ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Pppp5678/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทศบาลตำบลอุดมธัญญา ได้รับฐานะให้เป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 มีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็น 16หมู่บ้าน

เทศบาลตำบลอุดมธัญญา
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลอุดมธัญญา
ตรา
สมญา: 
ทต.อุดมธัญญา
คำขวัญ: 
เกษตรกรรมล้ำเลิศ ชูเชิดเทียนพรรษา ลอยกระทงงามตา การกีฬาขจรไกล
ไฟล์:เทศบาลตำบลอุดมธัญญา
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
อำเภอตากฟ้า
จัดตั้ง• 12 มีนาคม 2538
(องค์การบริหารส่วนตำบลอุดมธัญญา)
• 12 กันยายน 2554
(เทศบาลตำบลอุดมธัญญา)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเรวัต เกิดแสง
พื้นที่208.9
 • ทั้งหมด208.9 ตร.กม. (80.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ปีที่สำรวจ 2561)
 • ทั้งหมด10,270 คน
 • ความหนาแน่น49 คน/ตร.กม. (130 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
109 หมู่14 ตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 60190 ประเทศไทย ไทย
เว็บไซต์www.udomthanya.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลพุนกยูง อำเภอตากฟ้า

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี

ประวัติความเป็นมา[แก้]

ก่อนปี พ.ศ. 2513 ตำบลอุดมธัญญา เป็นหมู่บ้านในเขตการปกครองของตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี ระยะเวลาย้อนหลังไป 20 ปี ถนนสายตาคลี – ท่าตะโก เป็นเส้นทางรถไฟ และเป็นเส้นทางในการบรรทุกฟืน เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถไฟมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวขับเคลื่อน ทางรถไฟจึงถูกรื้อถอนเป็นถนนลูกรัง และถนนลาดยางในปัจจุบันนี้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 กระทรวงมหาดไทยได้แยกอำเภอตากฟ้าจากการปกครองออกของอำเภอตาคลี พร้อมกับแยกหมู่บ้านออกจากตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี และตั้งเป็นตำบลชื่อตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า

ประวัติหน่วยงาน ตำบลอุดมธัญญา ได้รับการจัดตั้งจากสภาตำบลอุดมธัญญา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลอุดมธัญญา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2538 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 และมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลครั้งแรก ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2555 ปัจจุบันเทศบาลตำบลอุดมธัญญาเป็นเทศบาลตำบลประเภทสามัญ

เขตการปกครอง[แก้]

  • หมู่ที่ 1 บ้านคุ้งพัฒนา
  • หมู่ที่ 2 บ้านล้ำเจริญ
  • หมู่ที่ 3 บ้านดำรงรักษ์
  • หมู่ที่ 4 บ้านปรายราง
  • หมู่ที่ 5 บ้านอุดมธัญญา
  • หมู่ที่ 6 บ้านพุมะค่า
  • หมู่ที่ 7 บ้านโค้งบ้านใหม่
  • หมู่ที่ 8 บ้านหัวประแจ
  • หมู่ที่ 9 บ้านไร่ศรัทธาราษฎร์
  • หมู่ที่ 10 บ้านแคทราย
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองสุขสันต์
  • หมู่ที่ 12 บ้านสระเกตุโมรี
  • หมู่ที่ 13 บ้านพุม่วง
  • หมู่ที่ 14 บ้านหลักสิบเก้า
  • หมู่ที่ 15 บ้านหนองกระเปียน
  • หมู่ที่ 16 บ้านหนองรั้ว

การศึกษา[แก้]

โรงเรียนมัธยมศึกษา[แก้]

ลำดับที่ ชื่อโรงเรียน หมายเหตุ
1 โรงเรียนอุดมธัญญาประชานุเคราะห์

โรงเรียนประถมศึกษา[แก้]

ลำดับที่ ชื่อโรงเรียน หมายเหตุ
1 โรงเรียนบ้านล้ำเจริญ
2 โรงเรียนบ้านดำรงรักษ์(ประชาอุทิศ) ขยายโอกาส
3 โรงเรียนบ้านอุดมธัญญา
4 โรงเรียนบ้านพุมะค่า
5 โรงเรียนบ้านไร่ศรัทธาราษฎร์
6 โรงเรียนบ้านแคทราย
7 โรงเรียนบ้านหนองสุขสันต์
8 โรงเรียนบ้านสระเกตุโมรี
9 โรงเรียนบ้านหลักสิบเก้า










โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ เป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอตากฟ้า ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวิทยาลัยการอาชีพตากฟ้า ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2517[1]

โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์
ตราโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์
เลขที่9 หมู่ที่1 ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

นครสวรรค์
ข้อมูล
คำขวัญสามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้
สถาปนา20 พฤษภาคม พ.ศ.2517
(50 ปี 43 วัน)
ผู้ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
การกำกับดูแลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
รหัส60100760
ผู้บริหารนายอิทธิรัฐ น้อยเกิด
เพศสหศึกษา
การลงทะเบียน912 คน
(ปีการศึกษา2565)
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร สหรัฐ ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สี███ ม่วง
███ เหลือง
เพลงมาร์ชโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์
เว็บไซต์www.tw.ac.th

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  20 พฤษภาคม  2517  โดยเปิดทำการสอนครั้งแรกโดยอาศัยอาคารเรียนชั่วคราวหลังคามุงแฝกในวัดตากฟ้า พระอารามหลวง เป็นที่เรียนมีครู 4 คน นักเรียน 67 คน[2]

  • พ.ศ.2518  โรงเรียนได้ย้ายจากวัดตากฟ้ามาสร้างอาคารชั่วคราวในที่ของโรงเรียนเองและกรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรอาคารเรียนถาวรครึ่งหลัง    4 ห้องเรียนพร้อมบ้านพักครู  1  หลัง  ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน  1  หลัง  บ้านพักนักการ 1 หลัง  และได้จัดสรรอาคารเรียนตึกอีกครึ่งหลังในปีต่อมา
  • พ.ศ.2520 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารตึกเต็มหลังแบบ 216 ก. และอาคารชั่วคราว ปีนี้โรงเรียนได้รับโล่ นักเรียนมีความประพฤติดีบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นเจ้าภาพจัดงาน ช.ก.ท.ระดับจังหวัด
  • พ.ศ.2521 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารชั่วคราว 3 ห้องเรียน บ้านพักครู 1 หลัง มีครู 25 คน มีนักเรียน 510 คน นักการภารโรง 3 คน
  • พ.ศ.2522  โรงเรียนจัดหาเงินบริจาค  ซื้อเครื่องดุริยางค์ได้จำนวน 60,000 บาท  มีครู 27 คน นักเรียน 650 คน นักการภารโรง 3 คน
  • พ.ศ.2523 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารฝึกงาน 1 หลัง มีครู 27 คน นักเรียน 650 คน นักการภารโรง 3 คน
  • พ.ศ.2524 กรมสามัญศึกษา จัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง และอุปกรณ์ฝึกงานคหกรรม มีครู 37 คน นักเรียน 650 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2525 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีครู 42 คน นักเรียน 670 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2526 วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ได้รับอนุมัติให้เปิดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีครู 42 คน นักเรียน 700 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2527 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารฝึกงาน 1 หลัง สร้างรั้วหน้าโรงเรียนยาว 150 เมตร มีครู 46 คน นักเรียน 750 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2528 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างถังเก็บน้ำฝน 3 ถัง มีครู 46 คน นักเรียน 870 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2529 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง ในปีนี้โรงเรียนได้รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน ช.ก.ท. ระดับจังหวัด มีครู 47 คน นักเรียน 807 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2530 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีครู 50 คน นักเรียน 618 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2531 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างห้องส้วมนักเรียน 1 หลัง มีครู 50 คน นักเรียน 750 คน นักการภารโรง 5 คน พนักงานขับรถ 1 คน
  • พ.ศ.2532 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล. จำนวน 1 หลัง มีครู 48 คน นักเรียน 860 คน นักการภารโรง 5 คน พนักงานขับรถ 1 คน
  • พ.ศ.2533 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างถนนลาดยางในโรงเรียนยาว 200 เมตร มีครู 47 คน นักเรียน 914 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน
  • พ.ศ.2534 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารหอประชุม 1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน 1 หลัง มีครู 45 คน นักเรียน 1,022 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2535 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักนักการ 1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน 1 หลัง มีครู 43 คน นักเรียน 1,032 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2536 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้าง ถังน้ำประปาแบบ 9/9 วงเงิน 19,000 บาท 1 ถัง มีครู 47 คน นักเรียน 1,178 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2537 ชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์มอบรถตู้ 1 คัน พร้อมอุปกรณ์มูลค่า 600,000 บาท มีครู 49 คน นักเรียน 1,251 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2538 บริษัท ไทยแลนด์ โพสต์ มิกซ์ ดิสตริบิวชั่น จำกัด บริจาครถยนต์กระบะ สเปซแคป 1 คัน และจานดาวเทียม มีครู 48 คน นักเรียน 1,361 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2539 สร้างถนนคอนกรีตเข้าโรงเรียน ระยะทาง 100 เมตร เป็นเงิน 246,042 บาท มีครู 51 คน นักเรียน 1,466 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2540 ได้งบประมาณ 15 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารเรียน 424 ล.(พิเศษ) ปรับปรุงอาคารเรียน 1 เป็นเงิน 400,000 บาท มีครู 50 คน นักเรียน 1,441 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2541 จัดทำป้ายโรงเรียน สร้างถนนคอนกรีตหน้าอาคาร 2 ปรับปรุงสนามบาสเกตบอลและสร้างเพิ่มอีก 1 สนาม ปรับปรุงสนามฟุตบอลและสวนหย่อมภายในโรงเรียน มีครู 49 คน นักเรียน 1,520 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2542 สร้างถนนคอนกรีตทางเข้าโรงเรียนด้านหน้าอาคาร 1 และด้านหน้าโรงอาหาร สร้างสนามบาสเกตบอล 2 สนาม(สนามปรับปรุง)มีครู 50 คน นักเรียน 1,581 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2543 โรงเรียนจัดหาเงินบริจาคสร้างเสาธงชาติ มีครู 52 คน นักเรียน 1,385 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2544 มีครู 53 คน นักเรียน 1,204 คน นักการภารโรง 4 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2545 ได้รับงบประมาณในการจัดสร้างห้องน้ำห้องส้วมนักเรียนจำนวน 1 หลัง มีครู 52 คน นักเรียน 1,445 คน นักการภารโรง 4 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2546 จัดสร้างองค์พระประจำวันโรงเรียนและ ศาลพระพรหม มีครู 49 คน นักเรียน 1,185 คน นักการภารโรง 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน
  • พ.ศ.2547 มีครู 48 คน นักเรียน 1,144 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน มีอาคารเรียน 3 หลัง หอประชุม 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง อาคารฝึกงาน 2 หลัง สนามบาสเกตบอล 2 สนาม สนามฟุตบอล 1 สนาม ส่วนโรงอาหารได้จัดสร้างขึ้นเอง นอกจากนี้ยังมีเรือนเพาะชำ สวนป่าบริเวณทั่วไป จัดเป็นสวนหย่อมหน้าอาคารเรียนมีโต๊ะหินขัดจัดวางให้นักเรียนนั่งพักผ่อนทำให้เกิดความร่มรื่นสวยงาม ระบบสาธารณูปโภคครบครัน ในการอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน พร้อมทั้งจัดสร้างโรงเก็บรถนักเรียน 1 หลัง จัดทำรั้วโรงเรียนเพิ่มเติม ห้องประชาสัมพันธ์และห้องสมุดโรงเรียนได้จัดหางบประมาณในการสร้าง
  • พ.ศ.2548 มีครู 48 คน นักเรียน 1,227 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน มีการจัดสร้างอาคารร้านสวัสดิการโรงเรียน
  • พ.ศ.2549 มีครู 48 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน นักเรียน 1,260 คน และมีการจัดหางบประมาณจัดสร้างอาคารเรือนพยาบาล 1 หลัง อาคารหอศิลป์และวัฒนธรรม 1 หลัง และก่อสร้างรั้วคอนกรีตด้านทิศเหนือของโรงเรียน
  • พ.ศ.2550 มีครูประจำการ 50 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 5 คน นักเรียน 1,273 คน มีการจัดหางบบริจาค 1,700,000 บาท จัดสร้างโรงอาหารขนาด 32 x 45 เมตร จำนวน 1 หลัง และก่อสร้างรั้วคอนกรีตด้านทิศใต้ยาว 100 เมตร ของโรงเรียนและจัดซื้อรถบรรทุก 6 ล้อ (ยี่ห้อ HINO 150 แรงม้า) จากงบบริจาคจำนวน 300,000 บาท เพื่อรับส่งครูและนักเรียน ปวช. ไปเรียนภาคปฏิบัติที่วิทยาลัยการอาชีพอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีการปรับปรุงซ่อมแซมป้อมยามและโรงเก็บรถของนักเรียน กำลังก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาด 4 ห้องเรียน
  • พ.ศ.2551 มีครูประจำการ 46 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน นักเรียน 1,226 คน
  • พ.ศ.2552 มีฝ่ายบริหารจำนวน 5 คน ครู 39 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน นักเรียน 1,230 คน
  • พ.ศ.2553 มีฝ่ายบริหารจำนวน 5 คน ครู 36 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน นักเรียน 1,142 คน มีการตัดแต่งต้นไม้ปรับภูมิทัศน์รอบโรงเรียน ขุดบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • พ.ศ.2554 ปรับปรุงต่อเติมห้องทำงานอาคาร 2 จัดทำห้องน้ำครูด้านหลังอาคาร 2 ปรับปรุงห้องติวเตอร์ ก่อสร้างอาคารห้องดนตรี ติดตั้งกล้อง CCTV ตามจุดสำคัญต่างๆ ทั่วโรงเรียน มีครู 52 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 7 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน นักเรียน 1,123 คน
  • พ.ศ.2555 จัดทำระบบน้ำประปาดื่มได้ “น้ำดื่มหยาดพิรุณ” โดยการสนับสนุนจากกรมทรัพยากรธรณีและจำหน่ายให้กับชุมชน จัดทำผ้าป่าโรงเรียนเพื่อหาทุนซื้อรถมินิบัสให้กับโรงเรียน ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล วงเงิน 300,000 บาท ก่อสร้างอาคารห้องกิจการนักเรียน มีครู 56 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 5 คน นักเรียน 1,081 คน
  • พ.ศ.2556 ปรับปรุงสถานที่โดยการติดตั้งไฟสปอร์ตไลท์รอบสนามฟุตบอล ปรับปรุงอาคารโดยการทาสีใหม่ทุกอาคาร มีครู 52 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน นักเรียน 1,097 คน
  • พ.ศ.2557 ปรับปรุงห้องธุรการ ห้องผู้บริหาร ห้องประชุมรุ่งพิรุณ ห้องประชุมเทวาบัณฑิต ห้องอรุณปัญญา ทำประตูเปิด ปิดหน้าโรงเรียน และก่อสร้างอาคารสภานักเรียนใหม่
  • พ.ศ.2558 เปิดห้องเรียนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์(สวค.) โรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสุจริตและโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มีฝ่ายบริหารจำนวน 6 คน ครู 51 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน นักเรียน 1,082 คน
  • พ.ศ.2559 มีฝ่ายบริหาร จำนวน 5 คน ครู 51 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน นักเรียน 1,030 คน

แผนการเรียน[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ห้อง 1-2 วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 3 ภาษาต่างประเทศ
  • ห้อง 4-6 ทั่วไป

มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ห้อง 1-2 วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 3 ภาษาต่างประเทศ
  • ห้อง 4-5 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ[3]

อาคารและสถานที่[แก้]

อาคาร1 สร้างเมื่อ พ.ศ.2520

อาคาร2 สร้างเมื่อ พ.ศ.2532

อาคาร3 สร้างเมื่อ พ.ศ.2540

อาคารอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2533

ห้องสมุด สร้างเมื่อ พ.ศ.2547

สนามฟุตบอล สร้างเมื่อ พ.ศ.2535

สนามบาสเกตบอล สร้างเมื่อ พ.ศ.2542

โดม สร้างเมื่อ พ.ศ.2562[4]

คณะสี[แก้]

ชื่อคณะสี สีประจำคณะ สี
มรกต เขียว ███
ไพลิน ฟ้า ███
บุษราคัม เหลือง ███
โกเมน แดง ███

ปรัชญา/คำขวัญ[แก้]

ปรัชญาของโรงเรียน สุวิชาโน ภวํ โหติ “ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ”

คำขวัญประจำโรงเรียน “สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้”


ดอกไม้ประจำโรงเรียน  : ดอกเฟื่องฟ้า

เพลงประจำโรงเรียน  : เพลงมาร์ชโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์

อักษรย่อโรงเรียน  : ต.ว.

ตราสัญลักษณ์  : พิรุณ – เมฆา


พิรุณ  รูปหยดน้ำ   หมายถึง  ความบริสุทธิ์  ความชื่นเย็นเหมือนสายฝน

เมฆา  ก้อนเมฆ     หมายถึง  การรวมตัวแสดงถึงพลังสามัคคี[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "หน้าหลัก". www.tw.ac.th.
  2. "หน้าหลัก". www.tw.ac.th.
  3. "หลักสูตรโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์". www.tw.ac.th.
  4. "โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์". data.bopp-obec.info.
  5. "ปรัชญา/คำขวัญ". www.tw.ac.th.