ผ้าพัชมีนา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ผ้าพัชมีนา (อังกฤษ: Pashmina) เป็นผ้าที่ทำจากขนแพะซึ่งมีชื่อว่า "พัชม์" (Pashm) หรือในภาษาลาตินเรียกว่า "คาปรา ไฮร์คัส" (Capra Hircus) แพะชนิดนี้อาศัยอยู่ในที่สูง เช่น เทือกเขาหิมาลัย และใต้เขตไซบีเรีย เช่น มองโกเลีย คาซัคสถาน ด้านในของประเทศอิหร่าน และอัฟกานิสถาน
ด้ายที่ใช้ทอผ้าพัชมีนาเป็นด้ายที่ปั่นด้วยมือโดยใช้วิธีแบบดั้งเดิมที่ไม่ใช่วิธีที่ตามพัฒนามาจากวิธีแบบยุโรป ปัจจุบันนี้ผ้าพัชมีนาถูกใช้เป็นคำเรียกสำหรับผ้าคลุมไหล่ทั่วไปที่มีปมอยู่ที่ปลายผ้า
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าต้นกำเนิดของผ้าพัชมีนานั้นมาจากแคว้นแคชเมียร์หรือเนปาล ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพียงแต่ถิ่นนั้นมีวิธีการทอผ้าแบบดั้งเดิมที่เหมือนกัน ผ้าที่ได้จึงมีลักษณะคล้ายกันกับผ้าพัชมีนา
ส่วนการนำขนของแพะมาทอเป็นผ้านั้นก็ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะแพะดังกล่าวไม่ใช่สัตว์ใกล้สูญพันธุ์แต่อย่างใด ผ้าพัชมีนาที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีหลายรูปแบบ อาจมีการผสมเนื้อผ้าชนิดอื่นเข้าไปด้วย เช่นผ้าไหม หรือผ้าฝ้าย หรือ ผ้าชนิดอื่น ๆ ซึ่งถ้าต้องการซื้อควรเลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือได้ มิฉะนั้นอาจเป็นของปลอม