีย" ทำหน้าที่ปกครองอินเดียในฐานะผู้แทนสมเด็จพระราชินีนาถ
- ให้อุปราชบริหารอินเดียโดยมีรัฐบาลอุปราชช่วยทั้งในด้านการบริหารและนิติบัญญัติ
- นโยบายของรัฐบาลอังกฤษในการปกครองอินเดีย
- รัฐบาลอังกฤษยอมรับข้อผูกพันระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกกับเจ้าพื้นเมืองอินเดียที่ทำกันไว้ก่อน
- รัฐบาลจะเคารพในสิทธิ ศักดิ์ศรี และเกียรติยศของเจ้าพื้นเมืองอินเดียและจะเคารพในลัทธิและประเพณีของอินเดียโบราณด้วย
- รัฐบาลอังกฤษจะไม่ขยายดินแดนในการปกครองของอังกฤษในอนุทวีปอินเดีย และไม่ล่วงล้ำดินแดนของผู้อื่น
- รัฐบาลอังกฤษจะให้ความยุติธรรม เมตตากรุณา ให้เสรีภาพทางศาสนา และจะคอยควบคุมมิให้รัฐบาลอุปราชเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
- ชาวอินเดียไม่ว่าเชื้อชาติหรือศาสนาใดจะได้รับการพิจารณาให้เข้ารับข้าราชการโดยเสรี จะได้รับความยุติธรรม หน้าที่ที่จะได้ทำขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และความซื่อสัตย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ This short title was conferred on the Act by the Short Titles Act 1896, s. 1
- ↑ Wolpert, Stanley (1989). A New History of India (3d ed.), pp. 239–40. Oxford University Press. ISBN 0-19-505637-X.