ผู้ใช้:PHATTARAPORN NAVAREE/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิโคลัส เฮนรี่ (Nicholas  Henry)[แก้]

ศาตราจารย์นิโคลัส เฮนรี่ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1942 ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) อายุ 74 ปี เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญเป็นเจ้าของแนวคิดทฤษฎีที่เป็นที่รู้จักในการเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ได้ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญทั้งในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน และมีผลงานทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ นิโคลัสได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิชารัฐประศาสนศาตร์ไว้ว่า  “วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีเอกลักษณ์ เพราะมีความแตกต่างจากวิชารัฐศาสตร์ในแง่ที่ว่าเป็นวิชาที่เน้นให้ความสนใจต่อการศึกษาโครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการรวมทั้งเป็นศาสตร์ที่มีระเบียบวิธีการศึกษาเป็นของตนเอง วิชารัฐประศาสนศาสตร์ยังแตกต่างจากศาสตร์การบริหารในแง่ที่ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องขององค์กรภาครัฐ ซึ่งมิได้มุ่งแสวงหากำไรดังเช่นองค์การเอกชน และเป็นวิชาที่สนับสนุนให้องค์การของรัฐมีกลไลโครงสร้างการตัดสินใจและพฤติกรรมของข้าราชการที่สนับสนุนให้บริการสาธารณะ[1]

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ[แก้]

-         ศาสตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอร์เจียเซาเทริน (Georgia Souther University)

-         อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยจอร์เจียเซาเทริน (Georgia Souther University)

-         ผู้อำนวยการ และศาตราจารย์กิจกรรมสาธารณะ (Public Affairs) ที่ศูนย์กิจกรรมสาธารณะ(Center for Public Affairs) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอริโซน่า (Arizona State University)

-         ผู้ก่อตั้ง วิทยาลัยโปรแกรมสาธารณะ (College of Public Programs) ดำรงตำแหน่งคณบดีและศาตราจารย์ของวิทยาลัยด้วย

-         กรรมการอำนวยการของวิทยาลัยรัฐประศาสตร์แห่งชาติ (The National Academy of Public Administration)[2]

การศึกษา[แก้]

-         จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเซ็นเตอร์ (Center College)

-         จบการศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนซิลวาเนีย (Pensylvania State University)

-         รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัญฑิต (MPA) มหาวิทยาลัยอินเดียนา (Indiana University)[2]

ผลงาน[แก้]

-         เขียนหนังสือทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์นั่นคือ “Public Administration and and Public Affairs” เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญเป็นตำราที่ใช้ในการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ทั่วโลก[2]

-         นิโคลัส เฮนรี่ ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยพาราไดม์ต่างๆ 5 ยุค โดยระบุเวลาไว้ดังนี้

1. The Politics / Administration dichotomy หรือ การแบ่งแยกการเมืองและการบริหาร ปี ค.ศ. 1900 – ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2469)

2. The principles of administration หรือ หลักการบริหารและการท้าทาย ปี ค.ศ. 1927 – ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2493)

3. Public administration as political science หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะรัฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1950 - ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2513)

4. Public administration as administrative science หรือ รัฐประศาสนศาตร์ในฐานะศาสตร์การบริหาร ปี ค.ศ. 1956 – ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2513)

5. Public administration as public administration หรือ รัฐประศาสนศาตร์ในฐานะการบริหารรัฐกิจ ค.ศ. 1970 – ปัจจุบัน (พ.ศ. 2513 – ปัจจุบัน)[3][4]

1.      การแบ่งแยกการเมืองและการบริหาร ปี ค.ศ. 1900 – ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2469)[แก้]

จุดกำเนิดของของรัฐประศาสนศาสตร์เริ่มจากบทความของ วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ที่ชื่อว่า “The Study of Adminitration” พาราไดม์นี้เกิดจากแนวคิดของวูดโรว์ โดยแนวคิดนี้ต่อต้านการเล่นพรรคเล่นพวก โดยมีแนวคิดว่า หากฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงฝ่ายการบริหารจะเป็นการทำลายการบริหารที่มีประสิทธิภาพ การกำหนดนโยบายต่างๆควรแยกจากการบริหาร ฝ่ายบริหารต้องรู้อย่างชัดเจนจากฝ่ายการเมืองถึงงานหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อการบริหารงานการดำเนินการต่างๆที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นแนวคิดนี้เป็นการกำหนดให้ฝ่ายการเมืองทำหน้าที่ในการออกกฎหมายและกำหนดนโยบายต่างๆ ส่วนฝ่ายบริหารมีหน้าที่นำเอากฎหมายและนโยบายเหล่านั้นไปปฏิบัติ เพื่อความเป็นธรรมของทั้งสองฝ่ายและนับว่าเป็นการจัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์ การเมืองไร้การแทรกแซงจากการบริหาร และการบริหารปลอดความวุ่นวายจากการเมือง นับว่าเป็นการปฏิรูประบบการบริหารงานบุคคลในสหรัฐในขณะนั้น[5]

แนวคิดดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างมากซึ่งนักวิชาการส่วนมากถือเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาแนวคิดด้านรัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ แฟรงค์ กูดนาว (Frank Goodnow) เป็นนักวิชาการทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ได้ออกมาสนับสนุนแนวคิดการเมืองแยกจากการบริหารโดยได้เขียนหนังสือชื่อ Politics and Administration ขึ้นในปี ค.ศ. 1900 ต่อมา เลียวนาร์ด ไวท์ (leonard White) ได้เขียนหนังสือชื่อ Introduction to the study of public administration ในปี ค.ศ. 1926 ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ [6]แนวคิดการบริหารแยกจากการเมือง ยังเป็นอีกเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้มีการศึกษาหลักและเทคนิคการบริหาร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้น

2.      หลักการบริหารและการท้าทาย ปี ค.ศ. 1927 – ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2493)[แก้]

เลียวนาร์ด ดี ไวท์ (Leonard D. White) เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า “Introduction to the Study of Public Adminitration” โดยมีเนื้อหาว่า การบริหารต้องใช้ความรู้เฉพาะด้าน อาศัยความเป็นมืออาชีพในการทำงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและยากต่อการรับผิดชอบ[5] มีลักษณะการจัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์ การบริหารงานสาธารณะเป็นเรื่องของการจัดการเกี่ยวกับบุคคลและทรัพยากร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของรัฐ หน้าที่ของการบริหารคือ ประหยัด มีประสิทธิภาพ เน้นการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด[7]

3.      รัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะรัฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1950 - ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2513)[แก้]

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการบริหารแยกจากการเมืองได้มีการเสนอแนวคิดใหม่นั้นก็คือ “การบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง”[5]ในปี ค.ศ. 1946 มีหนังสือรวมบทความชื่อ “Element of Public Adminitration” โดย ฟริกซ์ มอร์สตรีน มาร์ก (Fritz Morstein Marx) ได้รวมบทความจากบุคคลที่เคยทำงานให้กับรัฐบาลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บทความเหล่านั้นได้อธิบายว่า การบริหารนั้นเกี่ยวข้องกับการเมืองที่มีค่านิยมอยู่ด้วยเสมอ ทั้งในเรื่องงบประมาณ การบริหารงานบุคคล ในการบริหารภาครัฐและฝ่ายนิติบัญญัติต่างก็มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองและกำหนดนโยบายสาธารณะอีกด้วย นโยบายต่างๆที่ออกมาจากฝ่ายการเมืองเป็นการชี้แจงแบบกว้างๆ ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดของนโยบาย การกำหนดดังกล่าวอยู่ในการดูแลควบคุมของฝ่ายนิติบัญญัติและยังขึ้นอยู่กับการได้ผลประโยชน์และการเสียผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆด้วย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่มีกลุ่มต่างๆเหล่านั้น นักบริหารต้องเลือกนโยบายที่เหมาะสม และคำนึงถึงความต้องการของประชาชน ไม่มีประโยชน์ที่จะแยกการบริหารออกจากการเมือง เพราะการบริหารเป็นกระบวนการหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง[5]

4.      รัฐประศาสนศาตร์ในฐานะศาสตร์การบริหาร ปี ค.ศ. 1956 – ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2509 – พ.ศ. 2513)[แก้]

เป็นการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ในแง่ของการบริหาร โดยการศึกษาแบ่งเป็นสองส่วนได้แก่ การศึกษาทฤษฎีองค์การ ศึกษาเกี่ยวกับองค์การ ความสัมพันธ์ของการบริหารภาครัฐกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นๆ การดำเนินการ ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมขององค์การให้บรรลุเป้าหมายของรัฐ ส่วนที่สองคือ วิทยาการจัดการ ศึกษาเกี่ยวกับสถิติ การวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถวัดผลของการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง[7]

5.      รัฐประศาสนศาตร์ในฐานะการบริหารรัฐกิจ ค.ศ. 1970 – ปัจจุบัน (พ.ศ. 2513 – ปัจจุบัน)[แก้]

การเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในปลายปีทศวรรษที่ 1960 และต้นทศวรรษที่ 1970 เช่น ปัญหาสงครามเวียดนาม การแบ่งสีผิว เกิดความท้าทายองค์ความรู้รัฐประศาสนศาสตร์ เพราะเห็นว่าแนวคิดทฤษฏีต่างๆที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาให้เป็นวิชาการมากจนเกินกว่าจะนำเอาไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคมและประเทศชาติ ในต้นทศวรรษที่ 1970 เกิดความคิดใหม่ซึ่งก็คือ กรอบเค้าโครงความคิดเบ็ดเสร็จเป็นกรอบที่ครอบคลุมการเมือง สังคม พฤติกรรมศาสตร์ เทคนิคการบริหาร และสอดคล้องความต้องการของสังคมและประเทศชาติ อาจจะเรียกได้ว่า “ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์” ถือได้ว่าเป็นรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ (New Public Administration) มีสาระสำคัญคือ การให้ความสนใจในเรื่องที่สอดคล้องความต้องการของสังคม (Relevance) การให้ความสำคัญกับค่านิยม (value) การให้ความสำคัญต่อความเสมอภาคทางสังคม (Social equity) การรู้จักริเริ่มเปลี่ยนแปลง (change)[8]

และตระหนักในความสำคัญของบทบาทร่วมจากศาสตร์อื่นๆ การบริการไม่เพียงแต่เป็นการถ่ายทอดความรู้และวิจัยความรู้ใหม่เท่านั้น แต่สำคัญอยู่ที่การนำเอาศาสตร์ต่างๆมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน สังเคราะห์ความรู้ด้านพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และเป็นการแก้ไขปัญหาของสังคมและประเทศชาติ ความสัมพันธ์ของการบริหารระหว่างรัฐกับเอกชน การมีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท การให้ความสำคัญกับเรื่องนโยบายต่างๆ เศรษฐศาสตร์ทางการเมือง กระบวนการกำหนดนโยบาย วิเคราะห์ ประเมิน และการวัดประสิทธิภาพของนโยบายต่างๆ[3]

Nicholas Henry ได้เพิ่ม พาราไดม์ที่ 6 ของรัฐประศาสนศาสตร์คือ Governance ซึ่งก็คือ participatory democracy (ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม) โดยได้พรรณนาความต้องการในมิติหรือพาราไดม์ดั้งเดิมของ Big Bureaucracy หรือ ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ กับ Big Democracy หรือ ระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่คำนึงถึงค่านิยมประชาธิปไตยที่เป็น ความเป็นพลเมือง ผลประโยชน์สาธารณะ ชุมชนเข้มแข็ง ประชาสังคม (citizenship, public interests, community strength, civil society) ซึ่งโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพฯ ต้องสร้างความสมดุลระหว่างระบบราชการที่เน้นประสิทธิภาพ (Big Bureaucracy) และ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Big Democracy) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน คือคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม มีสุขภาพที่ดี มีความมั่นคง และการพัฒนาที่ยั่งยืน[9]

  1. Nicholas Henry, Public Administration and Public Affairs (Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall, Lnc., 1980) p. 27
  2. 2.0 2.1 2.2 ประวัติศาสตราจารย์นิโคลัส เฮนรี่. (2555). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/PublicAdm/2012/08/25/entry-1
  3. 3.0 3.1 พิทยา บวรวัฒนา. (2526). รัฐประศาสนศาสตร์ : รวมผลงานของนักวิชาการไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  4. คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาขอบข่ายและวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. (2530). เอกสารการสอนชุดวิชาขอบข่ายและวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 18. สุโขทัย : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัมฤทธ์ ยศสมศักดิ์. (2547). หลักรัฐประศาสนสาสตร์ แนวคิดและทฤษฏี พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด จงเจริญการพิมพ์.
  6. Shafritz, Jay M. and E. W. Russell. (1997). Introducing Public Adminitration. New York : Longman.
  7. 7.0 7.1 พาราไดม์. (2554). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://wwwccn-sannysa.blogspot.com/2012/07/blog-post_29.html?m=1
  8. อุทัย เลาหวิเชียร. (2541). รัฐประศาสนศาตร์ : ลักษณะวิชาและมิติต่างๆ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ที พี เอ็น เพรส.
  9. สรายุทธ กันหลง. (2554). (ออนไลน์). สืบค้นจากhttp://www.ipernity.com/blog/248956/408043