พระยาพลเทพฦๅไชย
หน้าตา
พระยาพลเทพฦๅไชย | |
---|---|
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 38 (ภายใต้การปกครองของล้านนา) | |
ราชาภิเษก | ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2070 |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2070 - พ.ศ. 2101 |
รัชกาล | 31 ปี |
ก่อนหน้า | พระเจ้าคำยอดฟ้า |
ถัดไป | พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม |
ประสูติ | ณ เมืองเชียงใหม่ |
พิราลัย | ณ เมืองล้านช้าง |
เจ้าพระยาพลเทพฦๅไชย[1] ทรงเป็น เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 38 (และองค์สุดท้ายที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา) ปกครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2070 - พ.ศ. 2101 รวมระยะเวลา 31 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2101 พระมหากษัตริย์พม่า ได้นำกองทัพมาตีเมืองน่าน พระยาพลเทพฦๅไชย ผู้ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านในขณะนั้นได้นำกำลังพลเมืองน่าน ออกต่อสู้กับกองทัพพม่าเป็นสามารถแล้วก็หาต้านทานกองทัพพม่าได้ไม่ พระองค์จึงนำครอบครัวและชาวเมืองน่านบางส่วนหนีไปพึ่งเจ้าเมืองล้านช้าง จึงถือเป็นการสิ้นสุดอำนาจการปกครองของอาณาจักรล้านนา ในแผ่นดินเมืองน่าน
กรณียกิจ
[แก้]- ศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งค้นพบภายในวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร กล่าวว่า พระยาพลเทพฤๅชัย เจ้าเมืองน่าน ได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2091[2] ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร นี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย เช่น เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ "ค้ำ" องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย และภายในวิหารประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย สูง 145 เซนติเมตร อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย ส่วนผสมของทองคำ 65 % พระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 132
- ↑ "ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดน่าน สถานที่ท่องเที่ยว อ.เมือง : อ.ภูเพียง : จ.น่าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-30. สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.
ก่อนหน้า | พระยาพลเทพฦๅไชย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าพระยาแสนสงคราม | เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 38 (พ.ศ. 2070 - พ.ศ. 2101) |
พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม |