พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง อินฺทโชติ)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง อินฺทโชติ) | |
---|---|
ชื่ออื่น | หลวงพ่อพริ้ง |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2413 (78 ปี) |
มรณภาพ | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2490 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | พ.ศ. 2407 |
อุปสมบท | พ.ศ. 2433 |
พรรษา | 56 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดบางปะกอก |
พระครูประศาสนสิกขกิจ เกิดวันอาทิตย์เมื่อ พ.ศ. 2413 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นชาวคลองสาน ฝั่งธนบุรี หรือจังหวัดธนบุรีในสมัยนั้น เป็นบุตรของนายเวียน และนางสุ่น เอี่ยมทศ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 7 ปี ที่วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร ศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานกับพระมงคลเทพมุนี (พระอาจารย์เอี่ยม) อย่างเคร่งครัด ใน พ.ศ. 2433 อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ ท่านมีวัตรปฏิบัติที่งดงาม มักออกธุดงควัตรแสวงหาวิเวกไปยังป่าเขาลำเนาไพรเสมอ จึงเป็นที่ศรัทธาเคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป ต่อมาได้มีผู้มานิมนต์ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก เกียรติคุณของท่านยิ่งได้รับความเชื่อถือมากขึ้นอีก เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทำให้บรรดาทหารเรือส่วนใหญ่เลื่อมใสมาสักการะท่านเป็นจำนวนมาก ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2479 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูประศาสน์สิกขกิจ"[1]
วัตถุมงคล
[แก้]วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกมีหลายอย่าง คือ
- พระพิมพ์สมเด็จเนื้อผง 30 พิมพ์ ลูกอม
- เหรียญเนื้อทองแดง
มรณภาพ
[แก้]หลวงพ่อพริ้งมรณภาพเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สิริอายุได้ 78 ปี พรรษา 56
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "แจ้งความ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 4001. 7 มีนาคม 2479. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ 180 พระองค์
- พระเครื่อง หลวงพ่อพริ้ง เก็บถาวร 2011-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง อินฺทโชติ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | เจ้าอาวาสวัดบางปะกอก (พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2483) |
พระมหาถาวร |