ผู้ใช้:Taetanai/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติ[แก้]

เตียบ สุจริตกุล เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2466 ณ วังมฤคทายวัน เมื่อครั้งที่พระยาอุดมราชภักดีตามเสด็จฯในหลวงรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ประทับ ณ วังมฤคทายวัน ตำบลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรชายคนโตของพระยาอุดมราชภักดี (โถ สุริตกุล) และ คุณหญิงเชิด อุดมราชภักดี (เชิด ไกรฤกษ์)

มีพี่น้องรวมกันทั้งสิ้น 7 คน คือ

  1. นายเตียบ สุจริตกุล (ถึงแก่กรรม)
  2. พลโทภิงการ สุจริตกุล (ถึงแก่กรรม)
  3. นายเจียด สุจริตกุล
  4. ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์
  5. ท่านผู้หญิงกรัณฑ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ถึงแก่กรรม)
  6. ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน
  7. คุณหญิงผะอบทิพย์ศาตะมาน

สมรส[แก้]

เตียบ สุจริตกุล สมรสครั้งแรกปี 2496 กับคุณงามเฉิด อนิรุทธเทวา (ถึงแก่กรรม) ธิดาของ พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) มีบุตรธิดา  2 คน ชื่อนายติรวัฒน์ สุจริตกุล และนางสาวงามโฉม สุจริตกุล

ต่อมาในปี 2513 สมรสครั้งที่ 2 กับคุณกุณฑล วสันตสิงห์ ธิดาของ นายเมืองเริง วสันตสิงห์ (อดีตข้าราชสำนักผู้ใหญ่) และ หม่อมหลวงปานตา มาลากุล ซึ่งเป็นน้องสาวของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล หลานอาของ ท่านผู้หญิง อรอวล อิศรางกูร ณ อยุธยา มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา มีบุตร ธิดา 2 คน คือ นางสาวมนทิรา สุจริตกุล และนายตนัย สุจริตกุล

ประวัติทางการศึกษา[แก้]

เมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเอมวิทยา ของหลวงปราบอริพ่าย อายุ 9  ขวบย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ จนอายุครบ 10 ขวบได้ย้ายไปเข้าโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในสมัยพระยาบรมบาทบำรุงเป็นผู้บังคับการ และในระหว่างนั้นเกิดสงครามและญี่ปุ่นเข้าครองเมือง เลยได้ย้ายไปเรียนที่อำนวยศิลป์ ในชั้น 6 (พิเศษ) และกรุงเทพคริสเตียน รวมเป็นเรียน ชั้น 6 (พิเศษ) 2 ปี ก่อนที่จะเข้าธรรมศาสตร์ รุ่น 3 ในภาควิชากฎหมาย เมื่อเรียนจบแล้ว ได้มีโอกาสถวายตัวฉลองพระเดชพระคุณในพิธีบรมราชาภิเษกในหลวงรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 2493 และต่อมาก็ได้เดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ทางด้าน Shipping อีก 2 ปี ที่ London School of Foreign Trade

เกียรติสูงสุด[แก้]

เมื่อเรียนจบในชั้นมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแล้ว ได้มีโอกาสถวายตัวฉลองพระเดชพระคุณในพิธีบรมราชาภิเษกในหลวงรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 2493 และต่อมาก็ได้เดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษภายหลังจากนั้น

ประวัติการทำงาน[แก้]

เข้าทำงานที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2496 จนเกษียณอายุราชการปี 2526 ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ รวมทั้งสิ้น 30 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ตติยจุลจอมเกล้า (สืบตระกูล พระยาอุดมราชภักดี) , ตริตาภรณ์มงกุฎไทย. , จตุรัถาภรณ์ ช้างเผือก

ถึงแก่กรรม[แก้]

29 พฤษภาคม 2564 อายุ 97 ปี ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า