ผู้ใช้:Chattarika Monthreedee/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:ทฤษฎีระบบตามแนวคิดการจัดการสมัยใหม่

ความหมายของทฤษฎี[แก้]

“ ทฤษฎี ” หมายถึง กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประเด็น คือ ทฤษฎี คือ กลุ่มของข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ ทฤษฎี คือ สิ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่าง ๆ และเมื่อได้ปฏิบัติตามทฤษฎีแล้ว จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง ทฤษฎี คือ การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ โดยเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

องค์ประกอบของทฤษฎี[แก้]

  1. แนวความคิด (Concept)
  2. ข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน (Proposition or Hypothesis)
  3. เหตุการณ์ (Contingency) ที่มีกระบวนการพิสูจน์จากข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน

ความหมายของระบบ[แก้]

“ระบบ” (System) มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทาง วิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน “ระบบ" (System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ทฤษฎีระบบตามแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ ทฤษฎีระบบเป็นแนวคิดการจัดการซึ่งมององค์การว่าเป็นระบบตามหน้าที่ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยจะเป็นการกำหนดกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานของทั้งระบบให้สอดคล้องกันตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ เพื่อการบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันในทุกระบบ ระบบนี้จะเริ่มต้นด้วยการนำเอาปัจจัยเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพซึ่งจะเปลี่ยนแปลงให้ปัจจัยหรือวัตถุดิบเหล่านั้นให้เป็นปัจจัยนำออก หลังจากนั้นปัจจัยนำออกก็จะถูกป้อนกลับสู่สภาพแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง [1]

การศึกษาทฤษฎีระบบ[แก้]

สามารถแยกได้ 2 ประเภท คือ ทฤษฎีระบบปิด และทฤษฎีระบบเปิด

ทฤษฎีระบบปิด[แก้]

ระบบปิดเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกน้อยที่สุดหรืออาจจะไม่มีเลย และระบบปิดนี้จะให้ความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์การเท่านั้น ขอบเขตการพิจารณาของระบบปิดมักจะกระทำอยู่แต่เพียงในระบบเท่านั้น[2] ทฤษฎีระบบปิด ตัวแบบระบบปิดเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อนักรัฐประศาสศาสตร์สมัยก่อนมากที่สุด ตัวแบบนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น ตัวแบบราชการ(bureaucratic) ตัวแบบชั้นการบังคับบัญชา(hierarchical) ตัวแบบที่เป็นทางการ (formal) ตัวแบบเหตุผล (rational) และตัวแบบจักรกล(mechanistic) Tom Burne และ G.M.Stalkes ได้ค้นคว้าและให้ลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบปิดไว้ 12 ประการคือ

  1. มีงานประจำที่เกิดขึ้นในสภาวะที่คงที่
  2. ยึดหลักการทำงานตามความชำนาญเฉพาะด้านมีการแบ่งหน้าที่กันทำ
  3. เน้นวิธีการหรือแนวทางที่เหมะสมในการทำงาน
  4. ปัญหาความขัดแย้งในองค์การผู้ที่ตัดสินความขัดแย้งคือ ผู้บริหารระดับสูง
  5. เน้นความสำคัญของการมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นไปตามคำบรรยายลักษณะงานที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
  6. บุคคลในองค์การจะต้องมีความสำนึกรับผิดชอบและจงรักภักดี
  7. รับรู้ว่าโครงสร้างขององค์การเป็นไปตามลำดับขั้นแบบปิรามิด
  8. มีเพียงผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นที่รู้ทุกอย่าง
  9. ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์การมักจะเป็นแนวดิ่ง
  10. ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นแบบเจ้านายกับลูกน้องอย่างชัดเจน จะต้องเชื่อฟังในรูปแบบของคำสั่ง
  11. จะเน้นความสำคัญในเรื่องความซื่อสัตย์การจงรักภักดีและเชื่อฟังนาย
  12. สถานภาพของบุคคลจะถูกกำหนดโดยตำแหน่งอย่างเป็นทางการ จะถูกกำหนดโดยองค์การและตามชั้นยศ โดยตัวแบบระบบปิดนี้จะเป็นตัวแบบตามอุดมคติ คือเป็นสิ่งที่องค์กรพยายามจะให้เป็น ซึ้งในความเป็นจริงนั้นอาจจะทำได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น และยังมีอีกบางส่วนที่ยังทำไม่ได้ [3]

ทฤษฎีระบบเปิด[แก้]

ระบบเปิดกำเนิดมาจากระบบปิด จุดเริ่มต้นของระบบเปิดมาจาก แซงต์ ซีมอง (Saint-Simon) และคองต์(Comte) คองต์ได้ทำนายเกี่ยวกับการบริหารงานในอนาคต จะเป็นงานที่อาศัยทักษะมากกว่าการสืบทอดจากสายโลหิต งานสมัยใหม่นั้นจะเป็นสากล(cosmopolitanism) ส่วนในความหมายของแซงค์ ซีมอง เป็นการพัฒนาอาชีพใหม่โดยหารใช้เทคโนโลยี โดยทั้งคองต์และแซงค์ พวกเขาเน้นคุณค่าขององค์การที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามที่จำเป็น[4] Tom Burne และ G.M.Stalkes ได้ค้นคว้าและให้ลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบเปิดไว้ 12 ประการคือ

  1. จะไม่มีการทำงานแบบประจำในสภาวะที่ไม่มั่นคง (Unstable)
  2. นำความรู้เฉพาะด้านมาประยุกต์ใช้ในงานประจำธรรมดาและงานต่างๆในองค์กร ซึ่งจะแตกต่างจากระบบปิดที่มองว่าแต่ละงานมีความเชี่ยวชาญเป็นของตัวเอง
  3. เน้นความสำคัญของเป้าหมายหรือการทำงานให้สำเร็จ(ends) มากกว่าวิธีการ(means)
  4. ความขัดแย้งในองค์การจะแก้ไขโดยการปรับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
  5. เน้นความสำคัญของการกระจายความรับผิดชอบ ไม่เน้นหน้าที่สนใจการแก้ปัญหาขององค์การมากกว่าคำบรรยายงานที่เป็นทางการ
  6. บุคคลในองค์การจะต้องมีความรับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อองค์การมากกว่าตัวบุคคล
  7. โครงสร้างขององค์การจะไม่แน่นอน เป็นโครงสร้างที่ไหลลื่น คล้ายรูปอะมีบา
  8. ทุกคนจะรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับองค์การของตนเอง แต่ไม่มีใครรู้ทั้งหมดแม้กระทั่งผู้บริหาร
  9. ทุกคนในองค์การมีความสัมพันธ์กันแบบแนวนอน คือทุกคนสามารถติดต่อกันได้
  10. ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นแบบเพื่อนร่วมงานไม่ได้เป็นแบบผู้บังคับบัญชา จะเป็นการแนะนำโดยตรงมากกว่าเป็นคำสั่ง
  11. เน้นความสำเร็จของงาน
  12. สถานภาพและชื่อเสียงขององค์การที่แพร่สู่ภายนอก จะถูกกำหนดโดยความสามารถทางวิชาชีพมากกว่าฐานะตำแหน่งในองค์การ[5]

องค์ประกอบเชิงระบบ[แก้]

องค์การในเชิงระบบ(system analysis) จะประกอบด้วยตัวแปรต่างๆมากมาย ในแนวความคิดเชิงระบบจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ 5 ส่วน

  1. สิ่งนำเข้า(Input)
  2. กระบวนการ (Process)
  3. สิ่งส่งออก (Output)
  4. ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
  5. สภาพแวดล้อม (Enivironment)[6]

คุณสมบัติที่สำคัญของทฤษฎีระบบ[แก้]

คุณสมบัติที่สำคัญของทฤษฎีระบบ

  1. ระบบใหญ่ไม่ใช่ระบบย่อย ไม่สามารถเข้าใจจากการศึกษาทีละส่วนประกอบได้
  2. ระบบจะมีโครงสร้างซ้อนกัน(Hierarchy) เช่น คนประกอบด้วยส่วนย่อยคือเซลที่รวมกันเป็นระบบ
  3. การจะเข้าใจระบบนั้นจะต้องมองปัจจัยแวดล้อมด้วย ไม่สามารถมองเป็นเส้นตรงได้โดยเฉพาะระบบเปิด ต้องมองอย่างเชื่อมโยงกัน
  4. ต้องเข้าใจความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์(Feedback)จะต้องเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
  5. วิธีการคิดแบบโครงสร้างเป็นการมองเห็นกรอบที่เข้มแข็ง ยากที่จะเปลี่ยนแปลง ส่วนแบบกระบวนการนั้นทำให้เรามองเห็นจุดอ่อน มีช่องทางความสัมพันธ์ที่เราสามารถเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้

การนำเอาทฤษฎีมาใช้ในองค์การ[แก้]

ในการศึกษาการบริหารได้มีการนำเอาทฤษฎีระบบมาใช้ในการทำงานขององค์การ โดยทฤษฎีระบบจะมองว่าการทำงานขององค์การนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอก องค์การจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แนวความคิดทฤษฎีระบบสามารถนำมาปรับใช้กับเรื่องต่างๆได้มากมายตั้งแต่การทำงานของสิ่งมีชีวิต เครื่องจักร จนถึงการทำงานขององค์การและระบบการเมือง แนวความคิดการศึกษาองค์การในฐานะระบบปิด ที่มุ่งศึกาการทำงานขององค์การโดยพิจารณาการนำเข้าและปัจจัยนำออกขององค์การ ระบบที่มององค์การในระบบเปิดที่การทำงานนั้นจะต้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพแวดล้อมย้อยต่างๆ การทำงานต้องมีความสัมพันธ์กันกับเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานขององค์การ[7]

  1. วิเชียร วิทยอุดม. 2550. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ:ธนธัชการพิมพ์
  2. สมพงษ์ เกษมสิน. 2517. การบริหาร. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนพาณิชย์
  3. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. อุบลราชธานี:บพิธการพิมพ์
  4. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. 2554. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. อุบลราชธานี:บพิธการพิมพ์
  5. วิเชียร วิทยอุดม. 2550. ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ:ธนธัชการพิมพ์
  6. พะยอม วงศ์สารศรี. 2538. องค์การและการจัดการ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สุภา
  7. วันชัย มีชาติ. 2549. การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย