ผู้ใช้:Fishyplanoy/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Fishyplanoy/ทดลองเขียน

สามย่านมิตรทาวน์[แก้]

สามย่านมิตรทาวน์ (อังกฤษ : SAMYAN MITRTOWN) เป็นโครงการมิกซ์ยูสตั้งอยู่บนที่ดิน 13 ไร่ บริเวณหัวมุมถนนพญาไท-พระราม 4 ได้รับสิทธิ์พัฒนาที่ดินจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระยะเวลาเช่า 30 ปี ภายในโครงการประกอบด้วยพื้นที่ค้าปลีก ที่อยู่อาศัย และอาคารสำนักงาน พื้นที่รวม 222,000 ตร.ม. ก่อสร้างตามแนวคิด Urban Life Library ภายใต้งบลงทุนรวม 9,000 ล้านบาท พัฒนาโครงการโดย บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ส่วนบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารศูนย์การค้า คือ บริษัท เกษมทรัพย์ภักดี จำกัด ซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมทุนของบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท โกลเด้น พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด

ประวัติ[แก้]

พื้นที่เดิมของโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ตั้งอยู่บริเวณหมอน 21-22 เป็นพื้นที่แปลงหนึ่งของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดสรรไว้สำหรับประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกสามย่าน (จุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนพระราม 4) มีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 1 งาน 47.5 ตารางวา เดิมทีที่ดินผืนนี้เป็นที่ตั้งของตลาดสามย่าน และอาคารพาณิชย์บริเวณโดยรอบจำนวน 171 คูหา ที่ผ่านมาพื้นที่มีการใช้ประโยชน์หลายลักษณะ เช่น ที่พักอาศัย ร้านค้าสะดวกซื้อ ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป ร้านให้บริการหรือรับจ้างรูปแบบต่างๆ ซึ่งในส่วนของ ตลาดสามย่าน ได้ตั้งอยู่บนที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณจุฬาลงกรณ์ซอย 15 ตรงข้ามโรงภาพยนตร์สามย่านรามา (เดิม) (ช่องต่อหัวมุมถนนพระราม 4 และถนนพญาไท) มีบริเวณที่ดินประมาณ 2.92 ไร่ เป็นอาคารที่ก่อสร้างมาพร้อมการทำสัญญาบูรณะปรับปรุงมีบริษัท วังใหม่ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และเริ่มเป็นกิจการรตลาดเอกชน ใช้ชื่อว่า "ตลาดสามย่าน" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508

จากการพัฒนาของเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นสมควรที่จะปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการใช้พื้นที่สูงสุด และเมื่อสัญญาเช่ากับผู้เช่ารายเดิมครบอายุสัญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้รับมอบพื้นที่จากผู้เช่ารายเดิม โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบในลักษณะของการเชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบในลักษณะของการเชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาและประกอบการเชิงพาณิชย์ โดยทางมหาวิทยาลัยได้มีการทำแผนการพัฒนาเขตพื้นที่พาณิชย์ เพื่อกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้สอดคล้องและกลมกลืนกันในระยะยาว

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

สามย่านมิตรทาวน์ เป็นโครงการมิกซ์ยูสผสมผสานระหว่างอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม และรีเทล ด้วยคอนเซ็ปต์สมาร์ทมิกซ์ยูส (Smart Mix-used) ภายในโครงการประกอบไปด้วย 3 โซนหลัก


โซนศูนย์การค้า[แก้]

สามย่านมิตรทาวน์ เป็นศูนย์การค้าสูง 6 ชั้น มีพื้นที่รวม 65,000 หรือคิดเป็น 30% ของโครงการ ภายในศูนย์การค้าประกอบด้วย 3 โซนหลัก

  • โซน The Eating Library เป็นกลุ่มร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เปิดให้บริการตามเวลาเปิด-ปิดของศูนย์การค้า (10.00-22.00 น.) อีกทั้งยังมีร้านอาหาร และร้านกาแฟ เปิดให้บริการในโซน 24 ชั่วโมงอีกด้วย
  • The Learning Library ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ มีพื้นที่เปิดกว้างเพื่อการเรียนรู้ และการเรียนเสริมทักษะ เช่น โรงเรียนสอนภาษา ANGKRIZ โรงเรียนสอนเต้น RUMPUREE โรงเรียนสอนต่อยมวย Project H ร้านสเปเชี่ยลตี้สโตร์อย่าง MEDIUM and More และพื้นที่โค-เวิร์คกิ้งสเปซอย่าง My space by C aesan
  • The Living Library สามย่านมิตรทาวน์ เป็นอีกหนึ่งศูนย์การค้าที่รวมอุปกรณ์เครื่องครัวทันสมัยและครบครันที่สุดในสามย่าน โดยการเปิดให้บริการของร้าน Apron Walk

นอกจากนี้ สามย่านมิตรทาวน์ ยังมี โรงภาพยนตร์เฮ้าส์ สามย่าน เข้ามาเปิดให้บริการภายในศูนย์การค้าจำนวน 3 โรงภาพยนตร์ บนพื้นที่ 1,800 ตารางเมตร บริเวณชั้น 5 และมี สามย่านมิตร ทาวน์ฮอลล์ (Samyan Mitrtown Hall) เป็นฮอลล์อเนกประสงค์ (Multi-Purpose Hall) สำหรับการจัดงานอีเวนต์ คอนเสิร์ต และการประชุมต่างๆ ขนาด 5,000 ตารางเมตร รองรับผู้ใช้บริการรวม 3,000 คน ตั้งอยู่บริเวณชั้น 5 อีกด้วย


โซนที่อยู่อาศัย[แก้]

ภายในโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ประกอบด้วยโซนที่อยู่อาศัย 2 ส่วน คือ

  • ทริปเปิ้ล วาย เรสซิเด้นซ์ เป็นคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างภายใต้แนวคิด Neo Explorer Living Platform สูง 33 ชั้น รวม 516 ยูนิต
  • ทริปเปิ้ล วาย โฮเทล เป็นโรงแรมในรูปแบบ Design hotel ตั้งอยู่อาคารเดียวกับคอนโดมิเนียม เริ่มจากชั้น G เป็นชั้น lobby ส่วนห้องพักจะอยู่บริเวณชั้น 7 ถึง ชั้น 11 รวม 102 ห้อง โดยทั้ง 2 ส่วนมีพื้นที่รวม 36,000 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 15% ของโครงการ


โซนอาคารสำนักงาน[แก้]

มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ เป็นอาคารสำนักงานเกรด A สูง 31 ชั้น พื้นที่เช่ารวม 48,000 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 30% ของโครงการ ภายในอาคารใช้งานโดยระบบอัจฉริยะ หรือ Intelligent Office Tower เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ในอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวก


การเดินทาง[แก้]

  • รถยนต์ สามารถใช้เส้นทางถนนพระราม 4 และถนนพญาไท เพื่อเดินทางเข้าสู่โครงการ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ทางด่วนพิเศษศรีรัช และทางด่วนเฉลิมมหานคร เพื่อเข้าสู่โครงการได้อีกด้วย
  • รถไฟฟ้า MRT สามารถใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ลงที่สถานีสามย่าน และเดินผ่านอุโมงค์ทางเชื่อมเข้าสู่โครงการสามย่านมิตรทาวน์ได้เลย เนื่องจากบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ได้ใช้เงินลงทุน 300 ล้านบาท ในการสร้างอุโมงค์รวมระยะทาง 200 เมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ
  • รถไฟฟ้า BTS สามารถใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีสยาม และต่อรถ Shuttle Bus ของโครงการที่มีให้บริการฟรีมายังสามย่านมิตรทาวน์ได้เลย

ดูเพิ่ม[แก้]

สามย่านมิตรทาวน์ ศูนย์การค้าในเขตปทุมวัน โกลเด้นแลนด์ ห้างไทย