ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Rattakorn c/sandbox6

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐวิกตอเรีย

Victoria
ธงของรัฐวิกตอเรีย
ธง
ตราของรัฐวิกตอเรีย
ตรา
สมญา: 
Garden State, The Place To Be, On The Move
คำขวัญ: 
"Peace and Prosperity"
(สันติภาพและความรุ่งเรือง)
แผนที่ของประเทศออสเตรเลียเน้นรัฐวิกตอเรีย
ประเทศธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
เมืองหลวงเมลเบิร์น
ตั้งเป็นอาณานิคม2393
จัดตั้งรัฐบาล2399
ประกาศเป็นรัฐ2444
รัฐธรรมนูญพรบ. รัฐธรรมนูญ 2518
พรบ. ออสเตรเลีย3 มี.ค. 2529
ข้าหลวงเดวิด เดอ เครทเซอร์
การปกครอง
 • ผู้ว่าการเทด เบลเลอ (พรรคเสรีนิยม)
 • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร37
 • สมาชิกวุฒิสภา12
พื้นที่
 • ทั้งหมด237,629 ตร.กม. (91,749 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน227,416 ตร.กม. (87,806 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ10,213 ตร.กม. (3,943 ตร.ไมล์)  4.3%
อันดับพื้นที่6
ความสูงจุดสูงสุด (เขาโบกอง)1,986 ม เมตร (Bad rounding hereFormatting error: invalid input when rounding ฟุต)
ประชากร
 (ก.ค. 2553)
 • ทั้งหมด5,547,527[1] คน
 • อันดับ2
 • ความหนาแน่น24.39 คน/ตร.กม. (63.2 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่น2
ผลิตภัณฑ์มวลรวม (2552-53)
 • ผลิตภัณฑ์$293,313[2] ล้าน
(อันดับที่ 2)
 • ต่อหัว$53 316
(อันดับที่ 2)
สัญลักษณ์
 • สีสีกรมท่าและสีเงิน
เขตเวลาUTC+10 (เวลาออมแสง: UTC+11)
รหัสไปรษณีย์VIC
รหัส ISO 3166AU-VIC
เว็บไซต์www.vic.gov.au

รัฐวิกตอเรีย เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสองในประเทศออสเตรเลีย[1] แต่เป็นหนึ่งในรัฐที่เล็กที่สุดของประเทศเช่นกัน[3] ซึ่งประชากรส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่นครหลวงเมลเบิร์นเมืองหลวงของรัฐ ชื่อ "วิกตอเรีย" นำมาจากพระนามพระราชินีวิกตอเรียซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขในขณะนั้น ยุคตื่นทองในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1850 ดึงดูดให้ผู้คนจำนวนมากย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณรัฐนี้จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมกระทั่งปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การปกครอง

[แก้]
สภาแห่งรัฐวิกตอเรียที่กรุงเมลเบิร์น

ธรรมนูญของรัฐซึ่งประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2518 กำหนดแนวทางการปกครองรัฐ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงธรรมนูญต้องผ่านสภารัฐ ขณะนี้กำลังเสนอให้ต้องผ่านการทำประชามติด้วย

อำนาจบริหาร

[แก้]

พระประมุขของเครือรัฐออสเตรเลียซึ่งก็คือพระราชินีเอลิซาเบธทรงบริหารอำนาจผ่าน "ข้าหลวงประจำรัฐวิกตอเรีย" (Governor of Victoria)[4] ทำหน้าที่เป็นผู้แทนพระองค์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ว่าการรัฐและคณะรัฐมนตรี (แต่ก็มีอำนาจปลดผู้ว่าการรัฐได้เช่นกัน) รวมทั้งตรวจสอบว่าการปกครองเป็นไปด้วยระบอบประชาธิปไตยอย่างโปร่งใส ในทางปฏิบัติแล้วข้าหลวงเป็นผู้ต้อนรับพระราชอาคันตุกะและเข้าร่วมงานที่ต้องการผู้แทนที่เป็นกลางทางการเมือง[5] ตำแหน่งดังกล่าวมักจะเป็นข้าราชการชาววิกตอเรียนที่ปลดเกษียณแล้ว ข้าหลวงคนปัจจุบันคือ เดวิด เดอเครทเซอร์

การบริหารแบ่งออกเป็นสามระดับซึ่งกำหนดตามรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย ได้แก่[6]

  • การปกครองโดยสหพันธรัฐ (Federal government) ดูแลด้านความมั่นคง การต่างประเทศ การตรวจคนเข้าเมือง การพาณิชย์ และการสื่อสารโทรคมนาคม
  • การปกครองโดยรัฐ (State government) มี "ผู้ว่าการรัฐวิกตอเรีย" (Premier of Victoria) เป็นผู้บริหารพร้อมกับคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ผู้ว่าการจะต้องเป็นหัวหน้าพรรคหรือหัวหน้าคณะพรรคร่วมรัฐบาลที่มีเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาล่างของรัฐ คณะรัฐมนตรีต้องเป็นผู้แทนจากสภาล่างหรือสภาสูง รัฐบาลรัฐมีหน้าที่ดูแลด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการรักษาความสงบเรียบร้อย ผู้ว่าการรัฐคนปัจจุบันคือ เทด เบลเลอ
  • การปกครองส่วนท้องถิ่น (Local government) จะมีสำนักงานส่วนท้องถิ่น (Council) ดูแลเรื่องส่วนท้องถิ่น เช่น สวนสาธารณะ การกำจัดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น รัฐวิกตอเรียมีเขตปกครองส่วนท้องถิ่น 79 เขตด้วยกัน[7] ผู้ดูแลเขตปกครองส่วนท้องถิ่นจะเรียกว่า Councillor มาจากการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี
สภาแห่งรัฐวิกตอเรีย
พรรค สมัชชา สภา
พรรคแรงงาน 43 16
พรรคเสรีนิยม 35 18
พรรคชาติ 10 3
กรีนส์ 0 3
แหล่งที่มา: กกต.รัฐวิกตอเรีย

อำนาจนิติบัญญัติ

[แก้]

รัฐวิกตอเรียปกครองโดยใช้ระบบสองสภา[4] ได้แก่

  • สภาล่าง เรียกว่า Victorian Legislative Assembly - มีผู้แทน 88 คนจาก 88 เขตเลือกตั้ง สมัยละ 4 ปี
  • สภาสูง เรียกว่า Victorian Legislative Council - มีผู้แทน 40 คนจาก 8 เขตเลือกตั้ง สมัยละ 4 ปี

โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี ในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน[5]

นอกจากนี้จะมีผู้แทนอีก 49 คนในรัฐสภาแห่งออสเตรเลียเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนรัฐ เป็น ส.ส. 37 คน และ ส.ว. อีก 12 คน

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ไฟล์:ภาพถ่ายทางอากาศวิกตอเรีย.jpg
ภาพถ่ายทางอากาศของรัฐ

รัฐวิกตอเรียมีภูมิประเทศอันหลากหลาย พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น (temperate) ประมาณร้อยละ 36 เป็นป่าไม้ พื้นที่สูงสุดอยู่ประมาณ 2000 ม. เหนือระดับน้ำทะเล แม่น้ำเมอร์เรย์ (Murray) ที่อยู่ทางเหนือเป็นแม่น้ำที่มีความยาวที่สุดของรัฐ นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบขนาดใหญ่หลายแห่งและชายฝั่งที่ทอดยาวราว 1,600 กิโลเมตร ช่องแคบบาสส์ (Bass) แยกระหว่างรัฐวิกตอเรียและออสเตรเลียแผ่นดินใหญ่กับรัฐแทสเมเนีย

รัฐวิกตอเรียมีภูมิอากาศอันหลากหลายถึงแม้ว่าจะเป็นรัฐขนาดเล็กก็ตาม ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือจะมีอากาศร้อน ส่วนชายฝั่งทะเลมีอากาศเย็น เทือกเขาเกรทดิไวดิงทำให้บริเวณกลางรัฐมีภูมิอากาศเย็นแบบภูเขา อย่างไรก็ดีเพราะว่าอยู่ใต้สุดของเกาะออสเตรเลียอากาศทั่วไปจึงหนาวเย็นและมีฝนตกหนักกว่ารัฐอื่น ๆ ลมจากมหาสมุทรใต้ที่พัดมาในฤดูร้อนเย็นกว่าอากาศปกติ และที่พัดมาในฤดูหนาวก็ศอุ่นกว่าอากาศปกติ ลักษณะอุณหภูมิที่เหมาะสมเช่นนี้ทำให้เมืองใหญ่ ๆ ส่วนมากตั้งอยู่ที่แถบนี้ เช่น เมืองเมลเบิร์น

บริเวณต่าง ๆ

[แก้]
แผนที่รัฐวิกตอเรียอย่างย่อ
แผนที่รัฐวิกตอเรียอย่างย่อ

รัฐวิกตอเรียมีเทศบาล (local government area) ถึง 79 เขตด้วยกัน[8] แต่สามารถแบ่งเป็นบริเวณต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ให้เข้าใจง่ายดังภาพข้างต้น

  • เขตนครหลวงเมลเบิร์น (City of Melbourne) รวมเมืองเมลเบิร์นและปริมณฑล ซึ่งเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจ การเงิน และวัฒนธรรม ประชากรของรัฐประมาณร้อยละ 75 อาศัยอยู่
  • เขตเหนือ เป็นพรมแดนระหว่างรัฐวิกตอเรียกับรัฐนิวเซาท์เวาส์ มีภูมิประเทศอันหลากหลาย โดยมีแม่น้ำเมอร์เร่ตัดผ่าน บริเวณบางส่วนแห้งแล้ง แต่บางที่ก็สามารถปลูกฟาร์มองุ่นได้ เช่น เมืองมิลดูร่า
  • เขตตะวันออกเฉียงเหนือ บางส่วนเป็นที่ราบสูง (High Country) ทำให้สามารถเล่นสกีในฤดูหนาวได้ ขณะที่บางส่วนสามารถปลูกองุ่นได้เช่นที่เมืองเชพพาร์ตัน[9]
  • เขตตะวันตก รวมบริเวณเมืองต่าง ๆ ที่เคยเป็นเหมืองแร่ทองคำในอดีต เช่น เมืองบัลลาแรท ส่วนเมืองฮอร์แชมก็อยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติแกรมเปียนส์ซึ่งเป็นที่นิยมของนักไต่เขา
  • เขตตะวันตกเฉียงใต้ มีถนนที่ขึ้นชื่อคือถนนเกรทโอเชียน ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติพอร์ทแคมป์เบลริมทะเล
  • เขตกิบบสแลนด์[10] (Gippsland) มีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ทั้งแม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ภูเขา ทะเลสาบ ตลอดจนเขตสงวนและอุทยานแห่งชาติ[11]

อุณหภูมิ

[แก้]

ภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ร้อนที่สุดเพราะมีลมพัดมาจากทะเลทรายใกล้เคียง อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 30 องศา ส่วนในฤดูหนาวอุณหภูมิประมาณ 15 องศา อุณหภูมิสูงที่สุดที่เคยวัดได้อยู่ที่ 48.8 องศา ที่เมือง Hopetoun (ระหว่างช่วงคลื่นความร้อนพัดผ่านในปี 2552)[12]

ภูเขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเกรทดิไวดิงเป็นบริเวณที่เย็นที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวต่ำกว่า 9 องศา บางแห่งมีอุณหภูมิติดลบ โดยอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้อยู่ที่ –11.7 องศา ในปี 2508 และปี 2513[12]

ข้อมูลภูมิอากาศของรัฐวิกตอเรีย
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 25.9
(78.6)
25.8
(78.4)
23.9
(75)
20.3
(68.5)
16.7
(62.1)
14.0
(57.2)
13.4
(56.1)
15.0
(59)
17.2
(63)
19.7
(67.5)
21.9
(71.4)
24.2
(75.6)
19.83
(67.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 14.3
(57.7)
14.6
(58.3)
13.2
(55.8)
10.8
(51.4)
8.6
(47.5)
6.9
(44.4)
6.0
(42.8)
6.7
(44.1)
8.0
(46.4)
9.5
(49.1)
11.2
(52.2)
12.9
(55.2)
10.23
(50.41)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 47.7
(1.878)
47.4
(1.866)
50.4
(1.984)
57.1
(2.248)
55.7
(2.193)
49.1
(1.933)
47.6
(1.874)
50.2
(1.976)
58.0
(2.283)
66.4
(2.614)
60.1
(2.366)
59.3
(2.335)
649
(25.551)
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย[13]

หยาดน้ำฟ้า

[แก้]

วิกตอเรียเป็นรัฐที่มีฝนตกมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศรองลงมาจากรัฐแทสเมเนีย โดยทางใต้จะมีฝนมากกว่าทางเหนือและที่สูงมากกว่าที่ต่ำ เช่น พื้นที่แถบกิบบสแลนด์ (เป็นพื้นที่ทางเกษตรกรรม) บริเวณทางใต้ของรัฐ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากที่สุด ในบางครั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกต่อปีสูงกว่า 1800 มม. ขณะที่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีน้อยกว่า 250 มม. ส่วนหิมะนั้นปกติจะตกบริเวณกลางรัฐที่มีภูเขาอยู่มาก[12]

ประชากรศาสตร์

[แก้]
แนวโน้มประชากร
2539 4,932,000
2550 5,087,000
2554 5,500,000
2559 6,000,000
2564 6,400,000
2569 6,800,000
2574 7,300,000
แหล่งที่มา: สำนักงานวางแผนและพัฒนาชุมชน
เมืองเมลเบิร์นมีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด

ประชากรยุคบุกเบิกส่วนใหญ่แล้วมาจากประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์ ภายหลังมีประชากรจากทั้งยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก ประชากรราวสองในสามระบุว่ามีเชื้อสายออสเตรเลีย สกอต อังกฤษ หรือไอริช มีประชากรไม่ถึง 1% ที่ระบุว่าตนเป็นชาวอะบอริจิน ชาววิกตอเรียนประมาณ 72% ระบุว่าเกิดที่ประเทศออสเตรเลีย

เมืองเมลเบิร์นมีประชากรอยู่ประมาณ 3.9 ล้านคน เมืองอื่น ๆ ที่มีประชากรเป็นอันดับรอง ๆ คือ จีลอง บัลลาแรท เบนดิโก เชพพาร์ตัน มิลดูร่า และวอร์นัมบูล[14]

เมื่อเทียบกับรัฐอื่น ๆ แล้ววิกตอเรียเป็นรัฐที่มีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองมากที่สุดถึง 90% ในปี 2546 รัฐบาลรัฐเริ่มรณรงค์ให้ผู้คนย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานนอกเมือง[15] แต่ความพยายามดังกล่าวก็ไม่เป็นผลเท่าใดนัก โดยดูได้จากสถิติการเติบโตของประชากรในเมืองเมลเบิร์นอย่างต่อเนื่อง[16]

ส่วนในด้านโครงสร้างอายุ สำนักงานสถิติแห่งชาติคาดการณ์ว่าในอนาคตรัฐวิกตอเรียจะมีปัญหาเรื่องจำนวนที่ลดน้อยลงของประชากรเด็ก และจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ชรา โดยสามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้

การคาดการณ์โครงสร้างอายุ[17]
พื้นที่ อายุ ≤ 14 อายุ ≥ 60 อายุเฉลี่ย
2545 (%) 2594 (%) 2545 (%) 2594 (%) 2545 (%) 2594 (%)
รัฐวิกตอเรีย 19.7 13.6 13.1 27.3 36.0 46.9
ทั้งประเทศ (เฉลี่ย) 20.3 14.0 12.7 27.1 35.9 46.8

ศาสนา

[แก้]

ประชากรราว 60.5% ระบุว่านับถือศาสนาคริสต์ โดยนับถือนิกายคาทอลิกมากที่สุด (27.5%) รองลงมาคือนิกายอังกลิคันและโปรเตสแตนต์ ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธมีผู้นับถือประมาณ 13,000 คน ศาสนาอิสลาม 109,000 คน และชาวยิวอีกประมาณ 40,000 คน ประชากรราว 20% ไม่นับถือศาสนาใด อย่างไรก็ดีอัตราการเข้าวัดก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ[18]

ในปี 2551 คู่สมรสที่เลือกแต่งงานในโบสถ์ลดลงมาเหลือ 36% ในขณะที่เหลือเลือกจดทะเบียนสมรสที่หน่วยงานท้องถิ่นเท่านั้น[19]

การศึกษา

[แก้]

ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

[แก้]

การศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษามี 7 ปี และในระดับมัธยมมี 6 ปี การศึกษาภาคบังคับระหว่างอายุ 6 - 17 ปี

โรงเรียนมีอยู่สองระบบด้วยกันคือโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน โรงเรียนรัฐจะไม่เสียค่าใช้จ่าย (สำหรับพลเมืองออสเตรเลีย) บริหารโดยรัฐบาลแห่งรัฐวิกตอเรีย ส่วนโรงเรียนเอกชนจะเป็นโรงเรียนศาสนา มีทั้งคาทอลิก โปรเตสแตนต์ ยิว และอิสลาม ได้รับเงินสนับสนุนจากทางรัฐบ้าง โรงเรียนที่สอบคัดเลือกนักเรียนเข้ามามีอยู่ 5 แห่งเท่านั้น ทั้งนี้ทุกโรงเรียนจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนด

ปัจจุบันรัฐวิกตอเรียมีโรงเรียนทั้งหมด 2241 แห่ง เป็นโรงเรียนรัฐอยู่ 1539 แห่ง มีนักเรียนศึกษาในโรงเรียนรัฐประมาณ 540,000 คน ส่วนโรงเรียนเอกชนมีอยู่ 702 แห่ง [20]

อุดมศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยแห่งเมลเบิร์น

รัฐวิกตอเรียเป็นรัฐที่ชาวไทยนิยมไปศึกษาต่อเป็นอันดับสอง[3] มีมหาวิทยาลัยอยู่ 9 แห่งด้วยกัน[21] ได้แก่

ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือมหาวิทยาลัยแห่งเมลเบิร์นซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งแห่งที่สองในประเทศออสเตรเลีย เและมหาวิทยลัยโมแนช

มหาวิทยาลัยหลายแห่งจะให้ทุนช่วยเหลือค่าเล่าเรียน[3] เช่น มหาวิทยาลัยแห่งเมลเบิร์น[22] มหาวิทยาลัยโมแนช [23] และมหาวิทยาลัยดีคิน (Deakin University)[24]

ห้องสมุดรัฐวิกตอเรีย

ห้องสมุด

[แก้]

ห้องสมุดรัฐวิกตอเรียเก็บรวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรัฐ และนำออกเผยแพร่ผ่านทางโปรแกรมและบริการต่าง ๆ ด้วยกัน สำหรับประเภทสื่อท่ีสามารถค้นคว้าได้มีทั้งหนังสือ แผนที่ รูปภาพ วัตถุ ตลอดจนคลิปวิดีโอ คลิปเสียง และฐานข้อมูลด้วย

นอกจากนี้เขตปกครองส่วนท้องถิ่นจะดูแลรักษาห้องสมุดในบริเวณของตน


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 3101.0 - Australian Demographic Statistics, June 2010 สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (อังกฤษ)
  2. 5220.0 – Australian National Accounts: State Accounts สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (อังกฤษ)
  3. 3.0 3.1 3.2 ทุนเรียนฟรีที่เรียนต่อ ออสเตรเลีย + นิวซีแลนด์. สำนักพิมพ์ ฏ ปฏัก. 2551. p. 38. ISBN 978-974-04-1852-8.
  4. 4.0 4.1 Parliament of Victoria - About Parliament สภาแห่งรัฐวิกตอเรีย (อังกฤษ)
  5. 5.0 5.1 State Government TravelVictoria.com (อังกฤษ)
  6. Parliament of Victoria - Three levels of government สภาแห่งรัฐวิกตอเรีย (อังกฤษ)
  7. Local Government TravelVictoria.com (อังกฤษ)
  8. Victorian Local Government Directory สำนักงานวางแผนการพัฒนาชุมชน รัฐวิกตอเรีย (อังกฤษ)
  9. High Country TravelVictoria.com (อังกฤษ)
  10. Gippsland howjsay.com
  11. Gippsland TravelVictoria.com (อังกฤษ)
  12. 12.0 12.1 12.2 "Austrlian temperature extreme" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย. สืบค้นเมื่อ 6 เม.ย. 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  13. "Climate statistics for Australian locations". กรมอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย. สืบค้นเมื่อ 3 เม.ย. 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "3218.0 - Regional Population Growth, Australia, 2007-08". สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย. 23 เม.ย. 2552. สืบค้นเมื่อ 6 เม.ย. 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  15. Provincial Victoria (อังกฤษ)
  16. โคลแบตช์, ทิม (24 เม.ย. 2552). "Pressure grows as Melbourne rockets to 4 million". ดิ เอจ. Melbourne. (อังกฤษ)
  17. Australia Social Trends 2547 (อังกฤษ)
  18. 2006 Census Community Profile Series : Victoria (อังกฤษ)
  19. More Victorians ditching the church, and opting for registry wedding Herald Sun (อังกฤษ)
  20. Summary Statistics for Victorian Schools Department for Education, Government of Victoria สืบค้นข้อมูลวันที่ 8 เม.ย. 2554 (อังกฤษ)
  21. Victorian universities in Victoria Australia australian-universities.com (อังกฤษ)
  22. Melbourne International Fee Remission Scholarships (MIFRS) University of Melbourne {{en icon}]
  23. Applying for a postgraduate scholarship Monash University (อังกฤษ)
  24. Research scholarships Deakin University (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ทางการ
อื่น ๆ