ผู้ใช้:Kawinb21/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเมืองการปกครองอินเดียปัจจุบัน

  ณ ปัจจุบันการปกครองของประเทศอินเดียเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาและยังแยกศาสนาออกจากการเมือง แบ่งอำนาจปกครองเป็นสาธารณรัฐ(Secular Democratic Republic with a parliamentary system)แบ่งเป็น 29 รัฐและดินแดนสหภาพ (Union Territories)1 อีก 7 เขต

การปกครองของประเทศอินเดียนั้นได้มีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บท มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารวตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดีย แต่อำนาจในการบริหารอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีประธานาธิบดี และประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศอินเดียคือ นายประณับ มุกเคอร์จี(Pranab Mukherjee) เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2557 ในฐานะประธานาธิบดีคนที่ 13 ของประเทศ ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายนเรนทร โมดี (Narendra Modi) เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 ในฐานะรัฐมนตรีของประเทศอินเดียคนที่ 15 ประเทศอินเดียมีความภาคภูมิใจในความเป็นประเทศประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเพราะมีประชากรถึง 1.23 พันล้านคนโดยมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2557 ถึง 814.5 ล้านคน โดยที่ประชากรลงคะแนนถึง 514 ล้านคน ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการเมืองการปกครองประเทศอินเดียนับตั้งแต่ได้รับเอกราชมาจนถึงปัจจุบัน <ref>http://newdelhi.thaiembassy.org/th/useful-knowledge-th/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87/>


ฝ่ายนิติบัญญัติ[แก้]

ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา(Pariament) อินเดีย เป็นระบบสภาคู่(Bicameral) ประกอบด้วยราชยสภา(Rajya Sabha) หรือวุฒิสภา รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ราชยสภามีสมาชิก ไม่เกิน 250 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 245 คน โดย 12 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีทุกๆ 2 ปี และอีก 233 คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (Legislative Assembly) หรือเรียกว่าวิธานสภา เป็นผู้เลือก ถือเป็นผู้แทนของรัฐสภาและดินแดนสหภาพ สมาชิกราชยสภามีวาระการทำงาน 6 ปี โดยทุกๆ 2 ปี จะมีการเลือกตั้งและแต่งตั้งสมาชิกราชยสภาจำนวน 1 ใน 3 ใหม่ ซึ่งรองประธานาธิบดีอินเดียเป็นธานราชยสภาโดยตำแหน่ง ปัจจุบัน คือนายโมฮัมหมัด ฮามิด อันสารี(Mohammad Hamid Ansari) โลกสภา(Lok Sabha)หรือสภาผู้แทนราษฏร โลกสภานั้นมีสมาชิกได้ไม่เกิน 550 คน โดย 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง(530คน มาจากแต่ละรัฐ 13 คน มาจากดินแดนสหภาพ) และอีกไม่เกิน 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดีจากชุมชนคนผิวขาว(Anglo-Community) ในประเทศอินเดีย สมาชิกโลกสภามีวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา สมาชิกโลกสภามีวาระการทำงาน 5 ปี ปัจจุบันนางเมรา คูมาร์(Meira Kumar) จากพรรคคองเกรส(Congress party) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาราษฏร เป็นประธานผู้หญิงคนแรก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2552 การตรากฎหมายต่างๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง2สภา



ระบบการเลือกตั้ง[แก้]

ระบบการเลือกตั้งสมาชิกราชยสภาของอินเดียนั้นมีทั้งแบบมีผู้แทนได้หลายคนและแบบที่เขตเลือกตั้งมีผู้แทนได้คนเดียวเป็นการเลือกเลือกตั้งทางอ้อมโดยที่สภานิติบัญญัติแห่งรัฐและดินแดนสหภาพ โดยที่จะใช้หลักการของตัวแทนตามสัดส่วนหรือคะแนนสูงสุดหนึ่งเดียวแล้วแต่กรณี ประเทศอินเดียมีการเลือกตั้งสมาชิกโลกสภาครั้งแรกภายหลังได้รับเอกราชเมื่อปี 2495 และมีการประชุมโลกสภาครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2495 การเลือกตั้งสมาชิกโลกสภาเป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยที่ใช้เกณฑ์ของเสียงข้างมากปกติ มีการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด 543 โดยมีคณะกรรมการการเลือกตั้งของอินเดียเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับนับถือ ว่าเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินงานด้วยความเป็นกลางและสามารถปฏิบัติหน้าที่โดยที่ไม่มีการแทรกแซงของรัฐบาล นอกจากนั้นยังมีการใช้เครื่องลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์(Electronic voting machine) ทั่วประเทศ จำนวน 1.2 ล้านเครื่อง ทำให้ทราบผลการเลือกตั้งจากทั่วประเทศได้ภายใน 24 ชั่วโมงและใช้กำลังเจ้าหน้าที่พลเรือนและเจ้าหน้าที่ตำรวจถึง 6.1 ล้าน เพื่อดูแลรักษาความเรียบร้อย ในการเลือกตั้งวาระการประชุมโลกสภา แบ่งเป็น 1.การประชุมพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ (Budget session) ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2.การประชุมวาระฤดูฝน (Moonsoon session) ระหว่างเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม 3.การประชุมวาระหน้าหนาว (Winter session) ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม

อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา[แก้]

มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมายและกำกับดูแลการบริหารประเทศของฝ่ายบริหารโดยผ่านร่างงบประมาณ อภิปรายประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติ หรือมีผลกระทบต่อประชาชน อาทิเช่น แผนการพัฒนา นโยบายแห่งชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและในประเทศ อำนาจหน้าที่ที่แตกต่างระหว่างโลกสภาและราชสภา คือ โลกสภากำกับดูแลการบริหารประเทศของคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเงินและงบประมาณ แต่ราชสภาไม่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการเงิน แต่มีอำนาจในการพิจารณากฎหมายอื่นๆ โลกสภาและราชยสภามีคณะกรรมาธิการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ โดยแบ่งคณะกรรมาธิการเป็น 2 ประเภท คือ Standing Committee และ ad hoc Committee คณะกรรมาธิการที่ถือว่ามีความสำคัญ คือ Committee on Public Accounts มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลให้เป็นไปตามข้อตกลงของรัฐสภา (เป็นคณะกรรมาธิการของราชสภา) Committee on Public Undertakings มีหน้าที่ตรวจสอบรายงานของผู้ตรวจงบประมาณแผ่นดิน (เป็นคณะกรรมาธิการของราชยสภา) Committee on Estimates มีหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล (เป็นคณะกรรมาธิการของโลกสภา) ประธานาธิบดีเป็นผู้ที่มีอำนาจเรียกประชุมสภา เลื่อนการประชุม กล่าวอภิปรายต่อสภา ยุบโลกสภา และประกาศกฎหมายได้ทุกเวลา ยกเว้นในระหว่างสมัยการประชุมของรัฐสภา และตามรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสามารถเป็นสมาชิกของโลกสภาหรือราชสภาก็ได้



ฝ่ายบริหาร[แก้]

ประธานาธิบดี เป็นประมุขของรัฐ และยังเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหาร (Head of Executives of the Union) ซึ่งประกอบไปด้วยรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล (Council of Ministers) ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมมาจากผู้แทนของทั้งสองสภา รวมถึงสภานิติบัญญัติของแต่ละรัฐ ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และยังสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นวาระที่สองได้ คุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ คือ ต้องมีสัญชาติอินเดีย มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และเป็นสมาชิกโลกสภา รองประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมมาจากผู้แทนของทั้งสองสภา ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และเป็นประธานราชยสภาโดยตำแหน่ง นาย โมฮัมหมัด ฮามิด อันสารี(Mohammad Hamid Ansari) รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีต่ออีกหนึ่งสมัย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2555 และทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม 2555 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยการเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย รัฐมนตรี (Ministers) รัฐมนตรีที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (Ministers of State - Independent Charge) และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (Ministers of State) คณะรัฐมนตรีรายงานโดยตรงต่อโลกสภา รัฐบาลของอินเดียชุดปัจจุบัน มีรัฐมนตรีว่าการ (Cabinet Ministers) 33 คน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (Ministers of State with Independent Charge) 7 คน และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (Ministers of State) 38 คน รวม 78 คน <ref>http://india-sathaporn.blogspot.com/2013/02/blog-post_7475.html>




ฝ่ายตุลาการ[แก้]

อำนาจตุลาการเป็นอำนาจอิสระ มีประธานศาลฎีกาเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด อำนาจฝ่ายตุลาการเป็นอำนาจรวม ไม่แยกเป็นส่วนกลางและส่วนรัฐ แต่ถูกกระจายออกไปเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุธรณ์ และศาลสูง

<ref>http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/pol/57.htm>

การปกครองระดับรัฐ[แก้]

รัฐธรรมนูญของประเทศอินเดียแบ่งแยกเป็นอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง (Government of India) กับรัฐบาลรัฐท้องถิ่น (State Government) อย่างชัดเจน รัฐบาลรัฐท้องถิ่นมีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษากฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของรัฐ





วันรัฐธรรมนูญ[แก้]

วันที่ 26 มกราคม ของทุกๆปีจะเป็นวันครบรอบการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับเอกราชของอินเดีย ซึ่งเป็นวันชาติและวันรัฐธรรมนูญอินเดีย กว่าอินเดียจะมีเอกราชและรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองนั้นประชากรชาวอินเดียต้องผ่านเหตุการณ์และประวัติศาสตร์ที่แสนจะยากลำบาก รวมทั้งยังต้องต่อสู้เพื่อที่จะเรียกร้องเอกราชเจ้าอาณานิคมชาวอังกฤษนานถึง 89 ปี โดยก่อนที่ประเทศอินเดียจะได้รับเอกราชนั้น อินเดียต้องใช้พระราชบัญญัติของประเทศอังกฤษและอีกหลายฉบับเป็นการชั่วคราว เมื่อประเทศอินเดียได้รับเอกราชแล้วจึงได้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาและดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเพื่อที่จะใช้แทนพระราชบัญญัติฉบับอาณานิคมของประเทศอังกฤษก่อนที่อินเดียจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2493 <ref>http://news.voicetv.co.th/world/29089.html>