พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 24 เมษายน 2492 |
อายุ | 71 |
อุปสมบท | 16 มิถุนายน 2513 |
พรรษา | 50 |
วัด | วัดสวนแก้ว |
จังหวัด | นนทบุรี |
สังกัด | มหานิกาย |
วุฒิการศึกษา | นักธรรมชั้นเอก |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว |
![]() |
พระราชธรรมนิเทศ มีนามเดิมว่า พยอม จั่นเพชร ฉายา กลฺยาโณ เป็นพระราชาคณะ นักเทศน์ และนักสังคมสงเคราะห์ชาวนนทบุรี ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสวนแก้ว
ประวัติ[แก้]
พระราชธรรมนิเทศ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี บรรพชาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 และอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ณ วัดสังวรพิมลไพบูลย์ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ. 2516 และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี
ทั้งนี้ ท่านอาจารย์พยอม กัลยาโณ เป็นศิษย์คนสำคัญท่านหนึ่งของท่านพุทธทาสด้วยเช่นกัน[1]
การยกย่อง[แก้]
พระพยอมได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ดังกวีนิพนธ์ โดย อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์[ต้องการอ้างอิง]
พระผู้สร้างผู้ทำนำคนทุกข์ | ให้รู้ทางสร้างสุขพึ่งตนได้ | |
เอาเหงื่อต่างน้ำมนต์พ้นพิษภัย | เอาชนะทุกข์ได้ด้วยการงาน |
เป็นที่พระพิศาลธรรมพาที | เป็นพระดีที่รักของชาวบ้าน | |
ไม่ออกนอกแก่นธรรมนอกตำนาน | ท่านอาจารย์พระพยอม กัลยาโณ |
วัดสวนแก้ว และมูลนิธิสวนแก้ว,องค์กรสาธารณประโยชน์[แก้]
วัดสวนแก้ว ตั้งอยู่ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แต่เดิมวัดนี้ชื่อ "วัดแก้ว" เป็นวัดร้างมา 80 ปี จนกระทั่งหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และพระภิกษุอีก 3-4 รูป ได้เข้ามาพำนักแต่พื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยสวนต่างๆ หลวงพ่อไม่สามารถจะบูรณะได้ เพราะขาดบุคลากร ที่จะช่วย พัฒนา เมื่อปี พ.ศ. 2521 พระพยอม กัลยาโณ และเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูปได้เดินทางมาจากสวนโมกขพลาราม เพื่อขอทำโครงการบวชเณร ภาคฤดูร้อนที่วัดแห่งนี้ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2522 หลวงพ่อได้มอบหมายให้พระพยอมและเพื่อนพระภิกษุเป็นผู้ดูแลรักษาวัด เนื่องด้วยหลวงพ่อเทียนนั้นดำริจะเดินทางกลับจังหวัดเลย
ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดสวนแก้ว และได้จัดตั้งมูลนิธิสวนแก้ว ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ
- เพื่อเผยแผ่ศีลธรรมในศาสนา
- เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจแก่ผู้กระทำความดี
- เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนดีมีสัมมาชีพ
ในปี พ.ศ. 2548 “มูลนิธิสวนแก้ว” ได้ถูกรับรองเป็น “องค์กรสาธารณประโยชน์” (ทะเบียนเลขที่ 0163) ตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2548 ภายใต้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 6 ประการ คือ
- เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- เพื่อส่งเสริมศีลธรรม จรรยาอันดี
- เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย
- เพื่อร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
- ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด
- จัดการศึกษาและส่งเสริมการศึกษา
วัดนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก ตลอดทางเดินเข้าสู่ตัววัดมีไม้ใหญ่เขียวครึ้ม ติดป้ายคำขวัญเป็นข้อความเตือนสติพร้อมทั้งยังมีภาพวาดที่สวยงามอยู่ภายในวัด ด้านหน้าวัดมีร้านขายของที่ระลึก และร้านค้าเล็กๆมากมาย เมื่อเดินเข้าไปด้านในวัด จะพบลานโค้งและพระอุโบสถธรรมชาติ ซึ่งแต่ละวัน จะมีพุทธศาสนิกชนมาฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก
สมณศักดิ์[แก้]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระพิศาลธรรมพาที[2]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมนิเทศ พิเศษกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ โสมชยา ธนังกุล. มรดกธรรมจากท่านพุทธทาส. แสตมป์ & สิ่งสะสม. ปีที่ 1 (+42) ฉบับที่ 3. พฤษภาคม 2555. ISSN 2229-2780. หน้า 48
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 112 (ตอนพิเศษ 47 ง): หน้า 9. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2538. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 (ตอนที่ 17 ข): หน้า 8. 15 กันยายน พ.ศ. 2547. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)