ผู้ใช้:Samnosphere/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติ
United Nations Committee on the Peaceful Uses of Outer Space
รัสพจน์COPUOS
จัดตั้ง13 ธันวาคม พ.ศ. 2501
สำนักงานกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
เว็บไซต์www.unoosa.org
ต้นสังกัดสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
ลูกสังกัดสํานักงานกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติ (UNOOSA) ดำเนินงานในฐานะสำนักงานเลขาธิการ

คณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติ (อังกฤษ: United Nations Committee on the Peaceful Uses of Outer Space - COPUOS) เป็นองค์การระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 (ไม่นานหลังการส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่อวกาศ) โดยมีฐานะเป็นเพียงคณะกรรมมาธิการเฉพาะกิจในเวลานั้น จากนั้นในปี พ.ศ. 2502 ที่ประชุมองค์การสหประชาชาติจึงมีการประกาศการจัดตั้งอย่างเป็นทางการตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 1472 (XIV)[1]

พันธกิจของคณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติคือ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล และกำหนดเกณฑ์ กติกา ให้มีการใช้ประโยชน์จากอวกาศอย่างสันติและยุติธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และการใช้อวกาศให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการสำรวจอวกาศ ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติ

สำนักงานกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Outer Space affairs - UNOOSA) ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของคณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติ โดยหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติได้เผยแพร่เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ COPUOS รวมถึงคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย[2] (Legal Subcommittee) และคณะอนุกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค[3] (Scientific and Technical Subcommittee)

สหประชาชาติเริ่มเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมด้านอวกาศระหว่างประเทศมาตั้งแต่ยุคการแข่งขันด้านอวกาศ (Space Race) ภายหลังการส่งดาวเทียมดวงแรกของโลกเข้าสู่วงโคจรโลกในปี พ.ศ. 2500 โดยทางสหประชาชาติได้เน้นย้ำให้ชาติสมาชิกดำเนินมาตรการเพื่อให้ความมั่นใจว่าการพัฒนาในการใช้อวกาศมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อวิทยาศาสตร์และในทางสันติเท่านั้น ซึ่งการส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่อวกาศถือเป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันด้านอวกาศ เช่นเดียวกับการเริ่มใช้งานดาวเทียมเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ขั้นสูง

นับตั้งแต่การเกิดสงครามเย็น ก่อให้เกิดความหวั่นวิตกว่าอวกาศจะถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทหารของแต่ละประเทศ ส่งผลให้มีความพยายามในการจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อเป็นตัวกลางในการควบคุมการใช้งานอวกาศโดยไม่นำไปสู่ความขัดแย้งบนดินแดนห้วงใหม่นี้

ประวัติ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2501 สหประชาชาติได้จัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติขึ้น โดยในขณะนั้นประกอบด้วยชาติสมาชิกทั้งหมด 18 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยียม บราซิล แคนาดา อดีตเชโกสโลวาเกีย ฝรั่งเศส อินเดีย อิหร่าน อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก โปแลนด์ สวีเดน อดีตสหภาพโซเวียต อดีตสหสาธารณรัฐอาหรับ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ได้ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติขึ้นเป็นการถาวร[4] และมีจำนวนชาติสมาชิกเพิ่มเป็น 24 ประเทศ (แอลเบเนีย ออสเตรีย บัลแกเรีย ฮังการี เลบานอน และโรมาเนีย) เป้าหมายหลักของคณะกรรมการ COPUOS เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการใช้อวกาศส่วนนอกในทางสันติ และร่วมแบ่งปันข้อมูลทางด้านการสำรวจอวกาศ

การประชุมร่วมระหว่างคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและคณะอนุกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีหลังจากนั้น

สนธิสัญญาและความตกลง[แก้]

คณะกรรมการว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติ ทำหน้าที่กำกับดูแลการบังคับใช้สหธิสัญญาของสหประชาติทั้ง 5 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในอวกาศส่วนนอก ได้แก่

  • สนธิสัญญาอวกาศ (Outer Space Treaty) เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายควบคุมกิจกรรมทางอวกาศของรัฐในการสำรวจและใช้งานอวกาศส่วนนอก ซึ่งรวมถึงดวงจันทร์และเทหวัตถุ
  • ความตกลงด้านการกู้ภัย (Rescue Agreement) เป็นความตกลงด้านการค้นหาและช่วยเหลือนักบินอวกาศ และกู้คืนวัตถุที่ถูกส่งออกไปในอวกาศ

อ้างอิง

  1. "1472 (XIV). International co-operation in the peaceful uses of outer space". United Nations Office for Outer Space Affairs.
  2. "Legal Subcommittee Sessions". United Nations Office for Outer Space Affairs.
  3. "Scientific and Technical Subcommittee Sessions". United Nations Office for Outer Space Affairs.
  4. "COPUOS History". United Nations Office for Outer Space Affairs.