ผู้ใช้:Supanat SFew/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติความเป็นมาของการบริการสาธารณะ[แก้]

จากหลักฐานที่ปรากฏในสมัยโบราณ คำว่า “การบริการสาธารณะ” มีที่มาจากประเทศฝรั่งเศส โดยขุนนาง (Seigneur) ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากมีความต้องการที่จะหาผลประโยชน์จากที่ดินของตนเอง จึงให้ประชาชนเข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ โดยจ่ายค่าตอบแทน ในรูปแบบต่างๆ เช่น แรงงาน ภาษี ค่าเช่า ขุนนางจะสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้เช่า เช่น กังหันลม เตา โดยขุนนางจะเป็นผู้ผูกขาดในสิ่งเหล่านี้และยังมีหน้าที่ในการดูแลรักษาสิ่งของเหล่านี้ด้วย เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 11 หลังจากขุนนางหมดอำนาจในการปกครองดูแลประชาชน ได้ทำให้อำนาจการปกครองดูแลเป็นของประชาชนดูแลกันเองและยังมีการจัดทำบริการสาธารณะ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันอีกด้วย เช่น กำแพงป้อม ถนน ตลาด เป็นต้น ต่อมาในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ได้มีการสร้างระบบไปรษณีย์ขึ้นพร้อมๆกับการสร้างถนนและรถม้า เพื่อที่จะนำสาสน์จากพระองค์ไปส่งยังส่วนต่างๆของเมือง และต่อมาในปลายศตวรรษที่ 15 ก็มีการจัดให้มีตำรวจขึ้น เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยของสังคม หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1789 คำว่า “บริการสาธารณะ” นำมาใช้แทนคำว่า “งาน” ในตอนต้นบริการสาธารณะ หมายถึง “กิจกรรมของฝ่ายปกครองทุกประเภท” แต่ต่อมาได้เปลี่ยนความหมายใหม่ โดยหมายถึง “กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะหรือสิ่งที่รัฐจะทำให้แก่ประชาชนเป็นการตอบแทนการเสียภาษีอากรของประชาชน”ส่วนการบริการสาธารณะในประเทศนั้นมีมาเป็นเวลานานแล้ว แต่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ทรงปฎิรูประบบราชการใหม่ มีการจัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม ในระยะแรกการจัดทำบริการสาธารณะในไทยมีลักษณะที่ผูกขาดจากส่วนราชการ แต่หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแล้ว คณะราษฎร์ได้เป็นผู้ควบคุมบริการสาธารณะทั้งหมด โดยมีการสร้างรัฐวิสาหกิจและบริษัทกึ่งราชการขึ้น เช่น บริษัทข้าวไทย บริษัทไทยเดินเรือทะเล เป็นต้น จนกระทั่งในรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม ได้มีการให้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้จัดทำบริการสาธารณะ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบราชการ หลังจากนั้นก็เริ่มมีเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ แต่ก็ยังถูกควบคุมโดยระบบราชการเช่นเดิม[1]

ความหมาย[แก้]

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คำว่า "บริการสาธารณะ" หมายความว่า "กิจการอันจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวมที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นเพื่อบริการแก่ประชาชน เช่น กิจการสาธารณูปโภค กิจการขนส่งคนโดยสาร" ได้มีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ให้ความชัดเจนของความหมาย คำว่า "บริการสาธารณะ" เช่น

  • ดร.ประยูร กาญจนดุล ได้ให้ความหมายไว้ว่า “บริการสาธารณะ หมายถึง กิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน”[2]
  • กังวาน ทองเนตร นักวิชาการอีกท่านได้ให้ความหมายไว้ว่า “เป็นการตอบสนองความต้องการทางสังคมและปัจเจกชนที่เป็นสมาชิกของสังคมในอันที่จะได้รับบริการจากรัฐในเรื่องที่เอกชนหรือรัฐวิสาหกิจไม่อาจตอบสนองได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีบริการสาธารณะในด้านการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ”[3]

กล่าวโดยสรุปแล้วการบริการสาธารณะ หมายถึง บริการหรือกิจกรรมที่รัฐจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนรวม[2]

หลักเกณฑ์ในการจัดทำบริการสาธารณะ[แก้]

  1. บริการสาธารณะต้องดำเนินการไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  2. บริการสาธารณะต้องได้รับประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน
  3. บริการสาธารณะจะต้องปรับได้ตามความเหมาะสมกับความต้องการของประชนตลอดเวลา[1]

องค์ประกอบการบริการสาธารณะ[แก้]

  1. ประการแรกเป็นกิจการที่อยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง คือ ต้องเป็นกิจการที่รัฐจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน โดยเป็นกิจการที่อยู่ภายในการอำนวยการของรัฐ
  2. ประการที่สองต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณประโยชน์ การบริการสาธารณะที่รัฐจัดทำขึ้นต้องมีลักษณะที่สนองความต้องการของประชาชนทั้งการมีชีวิตอยู่อย่างสบายและใช้ชีวิตในสัคมอย่างปลอดภัย[2]

รูปแบบองค์กรที่จัดทำบริการสาธารณะ[แก้]

องค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ มี 5 รูปแบบ ดังนี้

การจัดบริการสาธารณะในรูปแบบราชการ[แก้]

คือ การจัดบริการสาธารณะที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยแบ่งได้ 3 ส่วน คือ

  • ราชการส่วนกลาง หมายถึง กระทรวง กรม เป็นผู้จัดบริการสาธารณะโดยส่วนใหญ่เป็นกิจการเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนทั้งประเทศ เช่น ความมั่นคง การศึกษา สาธารณสุข การคลัง
  • ราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวง กรมต่างๆ ที่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง แบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ
  • ราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง การจัดบริการสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น เช่น ถนน สวัสดิการชุมชน แหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยจะมีองค์กรที่ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล พัทยา กรุงเทพมหานคร[2]

การจัดบริการสาธารณะในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ[แก้]

เป็นองค์กรในรูปแบบใหม่ที่เข้าเพื่อรองรับการจัดการสาธารณะกึ่งอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม โดยรัฐวิสาหกิจก่อตั้งโดยภาครัฐ มีอิสระทางการดำเนินงานแต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของรัฐ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นต้น[2]

การจัดบริการสาธารณะในรูปแบบองค์การมหาชน[แก้]

องค์การมหาชนจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับภารกิจด้านสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม โดยก่อตั้งครั้งแรกตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระค่อนข้างมากในการจัดบริการ โดยได้รับงบประมาณจากรัฐในการดำเนินงานและมีอำนาจในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทนเองได้ แต่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ เช่น สำนักงานสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป็นต้น[2]

การจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ[แก้]

หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU) เป็นหน่วยงานในทางบริหารภายในของระบบราชการที่มุ่นเน้นในด้านประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ไม่เป็นนิติบุคคลและยังอยู่ภายใต้การควบคุมของปลัดกระทรวงหรืออธิบดีกรม เช่น สถาบันส่งเสริมการบริหารงานภายใน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[2]

การจัดบริการสาธารณะโดยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการแทน[แก้]

การที่ให้เอกชนเป็นผู้จัดบริการแทนรัฐนั้น เนื่องจากว่า บริการบางประเภทเอกชนสามารถทำได้ดีกว่าหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าองค์กรภาครัฐ และการบริการบางประเภทต้องใช้ต้นทุนสูงและเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งต้องใช้ความชำนาญจากภาคเอกชน แต่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของภาครัฐ เช่น การทำสัญญาจ้างบริการ การจ้างภาคเอกชนบริหาร เป็นต้น[2]

ปัญหาการบริการสาธารณะ[แก้]

ปัญหาด้านการจัดองค์กรของรัฐ[แก้]

ปัญหาการบริการสาธารณะเป็นปัญหาด้านสังคม ในการแก้ไชปัญหานั้นก็ต้องอาศัหน่วยงานหรือองค์กรหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแก้ไข แต่องค์กรในแต่ละองค์กรมีหน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างกันออกไปตามเป้าหมายของแต่ละองค์กร เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ย่อมขาดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน อีกทั้งยังมีการแข่งขันกันเองระหว่างหน่วยการภาครัฐ ทั้งในเรื่องนโยบายและงบประมาณ ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนอย่างครอบคลุม เนื่องจากรัฐไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชน[4]

ปัญหาด้านระบบการบริหารและการเมือง[แก้]

ในการบริหารแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้การกำหนดแนวทางและนโยบายการปฏิบัติงานมีลักษณะจากบนลงล่าง คือเป็นการบริหารแบบรัฐสู่ประชาชน ทำให้ขาดช่องทางในการที่ประชาชนจะเสนอความต้องการของตนมายังภาครัฐ และรัฐเองก็ไมได้เข้าถึงความต้องการหรือความเข้าใตของประชาชนอย่างแท้จริง ส่งผลให้รัฐตอบสนองไม่ตรงตามที่ประชาชนต้องการและประชาชนเองก็มิได้ต้องสิ่งที่รัฐจัดหาให้ ส่วนในระบบการเมืองไทย เแ็นระบบที่ขาดแคลนกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มกดดัน ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้จะเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านความต้องการจองประชาชนไปยังภาครัฐ โดยกลุ่มที่สองที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นกลุ่มที่มิได่ทำเพื่อประชาชนแต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง[4]

ปัญหาด้านวัฒนธรรมการบริหาร[แก้]

วัฒนธรรมการบริหารของคนไทยนั้นเป็นระบบศักดินามาตั้งแต่สมัยก่อนและโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะพึ่งพาตนเอง ไม่พึ่งพาความช่วยเหลือใดๆจากรัฐ ปัจจัยทั้งสองนี้ส่งผลให้องค์กรและผู้บริหารองค์กรขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชน ทำให้รัฐมักให้ในสิ่งที่ประชาชนไม่ต้องการ เพราะรัฐไม่ได้มีความคำนึงถึงประชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ[4]

ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะ[แก้]

บริการสาธารณะด้านสวัสดิการสงเคราะห์ [5][แก้]

  • กองบังคับการตำรวจน้ำ
  • กองตำรวจทางหลวง
  • สมาคมสังคมสงเคราะห์ทางจิต
  • กรมอุตุนิยมวิทยา
  • มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ

บริการสาธารณะด้านสุขภาพและอนามัย [5][แก้]

  • กองควบคุมโรค กรมอนามัย
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
  • โรงพยาบาลกลาง
  • ศูนย์ควบคุมวัณโรคภาคเหนือ เชียงใหม่
  • องค์การเภสัชกรรม

บริการสาธารณะด้านอาชีพและอุตสาหกรรม[5][แก้]

  • ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย
  • กรมส่งเสริมอุตสากรรม
  • สำนักส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางเกษตร
  • สำนักงานจัดหางานกลาง กรมแรงงาน
  • สถาบันฝึกและพัฒนาแรงงานฝีมือ

บริการสาธารณะด้านการศึกษา[5][แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 นันทวัฒน์ บรมานันท์, หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ, สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552, ISBN 978-974-288-738-4
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 อรทัย ก๊กผล, เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น, บริษัท ส เจริญ การพิมพ์ จำกัด, 2552, ISBN 978-974-449-497-9
  3. กังวาน ทองเนตร, บริการสาธารณะคืออะไร "http://123ne.blogspot.com/2012/02/koungwhal-thongnetra-13-2012-1446.html", 9 กุมภาพันธ์ 2555
  4. 4.0 4.1 4.2 นัท หิรัญรัตน์, (2539), "การบริหารการบริการสาธารณะ", วารสารธนารักษ์, ปีที่ 17, ฉบับที่ 4
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 กองเผยแพร่การศึกษา สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือบริการสาธารณะ