ผู้ใช้:Serm soontranan

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกิพีเดีย:บาเบล
thผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่
en-3ผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับสูง
This user can contribute with an advanced level of English.
ผู้ใช้ตามภาษา

ไอ้งูเขียว[แก้]

ไอ้งูเขียว คืออะไร[แก้]

"ไอ้งูเขียว" เป็นชื่อเพลงแปลงประเภทล้อเลียน เพื่อความตลกขบขันและสร้างความสนุกสนานเท่านั้น โดยนำทำนองมาจาก เพลงป๊อบ สากลยุคปลาย 50's ต่อต้น 60's ขับร้องโดยราชาเพลงร็อค (ร็อกแอนด์โรล) Elvis Presley ชื่อเพลง Wear My Ring Around Your Neck ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วโลกโดยไม่เว้นประเทศไทย ราวต้นปี พ.ศ.2501 (ค.ศ.1958)

ความเป็นมาของ ไอ้งูเขียว[แก้]

ก่อนจะมาเป็น ไอ้งูเขียว[แก้]
ไฟล์:เห่าดง(2501).jpg

จากความโด่งดังของเพลง Wear My Ring Around Your Neck ทำนองเพลงนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการโฆษณาภาพยนตร์ไทยเรื่อง เห่าดง ในปี พ.ศ.2501 โดยมีการใส่เนื้อร้องโฆษณาภาษาไทย บันทึกเสียงโดยการขับร้องของหนึ่งในนักร้องเพลงแปลงชื่อดังสมัยนั้น มีศักดิ์ นาครัตน์ (นักร้องเพลงแปลงอีกท่านหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถในการแต่งทั้งเพลงธรรมดาและเพลงแปลง ทั้งยังขับร้องเพลงผลงานตนเอง ที่เป็นที่รู้จักดีไม่แพ้มีศักดิ์ คือ นคร มังคลายน ซึ่งมีเพลงดังระดับ signature ชื่อเพลง กินกาแฟ ทำให้เพลง สป็อตโฆษณา เห่าดง ซึ่งในสมัยนั้นยังทำลักษณะเป็น แผ่นเสียง ขนาดเล็ก ส่วนมากจะแจกจ่ายสถานีวิทยุเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ พลอยโด่งดังเป็นเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้แก่เฒ่าในเมืองไทย ไม่แพ้หรืออาจจะมากกว่าเพลงต้นตำรับดั้งเดิมของเอลวิส ซึ่งนิยมกันเฉพาะนักฟังเพลงป็อบสากลเท่านั้น ด้วยซ้ำไป

หลังจาก เห่าดง บทประพันธ์ของ พนมเทียน ประสบความสำเร็จในรูปภาพยนตร์ จึงได้มีการสร้างภาพยนตร์ในแนวเดียวกันกับ เห่าดง ได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง "สี่คิงส์" จากบทประพันธ์ของ เศก ดุสิต (ผู้ประพันธ์นวนิยาย "อินทรีแดง" และ "อินทรีทอง" อันเลื่องชื่อ) ในปี พ.ศ.2502 หนึ่งในเพลงโฆษณาก็ยังคงใช้ทำนองเดิมที่ เห่าดง เคยใช้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพียงแต่เปลี่ยนเนื้อร้องให้เข้ากับภาพยนตร์เรื่องใหม่ ส่วน เพลงโฆษณาอีกเพลงหนึ่ง กลับไม่เป็นที่นิยมหรือรู้จักกันนัก ทั้งๆ ที่ทำนองเป็นเพลงจากมหาอุปรากรดังระดับโลกชื่อ คาร์เมน ที่คุ้นหูนักฟังเพลงจำนวนไม่น้อย

แล้วจึงมาถึง ไอ้งูเขียว[แก้]

ไอ้งูเขียว เกิดขึ้นจากความคึกคะนองรักสนุก อาจเรียกได้ว่าแต่งขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ และถ่ายทอดกันไปในหมู่นักร้องนักดนตรี ตลอดจนผู้ฟังเพลงสมัยนั้นในวงแคบๆ โดยมิได้มีใครสนใจจดบันทึกเป็นลายลัษณ์อักษร หรือบันทึกเสียงเอาไว้อย่างเป็นจริงเป็นจัง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการบันทึกเสียงในสมัยนั้น มิได้กระทำกันได้โดยง่ายดังเช่นในปัจจุบัน เหตุด้วยเครื่องบันทึกเสียงส่วนมากมักมีขนาดใหญ่โต (บันทึกลงบนแถบเท้ปซึ่งบรรจุอยู่ในม้วนขนาดใหญ่ reel to reel) ซึ่งไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายหรือพกพา (สมัยนั้นยังไม่มี เท้ปคาสเส็ท) และยังมีราคาแพงมากอีกด้วย

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ปรากฏว่ายังไม่มีใครสามารถระบุและยืนยันชื่อผู้แต่งได้ในเวลาก่อนหน้านี้

ลักษณะเฉพาะตัวของเพลง ไอ้งูเขียว[แก้]

เนื่องจากเพลงต้นฉบับคือ Wear My Ring... เป็นเพลงที่มีโครงสร้างตามแบบมาตรฐานเพลงส่วนใหญ่โดยทั่วไป กล่าวคือ ประกอบด้วยทำนองและเนื้อร้อง 4 ท่อนเรียงกัน คือ ท่อนที่ 1 ถึงท่อนที่ 4 โดยท่อนที่ 1, 2 และ 4 จะมีทำนองเหมือนกัน ต่างกันที่ตอนท้ายของท่อนเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นการ "ส่ง" ให้แก่ท่อนที่อยู่ถัดไป สำหรับท่อนที่ 3 ซึ่งบางครั้งเรียกกันว่าท่อนแยกหรือท่อนฮุก จะมีทำนองแปลกต่างจากสามท่อนดังกล่าว เมื่อรวมสี่ท่อนจึงนับเป็นเพลงครบสมบูรณ์ (ของบทเพลงส่วนใหญ่)

แต่เนื่องจาก "ไอ้งูเขียว" เป็นเพลงแต่งเล่นสนุกๆ อาจเกิดจากการแต่งสดเฉพาะหน้า โดยมิได้มีเจตนาจะให้เป็นเพลงที่สมบูรณ์สำหรับการเผยแพร่ ผู้แต่งจึงแต่งเนื้อเฉพาะท่อน 1 และ 2 ซึ่งเป็นทำนองเดียวกันเท่านั้น มิได้แต่งเนื้อร้องสำหรับท่อนแยกและท่อนสุดท้าย โดยถือเอาเป็นว่า ร้องสองท่อนต่อกันเป็นจบ ส่วนเพลงโฆษณา เห่าดง นั้น มีเนื้อร้องสองท่อนแรก พอท่อนแยกใช้บรรเลงดนตรีล้วน และจบท่อนท้ายด้วยเนื้อร้องอีกท่อน (ซึ่งเป็นทำนองเดียวกันกับสองท่อนแรก) รวมเป็น 3 ท่อน

ความพยายามอนุรักษ์และเผยแพร่ ไอ้งูเขียว[แก้]

ไฟล์:เล็ก วงศ์สว่าง.jpeg
เล็ก วงศ์สว่าง
ไฟล์:ถาวร อุณหกะ.jpeg
ถาวร อุณหกะ

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ (ไม่น่าจะก่อนปี พ.ศ. 2550) เล็ก วงศ์สว่าง นักจัดรายการเพลงชื่อดังตั้งแต่สมัยราวปี พ.ศ.2500 ได้เพียรพยายามจะหาผู้จำเนื้อร้อง "ไอ้งูเขียว" เพื่อจะได้ทำการบันทึกเสียงร้องและเนื้อร้องเอาไว้ ทั้งนี้โดยมีเจตนาที่จะเก็บอนุรักษ์เป็นหลักฐาน และยังเป็นการให้เครดิตต่อผู้ประพันธ์ ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อความสนุกสนานโดยมิได้ตั้งใจให้เป็นเพลงก็ตาม แต่ปรากฏว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยได้เนื้อร้องมากระท่อนกระแท่นในท่อนแรกเท่านั้น โดยมีเพลงโฆษณา เห่าดง ที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ผสมโรงจนได้เกือบครบเพลง

คุณเล็กมีเพื่อนฝูงและผู้ที่เคารพรักและนับถือท่านในวงการเพลงมากมาย จึงได้ขอแรง ถาวร อณหกะ นักร้องนำวงดนตรี ซิลเวอร์แซนด์ ซูเปอร์แช็มป์วง สตริงคอมโบ ตลอดกาล ในช่วง พ.ศ. 2500 มาช่วยบันทึกเสียง ไอ้งูเขียว ในเนื้อร้องเท่าที่จะพอรวบรวมได้ในขณะนั้น และได้มีการเผยแพร่โดยสื่อ Audio CD ร่วมไปกับเพลงแปลง รวมทั้งเพลงโฆษณาสินค้าโบราณ ที่คุณเล็กได้รวบรวมไว้เป็นจำนวนมาก (เท่าที่มีอยู่ในมือ มีมากกว่า 80 เพลง) จ่ายแจกไปในวงกว้างพอสมควร เห็นได้จากการที่มีผู้แปลงเสียงเพลง ไอ้งูเขียว เวอร์ชั่นคุณถาวรฯ จาก Audio CD เป็น VCD อัปโหลดขึ้น YouTube หลายราย (ยังมีต่อ)

ผู้ประพันธ์ ไอ้งูเขียว เปิดเผยตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี[แก้]

(ยังมีต่อ)

ผู้ขับร้อง ไอ้งูเขียว[แก้]

เท่าที่เคยได้ยินขับร้องในที่สาธารณะ มากกว่าหนึ่งครั้ง

  • ม.ล.วัลลภ นวรัตน

นักดนตรี นักแต่งเพลงและเรียบเรียงเสียงประสาน อดีตนักหนังสือพิมพ์ (เมื่อกว่า 50 ปีก่อน)

  • วิทยา เอื้อพันธุ์พงศ์

อดีตนักร้องนักดนตรี พ่อค้า วงการบันเทิงชาวนครสวรรค์ รู้จักกันในนาม "ไอ้งูเขียว" (เสียชีวิตแล้ว)

  • ถาวร อุณหกะ

อดีตนักร้องนำ วงดนตรีซิลเวอร์แซนด์ ในอดีตเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว

  • อาเธอร์ ฮูเซ็น

นักร้องเพลงสากลแนวเพลง เอลวิส เพรสลี่ย์

ฟังเพลง ไอ้งูเขียว[แก้]

(ยังมีต่อ)