พรรคมูร์บา

พรรคมูร์บา (Murba Party; ภาษาอินโดนีเซีย: Partai Murba) เป็นพรรคการเมืองในอินโดนีเซีย คำว่ามูร์บาย่อมาจาก Musjawarah Ra'jat Banjak หมายถึง คอมมิวนิสต์แห่งชาติ[1][2] พรรคการเมืองนี้ตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้สนับสนุนตัน มะละกา ใน พ.ศ. 2491 ความเป็นมาของพรรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย ซึ่งในช่วงแรก ความสัมพันธ์ของทั้งสองพรรคเป็นไปด้วยดี แต่ต่อมาได้กลายเป็นศัตรูกัน พรรคนี้ยังคงอยู่ในยุคระเบียบใหม่ก่อนจะรวมเข้ากับพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียใน พ.ศ. 2516
การก่อตั้ง[แก้]
ใน พ.ศ. 2491 ได้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสำหรับผู้นิยมฝ่ายซ้ายในชวา ผู้สนับสนุนตัน มะละกาได้มารวมตัวกันในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 โดยส่วนที่เหลืออยู่ 3 ส่วนหลักของของขบวนการปฏิวัติประชาชนที่นำโดยตัน มะละกา ได้แก่ พรรคประชาชน พรรคคนจน และพรรคแรงงานอิสระแห่งอินโดนีเซียได้ประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่คือพรรคมูร์บา การรวมพรรคเสร็จสิ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ในช่วงแรกของการก่อตั้ง พรรคนี้มีสมาชิก 80,000 คน ขบวนการปฏิวัติประชาชนยังคงอยู่และแยกเป็นองค์กรต่างหาก
แม้ว่าตัน มะละกามีอิทธิพลต่อพรรคมาก แต่เขาไม่เคยเป็นผู้นำพรรค ในช่วงเวลาที่รวมตัวกัน หัวหน้าพรรคคือซูการ์นี เลขาธิการทั่วไปคือ ชามซู ฮาร์ยา อูดายา รองหัวหน้าพรรคคือมารูโต นีตีมีฮาร์โจ พรรคมูร์บาตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ 2 ฉบับคือมูร์บาและมัสซา[3] ต่อมามีหน่วยกองโจรที่เกี่ยวข้องกับพรรค ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการปกครองของดัทช์ในชวากลางและชวาตะวันตก[4] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2494 พรรคนี้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย แต่ไม่นานก็กลายเป็นแนวร่วมที่ไม่มีการทำงานใดๆ ในปีถัดมา ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียกับพรรคมูร์บาดีขึ้น หน่วยกองโจรของพรรคมีบทบาทมากในชวาตะวันตก[5] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 พรรคสนับสนุนให้เปิดความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต[6] ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2498 พรรคมูร์บาได้คะแนน 0.53% และได้ 2 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร[7] ส่วนในการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ พรรคได้ 0.66% และได้ 4 ที่นั่ง[8]
ประชาธิปไตยแบบชี้นำ[แก้]
เมื่อประธานาธิบดีซูการ์โนนำประชาธิปไตยแบบชี้นำมาใช้ใน พ.ศ. 2500 พรรคมูร์บาเป็นพรรคแรกที่ประกาศสนับสนุน[9]และเป็น 1 ใน 10 พรรคที่ถูกกฎหมายในช่วงดังกล่าว พรรคมูร์บาได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากซูการ์โนและมีส่วนทำให้เขาต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย ระหว่างเหตุการณ์กบฏของรัฐบาลปฏิวัติแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียใน พ.ศ. 2501 นายทหารของพรรคมูร์บาถูกจับกุมโดยกลุ่มกบฏ และเขายึดค่ายของพรรคในสุมาตราตะวันตก[10]
ในเหตุการณ์วิกฤติจรวดคิวบาใน พ.ศ. 2505 พรรคมูร์บาออกแถลงการณ์สนับสนุนคิวบา[11] ในเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต พรรคมูร์บาสนับสนุนสหภาพโซเวียต ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียสนับสนุนจีน
ความขัดแย้งกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย[แก้]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2507 พรรคมูร์บาเสนอให้ใช้ระบบพรรคการเมืองเดียวในอินโดนีเซียและมีแผนจะกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย พรรคแห่งชาติอินโดนีเซีย และพรรคนะห์ดาตุล อูลามาปฏิเสธข้อเสนอนี้ และซูการ์โนก็ไม่เห็นด้วย หลังจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียได้ออกมาโจมตีพรรคมูร์บาหนักขึ้น
การสลายตัว[แก้]
ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2508 รัฐบาลประกาศคว่ำบาตรกิจกรรมทางการเมืองของพรรคมูร์บา ผู้นำพรรคถูกจับกุม ในเวลาเดียวกัน พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียโจมตีพรรคมูร์บาหนักขึ้น หนังสือมพิมพ์ที่สนับสนุนพรรคมูร์บาถูกปิด
ภายใต้ยุคระเบียบใหม่[แก้]
หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2508 – 2509 พรรคมูร์บายังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแต่มีอิทธิพลน้อยลง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2509 อาดัม มาลิกได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของซูฮาร์โต[12]
ในสมัยซูฮาร์โต พรรคการเมืองที่เหลือจากระบอบเก่าถูกกดดันให้รวมตัวกันเหลือเพียง 2 พรรค พรรคหนึ่งเป็นพรรคอิสลาม อีกพรรคเป็นพรรคฆราวาส พรรคมูร์บาเข้าร่วมกับพรรคฆราวาส และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 ได้จัดตั้งกลุ่มพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วยพรรคมูร์บา พรรคแห่งชาติอินโดนีเซีย สันนิบาตผู้สนับสนุนอินโดนีเซียเอกราช พรรคคาทอลิกและพรรคคริสเตียนอินโดนีเซีย[13]
พรรคมูร์บาเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2514 ได้คะแนนเสียงเพียง 0.1% และไม่ได้ที่นั่ง[14] ต่อมา ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2516 พรรคมูร์บาและพรรคอื่นๆในกลุ่มพัฒนาประชาธิปไตยได้รวมตัวกันกลายเป็นพรรคประชาธิปไตยอินโดเซีย[15]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Feith, Herbert. The Wilopo Cabinet, 1952–1953: A Turning Point in Post-Revolutionary Indonesia. Ithaca, N.Y.: Modern Indonesia Project, Southeast Asia Program, Dept. of Far Eastern Studies, Cornell University, 1958. p. 52
- ↑ Crouch, Harold A. The Army and Politics in Indonesia. Politics and international relations of Southeast Asia. Ithaca, N.Y.: Cornell University Press, 1978. pp. 64–66
- ↑ Kahin, George McTurnan. Nationalism and Revolution in Indonesia. Studies on Southeast Asia, 35. Ithaca, NY: Cornell Southeast Asia Program, 2003. p. 318
- ↑ Feith, Herbert. The Wilopo Cabinet, 1952–1953: A Turning Point in Post-Revolutionary Indonesia. Ithaca, N.Y.: Modern Indonesia Project, Southeast Asia Program, Dept. of Far Eastern Studies, Cornell University, 1958. p. 20
- ↑ Feith, Herbert. The Wilopo Cabinet, 1952–1953: A Turning Point in Post-Revolutionary Indonesia. Ithaca, N.Y.: Modern Indonesia Project, Southeast Asia Program, Dept. of Far Eastern Studies, Cornell University, 1958. pp. 21, 102–103
- ↑ Feith, Herbert. The Wilopo Cabinet, 1952–1953: A Turning Point in Post-Revolutionary Indonesia. Ithaca, N.Y.: Modern Indonesia Project, Southeast Asia Program, Dept. of Far Eastern Studies, Cornell University, 1958. p. 175
- ↑ Feith, Herbert. The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia. An Equinox classic Indonesia book. Jakarta [u.a.]: Equinox, 2007. pp. 435–436
- ↑ "Sejarah Pemilu 1955 - Pusat Informasi Partai Politik Indonesia Pemilu". web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-11. สืบค้นเมื่อ 2014-09-23.
- ↑ Feith, Herbert. The Decline of Constitutional Democracy in Indonesia. An Equinox classic Indonesia book. Jakarta [u.a.]: Equinox, 2007. p. 518
- ↑ Kahin, Audrey, and George McTurnan Kahin. Subversion As Foreign Policy: The Secret Eisenhower and Dulles Debacle in Indonesia. Seattle: University of Washington Press, 1995. p. 147
- ↑ Mortimer, Rex. Indonesian Communism Under Sukarno: Ideology and Politics, 1959–1965. Jakarta: Equinox Pub, 2006. p. 200
- ↑ Crouch, Harold A. The Army and Politics in Indonesia. Politics and international relations of Southeast Asia. Ithaca, N.Y.: Cornell University Press, 1978. p. 330
- ↑ Eklöf, Stefan. Power and Political Culture in Suharto's Indonesia: The Indonesian Democratic Party (PDI) and Decline of the New Order (1986–98). Copenhagen: NIAS, 2003. p. 55
- ↑ INDONESIA, report from the International Parliamentary Union
- ↑ Fic, Victor Miroslav. From Majapahit and Sukuh to Megawati Sukarnoputri: Continuity and Change in Pluralism of Religion, Culture and Politics of Indonesia from the XV to the XXI Century. Indonesia: the origin and evolution of its pluralism from the Hindu-Buddhist era, through the Islamic period to a modern secular state / Victor M. Fic, Vol. 2. New Delhi: Abhinav Publ, 2003. p. 174