ผู้ใช้:Richierith/ทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์

ภิกษุณีโพธิสัตต์วรมัย กบิลสิงห์[แก้]

   ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ มหาเถรีฯ หรือ “หลวงย่า” เดิมมารดาตั้งชื่อให้ว่า “วงจันทร์”   ท่านเกิดวันจันทร์ที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๑ ปีวอก เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน ๖คนของครอบครัว บิดาชื่อ เตียบ มารดาชื่อ ส้มจีน เป็นคนไทยเชื้อสายเวียงจันทน์ "หลวงย่า" ใช้นามสกุล กบิลสิงห์  ซึ่งเป็นสกุลพระราชทานแก่ นายฉัตร มหาดเล็กหลวง และเป็นลูกผู้พี่ของคุณยายส้มจีน บ้านเดิมของท่านอยู่ที่ตำบลหนองปลาดุก  อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เมื่อบิดาเสีย มารดาของท่าน(คุณยายส้มจีน) จึงได้พาลูกๆย้ายไปใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ

บุคลิก – ลักษณะ- อุปนิสัย[แก้]

       

 หลวงย่ามีรูปร่างสูงโปร่ง ผิวขาวใบหน้ายาว จมูกแข็งแรง โหนกแก้มสูง ตาโต ใบหูใหญ่รับกับใบหน้า เวลายิ้มมุมปากจะยกสันโหนกแก้มขึ้นสูง ในวัยสาวท่านมีร่างกายสมส่วนแข็งแรงแบบนักกีฬา ประกอบกับกีฬาที่ท่านมีความชำนาญมักเป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัว อาทิ มวยไทย ยูโด ดาบไทย ดาบฝรั่ง จึงทำให้ท่วงท่าของท่านมีความสง่างาม   เป็นที่ชื่นชม  ในวัยกลางคน หลวงย่าค่อนข้างผอม ใบหน้าตอบ ด้วยหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางบ่อย (เป็นนักข่าว และแม่ค้าเพชรพลอย) แม้จนวัยชรา รูปร่างของท่านก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากมายนัก


         หลวงย่าเป็นคนเข้มแข็ง สู้ชีวิต เด็ดเดี่ยว และเด็ดขาด มีวิสัยทัศน์ มีความริเริ่ม อย่างหาคนเทียมได้ยาก คิดจะทำสิ่งใดก็จะทำจนสำเร็จ ไม่ย่อท้อ ท่านเป็นคนขยัน มัธยัสถ์ ไม่เคยอยู่นิ่ง มีวินัยสูง เรียบร้อย เจ้าระเบียบ มีความอดทน และรักษาสัจจะยิ่งชีวิต หลวงย่าเป็นคนยิ้มยาก แลดูเคร่งขรึมและจะดุมากโดยเฉพาะกับลูกๆ หากแต่ท่านมีความเมตตาและรักเด็กอย่างที่สุด หลวงย่าเป็นคนซื่อตรง รับผิดชอบต่อหน้าที่ และแม้ในการอบรมสั่งสอนลูกหญิงชาย ท่านก็จะสอนให้ลูกๆ มีความรับผิดชอบและทำหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด

ประวัติการศึกษา การทำงาน และครอบครัว[แก้]

ในชั้นต้นท่านได้รับการศึกษาจากโรงเรียนมหาพฤฒาราม[แก้]

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และมีโอกาสเดินทางไปศึกษาที่ปีนังในระยะหนึ่ง[แก้]

พ.ศ. ๒๔๗๓  [แก้]

ท่านจบประโยคมัธยมศึกษาหญิง

พ.ศ. ๒๔๗๓  [แก้]

ท่านสอบได้ครูมูลพิเศษ

พ.ศ. ๒๔๗๔  [แก้]

สอบได้ประโยคครูพิเศษประถม ได้เป็นครูใหญ่ โรงเรียนพญาไทวิทยาคาร

พ.ศ.๒๔๗๕  [แก้]

เป็นครูสอนพละศึกษาและเป็นลูกเสือหญิงเพียงคนเดียว ที่เดินทางไกลโดยจักรยานจากกรุงเทพ ไปประเทศสิงคโปร์

กับคณะลูกเสือสวนกุหลาบ  ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น ๒๙ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๗๕ ซึ่งท่านเลือกเดินทางเพียงลำพัง

ในระหว่างทางท่านต้องเผชิญกับเสือ อาบน้ำในหนองน้ำที่มีจระเข้ หรือไปขอนอนกับชาวบ้านในป่า ท่านสามารถเข้าเขตมาลายู

ได้เป็นที่ ๑ ขุนอารียราชการันย์ นายอำเภอสะเดา ได้มอบปากกาอย่างดีให้เป็นรางวัลในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๗๖   

พ.ศ. ๒๔๗๖  [แก้]

ท่านได้เป็นครูใหญ่ โรงเรียนมหัศดัมอิสลามวิทยาลัยของชาวมุสลิมแถวบางรักและเป็นครูพิเศษสอนพละศึกษา

ให้กับโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในปีนั้นท่านสอบได้ประโยคครูผู้สอนพละศึกษาโท (วุฒิ พ.ป.)   ได้เรียนวิชาป้องกันตัวมวยไทย

มวยฝรั่ง ยูโด  ดาบไทย ดาบฝรั่ง และทำคะแนนได้ดีในวิชาดาบฝรั่ง ท่านสอบจบด้วยคะแนนดีมาก ติด ๑ ใน ๓ คนแรก

ได้เป็นครูพละศึกษาหญิงคนแรกของประเทศไทย     

พ.ศ. ๒๔๗๗  [แก้]

ท่านสอบแข่งขันตำแหน่งครูใหญ่ ร.ร. สตรีประจําจังหวัดพัทลุง ท่านสอบได้แต่คุณพระสารสาส์นประพันธ์ 

ท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ สั่งบรรจุให้ไปเป็น ครูพิเศษอยู่ ร.ร.เบญจมราชาลัย กรุงเทพ ฯ เพราะท่านเมตตาว่าท่าน

กําลังเรียนต่อวิชาครู ป.ม. และพละศึกษาเอกกับเรียนภาษาอังกฤษที่ ร.ร.สวนกุหลาบ (ในตอนนั้นร.ร.ผู้หญิงยังไม่มี ม. ๘)

ในระหว่างที่สอนอยู่ ร.ร.เบญจมราชาลัยนี้ ในตอนเย็นท่านยังได้ไปเรียนวิชาการช่าง จากแม่ครูเยื้อนภาณุทัต

ที่โรงเรียนประจำภาณุทัต ได้ความรู้หลายอย่างที่นำมาใช้ประโยชน์ในภายหลัง

พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙  [แก้]

ท่านป่วยด้วยเส้นโลหิตที่ปอดขาด เนื่องจากอุบัติเหตุล้มในการแสดงยูโดบนเวที ต่อมา อาการดีขึ้น จึงได้เข้ารับราชการใหม่

พ.ศ. ๒๔๘๕  [แก้]

ท่านแต่งงานกับ ท่านก่อเกียรติ (เวื่อง) ษัฎเสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง และได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง

พ.ศ.๒๔๘๗  [แก้]

ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปีนั้นท่านให้กำเนิดบุตรี ชื่อ ฉัตรสุมาลย์  จึงได้ลาออกจากราชการ  เปิดร้านขายหนังสือชื่อ “ทศพร” และ เริ่มค้าขายเครื่องประดับ

เพชรนิลจินดาที่จังหวัดตรัง

พ.ศ.๒๔๙๐  [แก้]

ท่านอยากให้ลูกๆมีการศึกษาดี จึงย้ายกลับเข้ากรุงเทพ

=== พ.ศ.๒๔๙๓   === 

ท่านเริ่มงานเป็นนักข่าวการเมือง  ได้ทำสารคดี ”ดูซงยอ”   ในเขตอันตรายสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเขียนไว้เป็นหนังสือชื่อ “ท่องเที่ยวผจญภัย

พ.ศ. ๒๔๙๖  [แก้]

ท่านได้เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยหนังสือพิมพ์ไทยใหม่วันจันทร์    มีผลงานเขียนจินตนิยาย เรื่องเจ้าหญิงพลาเลิศ และ ตำรานวรัตน์

(ตำราอัญมณีเล่มแรกของประเทศไทย)  โดยเขียนให้เป็นวิทยาทาน และยังมีผลงานอื่นๆ อีกหลายเล่ม (ในด้านงานเขียน ท่านเขียนหนังสือมาตลอดชีวิต

มีผลงานตีพิมพ์ครั้งแรก ในวัย ๑๗ ปี) มาเลิกเขียนเมื่อท่านลุกนั่งไม่ได้แล้วใน พ.ศ.๒๕๓๔ เมื่อมีอายุได้ ๘๔ ปี

เส้นทางธรรม[แก้]

พ.ศ. ๒๔๙๗  [แก้]

เมื่ออายุ ๔๒ ปี ในวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๙๗  ท่านเจ็บหนักในช่องท้อง นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตรวจพบว่ามีเนื้องอก

ในมดลูก ต้องผ่าตัด แม่ชีทองสุก จาก วัดปากน้ำภาษีเจริญ มาเยี่ยมและบอกว่า หลวงพ่อสด ได้รักษาให้แล้ว แต่เมื่อท่าน

ยังตัดสินใจผ่าตัดก็ไม่พบก้อนเนื้องอก ท่านจึงสนใจในการทำสมาธิเพื่อรักษาไข้ จึงได้เริ่มต้นเรียน สมถวิปัสสนา

กับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ (ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุณี) เรียนอยู่ ๒๔ วัน จนได้ ธรรมกาย ขั้นสูงสองรอบ

จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ วิชชาธรรมกาย (๕ กันยายน)  จากนั้นท่านเริ่มออกเผยแพร่สอนวิชา และ รักษาไข้ที่

วัดราชประดิษฐาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๙๘  [แก้]

๓๐ พฤษภาคม หลวงย่าเรียน รูป-นาม จากสำนักวัดมหาธาตุ พระนคร เรียนจบใน ๒๘ วัน (วันที่ ๒๗ มิถุนายน ) ได้ใบรับรอง

จาก อาจารย์พระปลัดถวน โดยการฟังเทศน์ลําดับ ญาณ ได้ ทุติยโสฬสญาณ

พ.ศ. ๒๔๙๘  [แก้]

วันที่ ๑ ตุลาคม ท่านได้จัดพิมพ์ นิตยสารรายเดือน “วิปัสสนาและบันเทิงสาร" (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น

“พระโพธิสัตต์ วิปัสสนา และ บันเทิงสาร”) ออกจำหน่าย เผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อผดุงฐานะของนักบวชสตรี และ

ช่วยเหลือเด็กกําพร้าชายหญิงที่ท่านรับเลี้ยงไว้ ด้วยความสามารถในการประพันธ์ ถ่ายภาพ และประสบการณ์ในการทำข่าว

ของตัวท่าน หลวงย่าจึงเป็นทั้งเจ้าของ ผู้จัดการ และเป็นบรรณาธิการด้วยตนเอง วิปัสสนา-บันเทิงสาร ดำเนินกิจการต่อเนื่อง

ยาวนานถึง ๓๒ ปี ( ในพ.ศ.๒๕๓๐) นอกจากหนังสือเผยแผ่ธรรมะรายเดือนแล้ว ท่านยังได้เขียนหนังสือธรรมะนิยายและ

นิยายอิงประวัติศาสตร์ ไว้อีกหลายเล่ม อาทิ  “วิปัสสนา 5 แบบ” “พระกวนอิมมาตา” “ศากยะธิดา” “จุ๋ยเจีย” และ

“ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน” ที่สร้างชื่อและเป็นที่กล่าวถึงของนักอ่านจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. ๒๕๙๙  [แก้]

วันที่ ๑๗ เมษายน ท่านเลิกรับประทานอาหารเนื้อสัตว์เป็นมังสวิรัติทั้งครอบครัว

ออกบรรพชา[แก้]

วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙  ท่านเข้ารับการบรรพชาศีล ๘ จากท่านอุปัชฌาย์ เจ้าคุณพรหมมุนี (ผิน สุวโจ ธรรมประทีป) วัดบวรนิเวศ พระนคร สวมกาสาวพัสตร์ สีเหลืองอ่อน (สีดอกบวบ) ฉายา “ ธรรมมงคล “


มิถุนายน ๒๔๙๙ ท่านไปอยู่ วัดถ้ำมังกรทอง จ.กาญจนบุรี  เรียนวิปัสนาสังขารธรรมกับ หลวงพ่อจ้อย เขมิโย และเรียนอานาปานสติกับ ท่านเจ้าคุณวิสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (ท่านพ่อลี) ที่ วัดอโศการาม  


วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๙๙ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จโรงเรียนมหาพฤฒาราม หลวงย่าได้ทูลเกล้าถวายพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรงรับ ทรงพระราชทานลายพระหัตถ์ แล้วทรงพระราชทานฉายฉายาลักษณ์ร่วมกับหลวงย่า

งานสืบพระศาสนาและสังคมสงเคราะห์[แก้]

พ.ศ. ๒๔๙๙[แก้]

  • วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๙๙  ได้เปิดสำนักกรรมฐาน ที่บ้านเลขที่ ๓๒๔/๙  จิตรลดา ซอย ๒ ถนนพระราม ๖ พญาไท พระนคร ซึ่งเป็นบ้านพักของตนเอง ใช้เป็นสำนักสำหรับผู้เข้าฝึกหัดสมถะ-วิปัสสนา  ซึ่งต่อมาได้เปิดเป็นโรงเรียนวันอาทิตย์สำหรับเด็กๆ โดยอบรมศีลธรรมพร้อมแจกสมุดดินสอ เสื้อผ้าให้แก่เด็กๆ   และนับเป็นกิจการของโรงเรียนแม่ชีไทยแห่งแรก ของหลวงย่า
  • บวชสตรีให้เป็นพุทธสาวิกา(อนุสงฆนี) และสอนให้เย็บ ปัก ถัก ร้อย
  • เขียนเรื่องเพชร ๕ สกุล ตำรานวรัตน์ (ตำราอัญมณีเล่มแรกของประเทศไทย)ให้เป็นวิทยาทาน
  • เริ่มทำทานแจกเสื้อผ้า เครื่องใช้ เครื่องเรียน ข้าวสาร ยารักษาโรค ทำบุญเลี้ยงพระ ซึ่งท่านได้ทำสืบเนื่องต่อมาเป็นประจำทุกปี

พ.ศ. ๒๕๐๐[แก้]

  • วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์  ลงเสาปลูก ร.ร. แม่ซีไทย ที่บ้านกรุงเทพฯ


พ.ศ. ๒๕๐๑[แก้]

  • เดือนมกราคม ได้พบคุณทวีหัวหน้าที่ดินจังหวัดนครปฐม ท่านแนะนำให้รู้จักกับคุณประเสริฐ  สมิตินันท์ ผู้ซึ่งเคยเป็นมหาดเล็กของพระบาทสมเด็ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วยจัดการให้ได้ซื้อที่ดิน ๓ ไร่ ๒๘๐ ตารางวา จากตัวแทนพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี      พระวรราชชายามเหสี ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)  เพื่อสร้าง วัตรทรงธรรมกัลยาณี ที่ จ.นครปฐม
  • กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๒ ไร่เศษ เพื่อปลูกห้องกรรมฐาน ได้จ้างเขาถมดิน ดินนั้นขุดจากตอนท้ายของเนื้อที่ เพื่อให้ได้บ่อน้ำ จะได้ปลูกบัวและเอา น้ำรดผักต่างๆเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ทางด้านหลังที่ดินให้คนไถสำหรับปลูกข้าวโพด
  • ๔ มีนาคม ๒๕๐๑ เริ่มปลูกห้องกรรมฐานเพื่อให้ทันเข้าพรรษา โดยขึ้นเสาเอกในวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๑     ส่วนตัวเรือนไม้สองชั้นสร้างเสร็จใน เดือนพฤษภาคม ๒๕๐๑ แล้วจึงเริ่มกั้นรั้วในเดือนกันยายน
  • ๒๙ กันยายน ๒๕๐๑ สมเด็จพระวันรัตผู้บัญชาการสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้มีความกรุณาเยี่ยมชมวัตรทรงธรรมกัลยาณี (โรงเรียนแม่ชีไทยแห่งที่ ๓) พร้อมด้วยพระสงฆ์แห่งวัดเบญจมบพิตและได้เขียนติชมไว้ในสมุดเยี่ยมว่า” สมเด็จพระวันรัตเห็นเรียบร้อยดี”
  • เริ่มให้อุปถัมภ์การอุปสมบทสามเณรเป็นพระ(ทุกปี) พร้อมถวายปัจจัยและหนังสือเรียนสอนภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ฯลฯ แก่พระภิกษุสงฆ์ และพุทธสาวิกา
  • เชิญ พยาบาล ร.พ.หญิง มาสอนวิธีปฐมพยาบาลแก่พุทธสาวิกา และส่งลูกหญิงเรียนจบหลักสูตรพยาบาลในครอบครัว
  • ซื้อจักรยานและซื้อยาของโรงงานเภสัช  ขี่ไปแจกคนแก่และเด็กที่ดอนยายหอมทุก๗วันช่วยรักษาไข้และสอนสมถะวิปัสสนาแก่คนทั่วไป ซึ่งท่านได้ทำต่อเนื่อง จนชราภาพ
  • ทำบุญทอกกฐินและเลี้ยงพระวัดปากน้ำภาษีเจริญทั้งวัด

พ.ศ. ๒๕๐๒[แก้]

·     วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๐๒ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์แห่งวัดมกุฏกษัตริยารามได้เยี่ยมชมวัตร และได้เขียนไว้ในสมุดเยี่ยม ความว่า “ได้มาเยี่ยมวัดทรงธรรมกัลยาณีได้ทราบกิจการอันเป็นกุศลสาธารณะประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ทั้งด้านชาติและพระศาสนาของอาจารย์วรมัย ที่ได้ก่อตั้งโรงเรียนเด็กอนาถากำพร้า    โดยรับเลี้ยงให้การศึกษาอบรมจรรยาและจิตใจให้ผ่องใส ให้ฝึกหัดอาชีพแก่อนุชนสตรีให้เป็นพลเมืองดีของชาติและเป็นศาสนิกชนที่ดีของพระศาสนา และฝึกกุลสตรีให้ช่วยประชาชนผู้เจ็บป่วยด้วยความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ผู้ยากจน  จึงรู้สึกเลื่อมใสและตั้งใจสนับสนุน ด้วยเห็นว่า

       ท่านวรมัยเป็นสตรีผู้ยอมเสียสละกำลังกาย กำลังทรัพย์และปัญญาแก่เพื่อนมนุษย์ ด้วยมิมุ่งหวังผลตอบแทน เป็นการทำความดีเพื่อให้เพื่อนมนุษย์ได้รับความสุขและบำบัดทุกข์ เพราะการกระทำย่อมแสดงให้เห็นเมตตาอันเป็นกุศลของผู้กระทำ ถ้าเรามีผู้ยอมสละด้วยเมตตากรุณาเช่นนี้ มีมากขึ้นเพียงใด โลกย่อมมีทางที่จะบรรลุสันติสุขได้มากเพียงนั้น วัดนี้มีนามว่า”วัตรทรงธรรมกัลยาณี” แต่ข้าพเจ้าเห็นควรว่า ควรให้กลับปลายเป็นต้นว่า วัดกัลยาณีทรงธรรม จะงดงามดีกว่า

        ขอให้วัดกัลยาณีทรงธรรมนี้จงตั้งมั่นสถาพรเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า เพื่อประโยชน์          เกื้อกูลและความสุขแก่เพื่อนมนุษย์ในทางที่ชอบธรรมตลอดกาลนาน   ไม่มีที่สุดและให้อาจารย์วรมัย ผู้ริเริ่มกิจการอันเป็นกุศลไพศาลนี้ พร้อมทั้งศิษย์ยานุศิษย์ผู้มีจิตเป็นกุศลร่วมกิจนี้ทุกท่าน จงเจริญรุ่งเรืองงดงามในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกเมื่อเทอ

·     สร้างกําแพง หน้าวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม และกั้นรั้วรอบวัตรฯ

·     สร้างห้องกรรมฐานอีก ๓ ห้อง

·     สร้างเรือนครัว ขุดบ่อน้ำไว้ใช้ในวัตรฯ ๓ บ่อ สร้างแท้งค์น้ำ ๒ ใบ

·     ทําสวน ปลูกผัก ทํานา ทําการเย็บปักถักร้อย ขายการฝีมือ

·     ลงมือถมดิน เตรียมสร้าง ร.ร.ลูกกําพร้า (ธรรมาภิสมัย)

·     รับเลี้ยงเด็กตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ – ๒ ขวบ จนถึงคนแก่อายุ ๖๐ ปีเศษ ปีนี้มีอยู่ ๘๒

·     ทอดผ้าป่า ๙ วัด รวม ๑๗,๕๑๔.๐๕ บาท นอกจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ยังพาผู้ศรัทธาไปทอดกฐิน ผ้าป่า ที่ปีนัง และกัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์อีกด้วย

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ นี้หลวงย่าได้ทำการหล่อพระดังนี้

•                        หล่อพระพุทธรูป “พระธรรมกายอรหันต์” ปางรักษาไข้ ยกพระหัตถ์ขวาท่าพรมน้ําพระพุทธมนต์ พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหม้อน้ํามนต์ พระเกศาทรงจอมกระหม่อมสูง หน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว สูง ๒๔ นิ้ว ประทับฐานบัวใหญ่สูง ๘ นิ้ว 

•                        พระทองขัด สมัยเชียงแสน ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๓๑ นิ้วครึ่ง สูง ๓๖ นิ้ว รัศมีสูง ๓ นิ้ว ฐานสูง ๑๖ นิ้ว สลักลายสวยงาม มีผ้าทิพย์พร้อมพระโมคคัลลาน์พระสารีบุตรคู่ ยืน สูง ๓๙ นิ้ว ฐานสูง ๖ นิ้ว สลักกลีบบัว

•                        หล่อพระแม่น้านางมหาปชาบดีอรหันต์เถรี เป็นพระยืนปิดทอง ปางประทานพร ยกพระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายทรงถือตลับแก้ว สูง ๖๘ นิ้ว ฐานลายดอกบัวสูง ๑๐ นิ้ว  

•                        หล่อพระพรหมนารอด หล่อพระฤาษีตาไฟ หล่อรูปท้าวเวสสุวัณณ์ และสร้างพระนวโลหะพุทธเจ้า

พ.ศ. ๒๕๐๓

·     ทำการขึ้นป้าย วัตรทรงธรรมกัลยาณี ที่ จ.นครปฐม

·     ในปีนี้ท่านเข้ากรรมฐาน ได้เห็นพุทธคยา ต้นโพธิ์และ และภิกษุณีอรหันต์เถรี จึงได้เดินทางไปอินเดียเพียงลำพัง ในวันที่ ๑-๑๕ พฤษภาคม เพื่ออธิษฐานจิตขอบวชเป็นภิกษุณี ได้ฉายาว่า มาตาวชิรา ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย (เพราะมีภิกษุณี ชาวไต้หวัน อยู่เพียงองค์เดียวในที่นั้น จึงทำให้หลวงย่าไม่สามารถบวชกาย) ท่านทําสมาธิอยู่ที่โคนโพธิ์พุทธคยา ๗ วัน กลางคืนพักผ่อนที่วัดไทย ท่านฉันข้าวกับซีอิ้ว และแตงกวามื้อเดียว ที่พุทธคยา หลวงย่าได้อธิษฐานว่า ถ้าจะมีบารมีพอสร้างโบสถ์ได้ ขอให้พระบรมธาตุ เสด็จมาให้เห็นประจักษ์ ๘๐ องค์ ปีนั้นท่านได้พระธาตุเสด็จมากเป็นพันองค์

·     วันที่  ๑  ต.ค. คุณปิ่น มุทุกันต์ เชิญท่านไปออกอากาศ ถามเรื่องบวช และการปฏิบัติธรรม

·     วันที่ ๙ ตุลาคมพ.ศ ๒๕๐๓ ให้ช่างปั้นรูปหลวงย่าและเด็กเป็นสัญลักษณ์แทน “แม่ของโลก”  

·     ปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๐๓ ถูกไล่ที่บ้านในกรุงเทพฯ (โรงเรียนแม่ชีไทย แห่งที่๑) จึงได้ย้ายมาอยู่เลขที่ ๒/๔  ถนนเจ้าฟ้าริมคลองหลอด ท่าช้าง วังหน้า พระนคร โดยทำการเซ้งตึก(เป็นเวลา ๘ ปี) ในราคา ๒๔,๐๐๐ บาท และต้องเสียค่าเช่าเดือนละ ๘๐ บาท เพื่อให้ลูกๆและพุทธสาวิกา ได้เรียนหนังสือต่อ ในกรุงเทพฯ

·     ต่อมาจึงได้ย้ายไปที่ตึก วีระธรรม (บ้านพระยาวิจิตรนาวี ) ที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ระหว่างวัดดีดวด กับวัดโพธิ์เรียง ใกล้สะพานคลองมอญ ตึกนี้มีอายุไม่น้อยกว่า ๘๐ ปี ทั้งหมดมี สิบกว่าห้อง บางส่วนยังดีบางส่วนทรุดโทรม หลวงย่าอยู่ที่นี่เพื่อใช้รักษาไข้และสอนสมาธิ (ตึกที่เซ้งเดิมอยู่ใกล้ถนนและเสียงดัง) ตึกวีระธรรม(โรงเรียนแม่ชีไทย ๒) ในสมัยนั้น เป็นของคุณหลวงวิชัย นิตินาถ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง

พ.ศ. ๒๕๐๔

·     วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๔ ท่านแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งเป็นของส่วนตัวที่จังหวัดตรัง ได้เงิน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนแก่ลูกที่ส่งเรียนหนังสือ จำนวน ๒๐ คน

·     ส่งนักบวชไปเรียนเป็นช่างเรียงที่โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์

·     ตั้งโรงพิมพ์ลูกกำพร้าที่ตึกวีระธรรม

·     สอนนักบวชและเด็กๆให้ทำงาน สร้างอาชีพเช่น เย็บผ้า ปักผ้า ทำการเกษตร ทำงานในโรงพิมพ์

·     รับเด็กอ่อนอายุ ๑ เดือน (กําลังเจ็บ) แม่พามายืนร้องไห้อยู่หน้าวัตรและลูกกําพร้าไว้อีกหลายคน

·     ซื้อที่ดินที่พิมาย ๕๐ ไร่ใกล้อ่างเก็บน้ำเพื่อเตรียมไว้ให้ลูกกำพร้ามีที่ดินทำการเพาะปลูก

·      ทําพิธีปลูกต้นโพธิ์จากลังกา

·      นำคณะญาติโยมทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์ รวม๑๑,๐๙๒ บาท

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

·     หล่อพระศรีอาริยเมตตรัยหน้าวัตร

พ.ศ. ๒๕๐๕

·     ตั้งโรงงานกลึงหินสบู่ (ที่ตึกวีระธรรม) และสอนนักบวชให้ทำหินสบู่ เป็นเครื่องใช้ อาทิบาตร แจกัน ฯลฯ จำหน่ายแก่ญาติโยม

·     บวชอุบาสิกาเป็นอนุสงฆนี ๒๐ รูป

·      ไปแสวงบุญที่อินเดียครั้ง ๒

·      ให้ญาติมิตรบูชาพระธาตุ เพื่อนําปัจจัยมาซื้อวัสดุก่อสร้างโบสถ์

·       วางศิลาฤกษ์ สร้างพระปฐมมาตามหาปชาบดีโคตมีอรหันต์เถรีศรีอุโบสถาคาร  จ.นครปฐม ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๐๕ เวลา ๘.๓๓ น.โดยมีท่านพระครูอนันต์นินนาทแห่งวัดบวรนิเวศวิหารเป็นผู้ให้ฤกษ์

·      สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราชวัดมกุฎฯ) สมเด็จพระวันรัต (สมเด็จพระสังฆราช วัดเบญจมบพิตร) มีพระกรุณามาวางศิลาฤกษ์

·      ๑๙ พ.ย. ๒๕๐๕ เริ่มตอกเสาเข็มพระอุโบสถมหาปชาบดีจำนวน ๘๐๔ ต้น


พระที่ท่านสร้างในปีนี้

·     หล่อพระพุทธรูปบูชาปางตรัสรู้สมัยสุโขทัย ทรงพระนามว่า“พระพุทธหิรัญรัตน์ชินราชฯ” ด้วยเงินแท่ง หนัก ๑,๗๓๔ บาท หน้าตักกว้าง ๑๕ นิ้ว สูง ๑๘ นิ้ว พระรัศมีสูง ๒ นิ้วครึ่ง  และพระพุทธชินสีห์ หน้าตัก ๘ นิ้ว สูง ๑๐ นิ้ว  

พ.ศ. ๒๕๐๖

·     ทางการขยายถนน ต้องรื้อรั้วกำแพงวัตร

·     ซื้อที่ดินเป็นไร่ส้มโอ (ราคาแสนเศษ) ที่อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม

·     เริ่มทำบุญเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์ในทุกวันพระ

·     ท่านขึ้นทําสมาธิทุกวัน แล้วแผ่ส่วนกุศลช่วยบ้านเมือง และช่วยดูกรรมรักษาไข้ทั้งยังช่วยเหลือคนยากจนมิได้ขาด

·     บวชนักบวชหญิงของเรา ๑๐ องค์

·     แจก เสื้อผ้า ข้าวสาร อาหาร แก่เด็กและคนป่วยประมาณ ๔๐๐ คน

·     เตรียมหล่อพระพุทธรูปทองคําถวายในหลวง หล่อพระทองคํา  พระเงินปนทอง      สังกัจจายน์

พ.ศ. ๒๕๐๗

·     วันที่ ๑๐ ม.ค. ๒๕๐๗ ถวายเครื่องมโนศิลาลายแต่พระเจ้าอยู่หัว

·     วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน  นําพระบรมธาตุไปถวายสมเด็จพระสังฆราชวัดสระเกศ เพื่อทรงประทานแก่นายเหงียนหวันเดียว นายกพุทธสมาคมฝ่ายเถรวาท เพื่อนําไปสักการะบูชายังประเทศเวียดนามใต้

·     เทพื้นโรงเรียนลูกกำพร้า(ธรรมาภิสมัย) เริ่มก่อผนังและโครงหลังคาพระอุโบสถ


พ.ศ. ๒๕๐๘      

·     เปิด  “โรงเรียนธรรมาภิสมัย”  (สอนอนุบาลจนถึง ป.๖ แก่ลูกกำพร้าและเด็กยากไร้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน นานติดต่อกันถึง ๔๐ ปี)

·     วันที่ ๒๗ สิงหาคม หลวงย่าวรมัย กบิลสิงห์ พร้อมด้วยบุตรีและอนุสงฆนี ได้นําพระพุทธรูปทองคําเนื้อ ๙๗% หน้าตักกว้าง ๒ นิ้ว หล่อตันทั้งองค์ แบบสุโขทัยปางชนะมาร ฐานสลักกลีบบัว หนัก ๒๒ บาทเศษ   กับพระเครื่องทองคําแบบสมเด็จวัดระฆังเนื้อ ๙๗% หนักองค์ละ ๑ บาทเศษ ๖ องค์ และ พระเงินปนทองคำแบบสุโขทัย   ปางตรัสรู้ อีก ๑ องค์ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่๙ พระบรมราชินีนาถ ที่วัดบวรนิเวศน์

·     ซื้อกระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ ๕,๐๐๐ แผ่น เป็นเงิน ๓,๕๐๐ บาท

·     ทำบุญเลี้ยงพระที่รพ.สงฆ์ ๓ ครั้ง รวม ๖๓๖ รูป

พ.ศ. ๒๕๐๙

·     วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙    หลวงย่ามีจิตศรัทธาได้ถวายที่ดินสวนส้ม (    พื้นที่ ๖ ไร่)   ต.สวนผัก อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นที่ดินส่วนตัว เพื่อสร้างวัด  จึงได้กราบทูล สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฎกษัตริยาราม จ.พระนคร ทรงรับ และขอนามวัดกัลยาณีทรงธรรม ซึ่งเคยประทานให้ไว้ก่อน มาเป็นนามวัดแห่งนี้ เมื่อถวายแล้วหลวงย่าจึงสร้างศาลา กุฏิพระและหล่อพระสังกัจจายน์ องค์ที่ ๒ ไว้ที่วัดกัลยาณีทรงธรรมด้วย      

·     ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ทําบุญฉลองพระพุทธรูป ๒ องค์ ซึ่งซ่อมสร้างหล่อพระเศียร ต่อองค์พระที่ถูกคนร้ายตัดไป กับหล่อองค์พระให้พระเศียรอีกองค์หนึ่ง ถวายวัดราชประดิษฐาน จ.อยุธยา องค์ใหญ่ถวายพระนามว่า “พระพุทธสุริยอินทราชาราชประดิษฐาน องค์เล็กถวายพระนามว่า “พระพุทธบรมไตรโลกนาถ” เป็นพระประธาน ในโบสถ์วัดราชประดิษฐาน จ.อยุธยา ยังคงอยู่จนบัดนี้

·     ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ถวายพระธาตุแด่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถที่วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

·     ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๙  หลวงย่าอธิษฐานจิตต่อพระยามัจจุราช ขอบําเพ็ญตบะ ตั้งสัจจะ ไม่ฉันข้าว ทำสมาธิในกระต๊อบเล็กคนเดียว ในสวนริมแม่น้ําท่าจีน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้วิญญาณบรรพบุรุษ ซึ่งได้ช่วยเหลือชาติบ้านเมืองรบกับข้าศึก ท่านอดข้าวอยู่ ๑๑๖ วันจนเลยพรรษา

·      ปี พ.ศ. ๒๕๐๙  นี้ทำบุญถวายปัจจัยพระภิกษุ  ทอดผ้าป่าและกฐิน รวม ๕๑,๕๐๐  บาทและบริจาคสร้างศาลาให้ ร.ร. ลูกกําพร้า และให้โรงพิมพ์ลูกกําพร้าอีกเป็นเงินรวม ๕๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๑๐

·     จัดบวชพระภิกษุสามเณรรวม ๑๖ รูป และบวชสตรี  ๕ รูป

·     ๒๑-๒๓ พฤศจิกายน ทอดกฐินและผ้าป่า วัดกัลยาณีทรงธรรม สามพราน และวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         สร้างเหรียญสมเด็จเงิน และพระหลวงปู่ ๙ องค์

พ.ศ. ๒๕๑๑

·     สร้างวิหารถวายหลวงพ่อขาวที่ซ่อมไว้ที่วัดราชประดิษฐาน จ.อยุธยา ๓,๗๑๖บาท

·     ๑๒ ธันวาคม ขายแหวนทับทิมได้ ๓,๐๐๐ บาท ไปซื้อข้าวเปลือกพันธุ์ดีแจกคนจนในนครปฐม

·     ทำบุญถวายผ้าป่าและอุปสมบทภิกษุ รวมเป็นเงิน ๒๐,๒๐๐ บาท

·     พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๑ สองปีนี้ หลวงย่าทำบุญเลี้ยงพระได้ถึง ๑,๖๙๐ รูป เพื่ออุทิศกุศลช่วยวิญญาณบรรพบุรุษผู้มีพระคุณแก่ชาติ สมตามที่ตั้งใจ

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         ขายกําไลทับทิมแล้วสร้าง พระทองขัดปิดทองคํา ปางตรัสรู้ สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๑๘ นิ้ว      สูงถึงยอดพระรัศมี ๒๖ นิ้ว ฐานธรรมดาไม่มีบัว สูง ๓ นิ้ว นาม  “พระพุทธะอชิตะมงคล”

•         สร้างพระพุทธรูปสมัยอยุธยา “พระพุทธโกศลธรรมรัตน์” ที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี

•         สร้างพระพุทธรูป ๑๕๔ องค์ให้แก่ผู้เรียนสัมมาอรหัง

•         สร้าง “พระปางลีลา” อีก ๕,๐๐๐ องค์ ให้แก่สมาชิกและทหาร

•         ๒๗ กันยายน ทําพิธีเททองหล่อพระประธาน  “สมเด็จพระพุทธบิดรสัมมาสัมพุทธเจ้า" (หลวงพ่อเพชร) สมัยสุโขทัย ปางตรัสรู้ หน้าตักกว้าง ๓ ศอก (๖๐ นิ้ว) สูง ๗๔ นิ้ว รัศมีสูงประมาณ ๑๐ นิ้ว ฐานสูง ๔ นิ้ว พร้อมพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตรนั่งคู่ หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี

พ.ศ. ๒๕๑๒                

·      วันที่ ๑๐ มกราคม  นําพระประธานที่สร้างมาประดิษฐาน สร้างวิหารชั่วคราวให้ท่านประทับ ถวายพระนามท่านว่า "หลวงพ่อเพชรฯ”

·      ปีนี้หลวงย่าเดินทางทอดผ้าป่ารวม ๑๖ ครั้ง เป็นเวลา ๙๑ วัน (ไม่นับวันหยุด) คิดเป็นระยะทางได้ประมาณ ๑๖,๒๘๓ ก.ม. สร้างกุศลได้ ๓๑๘ วัด ช่วยสร้างโบสถ์ได้ ๑๖๒ โบสถ์ นอกนั้นเป็นวิหารการเปรียญ โรงเรียน เมรุเผาศพ ฯลฯ ครบทั้ง ๗๑จังหวัด (ในเวลานั้นประเทศไทย มี ๗๑ จังหวัด)ทั่วทุกภาค ทั้งในกรุงเทพ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอิสาน ภาคเหนือ เลยไปเมืองลาวและเข้าเขตพม่า ภาคใต้จนจรดมาเลเชีย(ในคราวนั้นท่านเจ้าคุณเทพญาณโมลี ได้ให้ที่ดินแห่งหนึ่งในปีนัง ซึ่งมีผู้ศรัทธาถวายแด่ท่าน แก่หลวงย่าเพื่อสร้างวัตรฯ แต่หลวงย่าไม่ได้รับความกรุณานั้น เพราะไปดูแล้วชายทะเลบริเวณนั้น ชาวบ้านมีอาชีพจับสัตว์น้ำฆ่าและขายอยู่ทุกวัน)

·      ครั้งที่ ๑๖ ท่านทอดผ้าป่าที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม เพื่อสร้างโบสถ์ที่ยังไม่แล้วเสร็จ นอกจากการทอดผ้าป่าแล้ว ท่านยังช่วยบวชชายให้เป็นพระในทั่วทุกจังหวัดอีกด้วย ซึ่งเดิมหลวงย่าได้ตั้งใจไว้ว่า  ปีนี้จะบวชพระ ๑๐๘ รูป แต่รวมแล้ว ท่านบวชพระได้มากถึง ๑๖๕ รูป สามเณร ๓๙ รูป นักบวชหญิง ๓๘ รูป โดยปัจจัยที่ใช้จ่ายในการเดินทางสร้างกุศลในการบวชนี้ ท่านได้ขายที่ดินสวนส้มไป ๑ แปลง ขายทับทิมเม็ดสวยกับกําไล ๒ ข้าง กับเงินของลูกหลานญาติมิตร รวมการรักษาไข้และช่วยดูลายมือของท่าน

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         มีนาคม ๒๕๑๒ สร้างพระพุทธรูปปางสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๒๕ นิ้ว๑ องค์ และพระพุทธรูปปางเชียงแสนหน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว อีก ๑ องค์

พ.ศ.๒๕๑๓

·     กุมภาพันธ์ ท่านบริจาคเงินส่วนตัวช่วยสร้างโบสถ์วัตรทรงธรรมสี่หมื่นบาท

·     มิถุนายน บริจาคอีกหนึ่งแสนบาท เพื่อทําหลังคาโบสถ์ให้เสร็จ

·     ๘ กันยายน ท่านขายแหวนทับทิมไป 9 วง ซื้อข้าวเปลือกพันธุ์เหลืองทอง ไปแจกที่วัดลาดหญ้าไทร   อ.กําแพงแสน จ.นครปฐม

·     ๒๓ ตุลาคม  แจกข้าวสาร เสื้อผ้าและของใช้ ฯลฯ แก่คนที่ถูกไฟไหม้ที่ตลาดต้นสําโรง  อ.เมือง จ.นครปฐม

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         ๑ พฤศจิกายน ถวายพระบูชาหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ องค์ เพื่อไป ประดิษฐานที่วัตรกัลยาณีทรงธรรม จ.นครปฐม และสร้างกุฏิเล็ก ๒ หลัง

•         สร้างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ๓ องค์และเลี้ยงพระวัดพระธาตุ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


พ.ศ. ๒๕๑๔

·     ๑๔ กุมภาพันธ์ นําข้าวสารไปแจกคนจน ๓๒ กระสอบใหญ่

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         สร้างเหรียญสมเด็จพระนเรศวรแจกให้แก่ญาติมิตรเป็นมงคล

•         ฉลองพระวิหาร วัตรทรงธรรมกัลยาณี อ.เมือง จ.นครปฐม

พ.ศ.๒๕๑๔

       อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (บุตรี) กลับจากแคนาดา ซึ่งท่านเดินทางไปศึกษาในระดับปริญญาเอก และได้ค้นคว้าเรื่อง การบรรพชา อุปสมบท ของภิกษุณี (ประเทศจีน) ที่ได้สืบทอดมาอย่างถูกต้อง จากพระภิกษุณีชาวศรีลังกา อ.ฉัตรสุมาลย์ จึงได้ติดต่อ  ให้หลวงย่าได้บรรพชาอุปสมบทเป็น พระภิกษุณีโพธิสัตต์ ณ. เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน  ในวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยพระมหาสมณะ ศาสตราจารย์เต้าอัน แห่งสํานักเขาซุงซานเป็นอุปัชฌาย์ พร้อมด้วย พระอาจารย์อีก ๙ รูปพระผู้ทําพิธี ๒ รูป และพระพี่เลี้ยง ๒ รูป รวมเป็น ๑๔ รูป ได้รับฉายาทางธรรมว่า  “ สือต้าเต้าฝ่าซือ” แปลว่า“พระมหาโพธิธรรมาจารย์ วงศ์ศากยะ”

พ.ศ. ๒๕๑๕

·     วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๑๕ ไปทอดผ้าป่าที่เขาขุนพนม จ.นครศรีธรรมราชเพื่อหาหลักฐาน เรื่อง”พระโพธิสัตต์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ได้แจกเสื้อผ้า รักษาไข้ และแสดงธรรม ให้ชาวบ้านวัดเขาขุนพนมฟัง

·     วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ ท่านไปทอดกฐินที่วัดเขาขุนพนม จ.นครศรีธรรมราชอีกครั้งและช่วยซ่อมพระวิหารที่พระองค์เคยประทับเมื่อครั้งทรงลี้ภัยจาก กรุงเทพฯ กับซ่อมพระพุทธรูปซึ่งอยู่ในพระวิหารบนเขาขุนพนม ๓ องค์ หลวงย่าแน่ใจว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมิได้เสียพระสติ และมิได้ถูกประหาร กลับถึงที่พักแล้ว ท่านเขียนเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน” ให้เป็นทานบ้างขายบ้าง เพื่อหล่อพระประธานถวายพระองค์ 

·     ปีนี้พระมหาสมณะไปเซิ่ง ซึ่งทําหน้าที่คล้ายพระสังฆราชของเรา มาจากไทเป กับท่านศาสตราจารย์เต้าอัน ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน พระมหาสมณะทั้งสองได้แสดงธรรมโปรดประชาชนชาวจีน หลวงย่าได้พยายามแปลเป็นไทยและลงพิมพ์ในหนังสือวิปัสสนา-บันเทิงสาร เรื่อง “ทุกคนเป็นโพธิสัตต์ได้” กับเรื่อง "สัจจะของพระถังซําจัง"

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         หล่อพระศรีอริยเมตไตร ปิดทองทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๑๑ นิ้ว สูง ๑๔ นิ้ว บัวจีนสูง ๖ นิ้ว มีลวดลายเครื่องประดับแบบจีน

•         หล่อพระรูปสมมุติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยเงิน พระพักตร์เหมือนของเก่าจากที่ได้แบบ สูง ๑๘ นิ้ว พระนลาตฝั่งเพชรลูกเกือบ ๑ กะรัต พระเนตรทั้งสองฝังเพชรคู่ ๒ เม็ด

•         สร้างเหรียญพระรูปสมมุติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแจกลูกหลาน

พ.ศ. ๒๕๑๖

·     วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์  ๒๕๑๖ ตรงกับวันวิสาขบูชา อาราธนาหลวงพ่อเพชรฯ เข้าประทับในพระวิหารหลวง ซึ่งบนพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุและตามลวดลายดอกไม้ฝังพลอยไว้ ๘๗๕ เม็ด 

·     สมโภชน์พระศรีอริยเมตตรัยพุทธเจ้า หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ซึ่งประดิษฐานบนแท่นหน้าพระอุโบสถ

·     บรรจุพุทธสาวิกาเข้าเป็นครูสอนหนังสือใน ร.ร.ธรรมาภิสมัย ๓ รูป

·     บรรพชาให้สตรีเป็นพุทธสาวิกา ๔ รูป


พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         ๒๒ ธ.ค. ๒๕๑๖ หล่อพระพุทธรูปเพื่อถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พ.ศ. ๒๕๑๗

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ เททองหล่อพระพุทธรูปสมโภชแล้วถวายพระนามว่า “พระศรีสรรเพชญ สมเด็จพระเจ้าตากสิน อภิญญา มหาราช ปวงปราชญ์เคารพ จบทั่วแดนดิน” หน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้วเศษ สูง ๕๘ นิ้ว รัศมี ๖ นิ้วครึ่ง พร้อมพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร คู่นั่ง ตั้งใจถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

•         สร้างพระพุทธรูปชุบทองคํา ถวายวัดราษฎร์ประดิษฐ์ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์และวัดที่เพิ่งสร้างหรืออยู่ในที่ไกลชุมชน

พ.ศ. ๒๕๑๘

·      สร้างซุ้มประตูวัตรทรงธรรมกัลยาณี แบบพุทธยาน มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านําหน้า พร้อมพระแม่น้านางและภิกษุณีหมุนล้อธรรมจักรตามหลัง ควบคุมถือหางเรือพุทธยานโดย พระศรีอริยเมตตรัย

·      ท่านบริจาคปัจจัยที่ขายเครื่องแต่งตัวสมัยก่อนบวชไปห้าหมื่น เพื่อสร้างตึกกรรมฐาน ๒ ชั้น ๖ ห้อง (เรือนคุณยาย)มูลค่าทั้งหมดประมาณสองแสนสี่หมื่นบาท

·      ท่านบริจาคหนึ่งหมื่นบาทเพื่อย้ายโรงพิมพ์มาอยู่นครปฐม

·      ๒๕ พฤษภาคม  ( วันวิสาขบูชา) ท่านบริจาคปัจจัยส่วนตัวของท่านที่ขายของแต่งตัวได้ ให้เป็นทานแก่บุตรหลานใกล้ไกล และช่วยซ่อมพระปฐมเจดีย์รวมทั้งบริจาคให้มูลนิธิวัตรทรงธรรมเป็นเงิน ๒๒๐,๖๒๕บาท

·      ๒ พฤศจิกายน ท่านทําตราท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร และหลวงพ่อแช่ม ภูเก็ต แจกลูกหลานในงานกฐินผ้าป่าวัตรทรงธรรมกัลยาณี     

·      ๔-๖ ธันวาคม ถมดินให้วัตรฯ

พ.ศ. ๒๕๒๑

พระที่ท่านสร้างในปีนี้

•         เริ่มสร้างพระประธาน “พระพุทธมหาเมตตา” ขนาดหน้าตัก ๒๐ นิ้ว, ๒๕ นิ้ว, ๓๐ นิ้ว ถวายไปตามวัด ที่ยังไม่มีพระประธาน นับรวมได้กว่า ๑๐๐ องค์ มูลค่าองค์ละ ๔๕๐๐-๑๐,๐๐๐ บาท “พระพุทธมหาเมตตา” แบบของหลวงย่าที่ท่านสร้างขึ้นนั้น วงกลมที่เกิดจากนิ้วชี้และนิ้วโป้ง ท่านหมายถึง "โลก" เมื่อคนยังวุ่นวนอยู่ในโลก ก็ย่อมจะมองไม่เห็นทางพระอริยะ

•         สร้างพระพุทธเมตตา (รูปสังกัจจายน์ ด้วยโลหะ)  หน้าตัก ๙ นิ้ว จำนวน ๘๙ องค์ถวายตามวัดต่างๆในทุกจังหวัด

•         พระพุทธมหาเมตตาประชาชน หลวงย่าท่านสร้างไว้ ๓ แบบ แบบพ้นโลก แบบปางสุโขทัย และแบบปางเชียงแสน (ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ยังคงทำอยู่)

พ.ศ. ๒๕๒๒

·     ซื้อเครื่องดูดเสมหะและอุปกรณ์การแพทย์ มอบให้โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครปฐม

·     นําเสื้อผ้า อาหาร ไปมอบให้แก่ชาวไทยและเขมรอพยพที่ชายแดนจังหวัดปราจีนบุรี เป็นจำนวนมากกว่า ๒๐๐ กล่อง

พ.ศ.๒๕๒๓

·     วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์  ทูลเกล้าถวายพระพุทธรูปทองคํา ๒ องค์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ องค์แรกทองคําหนัก ๕๘ บาท เป็นทองคําแท่งของหลวงย่าหนัก ๑๐ บาท  และของลูกหลานญาติมิตร ๒ แท่ง ทองรูปพรรณต่างๆเนื้อสิบทั้งนั้น เมื่อเททองซึ่งเป็นรูปองค์พระออกแล้ว ทองที่เหลือก้นเบ้า หลวงย่าท่านเอาเงิน ๑๐๐% ใส่ลงไปหลอมปนกับทองคํา เทออกมาเป็นพระเงินปนทองคําแล้วฝังเพชรไว้ที่พระนลาตและพระเนตร อีกองค์หนึ่งถวายพร้อมกันทั้ง ๒ องค์ ที่ท่าอากาศยาน จ. เชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๒๖

·     ๕ กุมภาพันธ์  ท่านแบ่งโฉนดที่ดินของท่าน ๑ ไร่ ๓๓ วา ที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม ให้สร้างอนามัยตำบลบ้านใหม่ โดยมอบโฉนดที่ดินให้นายแพทย์เปล่ง ทองสม แพทย์สาธารณสุข จังหวัดนครปฐม

พ.ศ.๒๕๓๐

·     ๓ เมษายน  ในโอกาสที่ท่านอายุ ๘๐ ปี และบรรพชาอุปสมบทครบ ๓๒ พรรษา ท่านได้ บริจาคเงินให้ร.พ. จุฬาลงกรณ์ ๕๐,๐๐๐ บาท ร.พ.สงฆ์ ๑๑,๕๐๐ บาท ร.พ. พระมงกุฎ ๑๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๓๒

·     อัญเชิญ“พระศรีสรรเพชญ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯลฯ” หน้าตัก ๔๙ นิ้ว  พร้อมพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร คู่นั่ง ที่ท่านตั้งใจถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินฯไปประดิษฐานที่วัดเขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช

·     ถวายที่ดิน ๗๒ ไร่ สร้างวัตรพระนางจามเทวี อ.ลี้ จ.ลำพูน เพื่อเทิดพระเกียรติปฐมกษัตรีย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัย ในขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๘๒ ปีแล้ว


         ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา หลวงย่าได้ก่อตั้งอนุสงฆนี อบรมเด็กหญิงให้ได้หลักใจหลายรุ่นเป็นจำนวนนับร้อย ท่านสนับสนุนการบวชทั้งชาย-หญิง ที่มีจิตศรัทธาแต่ขาดทุนทรัพย์ และรับสตรีที่มีความประพฤติดี เข้าบวชเป็นพุทธสาวิกาให้ธรรมะและสอนการบำเพ็ญสมาธิ ท่านเป็นศูนย์รวมการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ ทั้งการแจกเสื้อผ้า เครื่องใช้ ยารักษาโรค หนังสือ เครื่องเรียน โดยเดินทางไปแทบทุกจังหวัดในประเทศไทย อีกทั้งยังได้นำลูกหลานญาติมิตร ทอดกฐิน ผ้าป่า สร้างกุศล และบำเพ็ญทานตามสถานที่ต่างๆอยู่เสมอโดยมิได้ขาด