พระสุทธิธรรมรังสี (ลี ธมฺมธโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระสุทธิธรรมรังสี

(ลี ธมฺมธโร)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด31 มกราคม พ.ศ. 2450 (54 ปี 334 วัน ปี)
มรณภาพ26 เมษายน พ.ศ. 2504
นิกายธรรมยุติกนิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดอโศการาม (จังหวัดสมุทรปราการ) สมุทรปราการ
อุปสมบท27 พฤษภาคม พ.ศ. 2470
พรรษา33
ตำแหน่งเจ้าอาวาส

พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์ หรือ ท่านพ่อลี นามเดิม ชาลี นารีวงศ์ ฉายา ธมมฺธโร เป็นพระวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทยศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และอดีตเจ้าอาวาสวัดอโศการาม (จังหวัดสมุทรปราการ)

ประวัติ[แก้]

ท่านพ่อลี มีนามเดิมว่า ชาลี นารีวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2449[1] (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2450) ที่ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายปาว นางพ่วย นารีวงศ์ ได้ช่วยบิดาทำงานจนอายุครบอุปสมบทจึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 เมื่อบวชได้ 2 พรรษา ท่านได้ฟังเทศน์จากศิษย์รูปหนึ่งของพระอาจารย์มั่น จึงเกิดเลื่อมใสออกติดตามหาพระอาจารย์มั่นจนพบท่านที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ท่านสอนให้ภาวนาว่า "พุทฺโธ ๆ" และได้ติดตามท่านออกจากจาริกไปตามที่ต่าง ๆ แล้วญัตติในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ณ มีพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เพ็ง วัดใต้ จังหวัดอุบลฯ เป็นกรรมวาจาจารย์ หลังอุปสมบทแล้วท่านยังคงถือธุดงค์ข้อฉันมื้อเดียวและอยู่โคนไม้เป็นวัตรอย่างเคร่งครัด

ท่านจาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเขมร พม่า และอินเดีย จนมาสร้างสำนักสงฆ์แม่ชีขาว จ.สมุทรปราการ ต่อมาตั้งชื่อว่า “วัดอโศการาม” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระเจ้าอโศกมหาราช และได้ก่อสร้างเสนาสนะจนวัดรุ่งเรืองเป็นที่ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนเรื่อยมาจนทุกวันนี้[2]

ท่านพ่อลีเริ่มอาพาธหนักตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2502 กระทั่งวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2504 ท่านจึงถึงแก่มรณภาพรวมอายุ 54 ปี 334 วัน พรรษา 33

สมณศักดิ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อริยะโลกที่ 6 (30 มกราคม 2559). "รำลึก114ปี-ชาตกาลหลวงพ่อลี ธัมมธโร". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. อริยะโลกที่ 6 (4 ตุลาคม 2559). "หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม ปากน้ำ". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 74 (6 ง ฉบับพิเศษ): 12. 17 ธันวาคม 2500. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 298. 17 ธันวาคม 2500. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)