ผู้ใช้:Kattie Katey/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นชบา
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นอิกเม
พายุไต้ฝุ่นชบาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว24 กันยายน พ.ศ. 2559
พายุหมุนนอกเขตร้อน5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สลายตัว7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุหมุนเขตร้อนระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต10 ราย
ความเสียหาย$129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2559 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา,
ประเทศเกาหลีใต้,
ประเทศญี่ปุ่น,
รัสเซียตะวันออกไกล
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559

พายุไต้ฝุ่นชบา (อักษรโรมัน: Chaba) หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นกาตริง (ตากาล็อก: Katring) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสองรองจากพายุไต้ฝุ่นเมกี และเป็นพายุลูกแรกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเมอโลร์ในปี พ.ศ. 2552 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553 อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างเชื่องช้าจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น พายุโซนร้อนชบาได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเช้าตรู่ของวันที่ 26 ตุลาคม และมีความรุนแรงสูงสุดเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน พายุไต้ฝุ่นชบามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) หลังจากนั้นไม่นานพายุไต้ฝุ่นชบาก็เริ่มอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเมื่อผ่านไปใกล้ประเทศญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือของพายุยังคงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ จนกระทั่งพายุสลายไปในวันรุ่งขึ้น

เครื่องวัดกำลังงานแสงเชิงสเปกตรัมแบบการถ่ายภาพความละเอียดปานกลางของดาวเทียมของนาซาได้ถ่ายภาพกลุ่มเมฆที่หมุนเป็นเกลียวของพายุไต้ฝุ่นชบาได้พัดแผ่กระจายปกคลุมไปทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลฟิลิปปิน และเมฆปกคลุมเหนือหมู่เกาะรีวกีวของประเทศญี่ปุ่นรวมถึงเกาะโอกินาวะ และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ

พายุฝนฟ้าคะนองจากพายุไต้ฝุ่นชบาได้ถล่มเมืองทำให้บ้านเรือนประมาณ 500 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 5 ราย ในจังหวัดโอกินาวะ การแข่งขันรถในโตเกียวได้ถูกเลื่อนโดยสมาคมแข่งรถแห่งประเทศญี่ปุ่นไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นชบา