ผู้ใช้:Phonchai7494/ทดลองเขียน
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พระอาจารย์จีนธรรมานุกร ( เย็นเกา) | |
---|---|
ชื่ออื่น | เองใช้ แซ่เล้า |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ต.ค. 2489 จังหวัดกาญจนบุรี (78 ปี) |
นิกาย | มหายาน คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย |
การศึกษา | มัธยมศึกษาตอนปลาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดโพธิทัตตาราม 普德寺 ชลบุรี |
รางวัล | เสาอโศกผู้นำศีลธรรม |
บรรพชา | พ.ศ. 2499 |
อุปสมบท | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 |
พรรษา | 53 |
ตำแหน่ง | ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายจีนนิกายจีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตาราม |
พระอาจารย์จีนธรรมานุกร (เย็นเกา) (จีน: 仁意) เป็นพระภิกษุนิกายมหายาน ชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตารามคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายสงฆ์จีนนิกายวัดโพธิทัตตาราม
ประวัติ
[แก้]พระอาจารย์จีนธรรมานุกร (เย็นเกา) มีนามเดิมว่า มนตรี ชัยศิริศักดิ์ ชาติภูมิเดิม แซ่เล้า มณฑลกวางตุ้ง ถือกำเนิดในตระกูลแช่เล้า เมื่อ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2489 ณ ตำบลท่าเริอ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี บิดาชื่อนายคี้ง้วน แช่เล้า มารดาชื่อนางชู้เงียด แช่อี้ง มีพี่น้องร่วมกัน 10 คน ท่านเป็นบุตรชายคนที่ 9 ครอบครัวมีอาชีพทำสวนในขณะที่ท่านเป็นฆราวาสที่เป็นคนชอบศึกษาหาความรู้ต่าง ๆตลอดเวลาเมื่อทานศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ตอนปลาย) ท่านได้สอบเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยพาณิชยการพระนคร(ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร)ท่านสามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนได้ แต่ด้วยครอบครัวท่านมีพี่น้องหลายคน ท่านจึงสละสิทธิ์ในการศึกษาต่อ
ชีวิตสมณเพศ
[แก้]เมื่อปีพ.ศ.2514 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2514 ได้อุปสมบท ณ พัทสีมา วัดโพธิ์เย็น ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับฉายา เย็นเกา โดยมี พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกายรูปที่6 เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงจีนวินัยธร (เย็นช้ง)เป็นพระกรรมวาจารย์ และหลวงจีนปลัด (เย็นเชี้ยว) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (สมศักดิ์ปัจจุบัน) พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว)
ปัจจุบันท่านอยู่ในร่มกาสาวพัตร์เป็นเวลา 52 ปี ครั้นอุปสมทบแล้วท่านได้จำพรรษาอยู่วัดที่โพธิ์แมนคุณาราม แขวบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ตลอดเวลาที่จำพรรษาท่านได้ศึกษาตำราหรือพระสูตรของฝ่ายมหายานซึ่งในขณะนั้นมีพระครูพระมหาคุณาจารย์ธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยวซือหู) และพระอาจารย์จีนวินยานุกรสุนทรธรรมภูษิตปริยัติกิจโกศล (ท่านเจ้าคุณเย็นอี่ซือแปะ) เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ตลอดมา ต่อมา วันที่ 10 พฤษภาคม พุทธศักราช 2530 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดโพธิทัตตาราม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ด้วยความรู้ความสามารถในพระสูตรของฝ่ายมหายานและการปฎิบัติตนเป็นที่เคารพและนับถือจากประชาชนทั่วไป
ตำแหน่งการบริหารปกครอง
[แก้]- พ.ศ. 2539 เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตาราม
- พ.ศ. 2543 เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิทัตาราม
สมศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็น หลวงจีนสมุห์ คณานุกรมในพระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้ง)
- พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น หลวงจีนธรรมรักษ์จีนประจิต ผู้ช่วยปลัดซ้ายจีนนิกาย[1]
- พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น หลวงจีนธรรมนาทจีนประพันธ์ รองปลัดขวาจีนนิกาย[2]
- พ.ศ. 2542 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนธรรมรสจีนศาสน์. ตั้งคณานุกรมได้ 3 รูป คือ หลวงจีนปลัด 1 หลวงจีนสมุห์ 1 หลวงจีนใบฎีกา 1[3]
- พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต ตั้งคณานุกรมได้ 3 รูป คือ หลวงจีนปลัด 1 หลวงจีนสมุห์ 1 หลวงจีนใบฎีกา 1[4]
- พ.ศ. 2562 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนธรรมานุกร สุนทรศาสนกิจ ภาวนานุสิฐไพศาล ตั้งคณานุกรมได้ 4 รูป คือ หลวงจีนปลัด 1 หลวงจีนสังฆรักษ์ 1 หลวงจีนสมุห์ 1 หลวงจีนใบฎีกา 1[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, ฉบับพิเศษ, เล่ม 104 ตอนที่ 253, 5 ธันวาคม 2530, หน้า 62
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 113 ตอนที่ 23 ข, 5 ธันวาคม 2539, หน้า 68
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 116 ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 55
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 123 ตอนที่ 25 ข, 29 ธันวาคม 2549, หน้า 73
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 136 ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 58