พรทิพย์ จาละ
คุณหญิง พรทิพย์ จาละ ม.ป.ช., ม.ว.ม., จ.จ. | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2492 |
ศาสนา | พุทธ |
คุณหญิงพรทิพย์ จาละ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[1] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นอดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึงปี พ.ศ. 2553 และเป็นคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)[2]
ประวัติ[แก้]
คุณหญิงพรทิพย์ จาละ เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2492 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท ทางด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
คุณหญิง พรทิพย์ จาละ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้น จตุตถจุลจอมเกล้า แต่เดิมนั้น โดยที่มิได้สมรสจึงใช้คำนำหน้านามว่า "คุณ" แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สตรีผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าตั้งแต่ชั้น จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) จนถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า ใช้คำนำหน้านามว่า "คุณหญิง" ทั้งหมด โดยมิต้องคำนึงว่าสมรสแล้วหรือไม่ ดังนั้น จึงเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก คุณพรทิพย์ เป็น คุณหญิงพรทิพย์ จาละ
การทำงาน[แก้]
คุณหญิงพรทิพย์ จาละ ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นักบริหาร 11) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2547[3] ในรัฐบาลของนาย ทักษิณ ชินวัตร
ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้แต่งตั้งคุณหญิงพรทิพย์ จาละ เป็นคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[4] ต่อมาในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคุณหญิงพรทิพย์ จาละ เป็นคณะกรรมการในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ต่อมาภายหลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้แต่งตั้งคุณหญิงพรทิพย์ จาละ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ได้รับแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 4 จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)[7]
- พ.ศ. 2541 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการข้าราชการพลเรือน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นางสาวพรทิพย์ จาละ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี ระดับ 11)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (คุณพรทิพย์ จาละ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๑๙, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสมุทรสาคร
- คุณหญิง
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.จ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการกฤษฎีกาไทย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน