ข้ามไปเนื้อหา

พระครูวรเวทมุนี (อี๋ พุทฺธสโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูวรเวทมุนี

(อี๋ พุทฺธสโร)
ลพ.อี๋ วัดสัตหีบ
ลพ.อี๋ วัดสัตหีบ
ชื่ออื่นหลวงพ่ออี๋
ส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2408 (80 ปี)
มรณภาพ20 กันยายน พ.ศ. 2489
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสัตหีบ ชลบุรี
อุปสมบทพ.ศ. 2433
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดสัตหีบ
อดีตเจ้าคณะตำบลสัตหีบ
และอดีตเจ้าคณะแขวงกิ่งอำเภอสัตหีบ

พระครูวรเวทมุนี หรือ หลวงพ่ออี๋ ฉายา พุทฺธสโร เป็นพระเกจิอาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ประวัติ

[แก้]

พระครูวรเวทมุนี มีนามเดิมว่า อี๋ ทองขำ เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2408 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของนายขำ และนางเอียง ทองขำ ที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

อุปสมบท

[แก้]

เมื่ออายุได้ 25 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดอ่างศิลานอก (ซึ่งปัจจุบันได้ยุบรวมเป็นวัดอ่างศิลาเดียววัดเดียว) โดยมีพระอุปัชฌาย์คือพระอธิการจั่น จนฺทสโร วัดเสม็ด พระอาจารย์ทิมเป็นพระกรรมวาจารจารย์ และพระอาจารย์แดงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาให้ว่า พุทฺธสโร

ได้อยู่ศึกษาธรรมมะและเวทมนตร์ต่าง ๆ กับพระอาจารย์แดงถึง 6 พรรษา กอ่นไปฝากตัวเป็นศิษย์พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (ปาน) วัดคลองด่าน ซึ่งช่วงนั้นมีชื่อเสียงมาก และท่านยังได้ออกธุดงควัตรไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย เมื่อบังเกิดความกล้าแข็งทางจิต สัมฤทธิ์ในธรรมแล้ว จึงเดินทางกับมาสร้างวัดสัตหับขึ้น ใช้เวลาเพียง 5 ปีจึงสมบูรณ์ ท่านได้ใช้วิชาอาคมอันแก่กล้ามาสร้างและปลุกเสกเครื่องรางของขลังต่าง ๆ มาแจกกับศิษยานุศิษย์

ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยหลวงพ่ออี๋ ลงอักขระ และสืบทอดวิชาทำปลัดขิกได้แก่ อาจารย์บรรจบ (น้องชายแท้ๆ หลวงพ่ออี๋), หลวงตาจำเนียร สุขรุ่ง วัดสัตหีบ, หลวงพ่อหงุ่น วัดสัตหีบ, อาจารย์มั่น กิโล 10 นั้นคือรายนามศิษย์ที่อาศัยอยู่ภายในอารามเดียวกับหลวงพ่ออี๋

สำหรับศิษย์ที่มาขอเรียนวิชากับท่าน และออกไปทำปลัดขิกจนมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา คือ หลวงพ่อทองอยู่ จนฺทสาโร วัดบางเสร่คงคาราม จ.ชลบุรี หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อเปี่ยม วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อหันต์ วัดปากน้ำพังราช จ.ระยองและรูปสุดท้ายที่ได้วิชาในช่วงท้ายของอายุของของหลวงพ่ออี๋ คือ หลวงพ่อชม วัดโป่ง จ.ชลบุรี

งานปกครอง

[แก้]
  • พ.ศ. 2467 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสัตหีบ
  • พ.ศ. 2467 เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2484 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงกิ่งอำเภอสัตหีบ

สมณศักดิ์

[แก้]

มรณภาพ

[แก้]

หลวงพ่ออี๋มรณภาพในท่านั่งสมาธิเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2489 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สิริอายุได้ 80 ปี 354 วัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 504. 11 มีนาคม 2484. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
ก่อนหน้า พระครูวรเวทมุนี (อี๋ พุทฺธสโร) ถัดไป
เจ้าอาวาสวัดสัตหีบ
(พ.ศ. 2442 — พ.ศ. 2489)
พระครูศรีสัตตคุณ (เกษม สนตุสฺสโก)