ผู้ใช้:Boonyisa thamariya/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จริยธรรมของข้าราชการไทย[แก้]

1.ความหมายของคำว่าจริยธรรม[แก้]

ตามหลักพจนานุกรมแล้วคำว่าจริยธรรม มีหลายความหมาย ความหมายแรกคือเป็นหลักความประพฤติที่ควบคุมบุคคลหรือกลุ่ม ความหมายที่สองคือจริยธรรมกับศีลธรรมหลายคนอาจจะสงสัยว่ามันต่างกันยังไงทั้งๆที่จริยธรรมก็เป็นการศึกษาเกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรมจะเป็นกระบวนการตรวจสอบ และเป็นผลลัพธ์ของการตรวจสอบ ส่วนศีลธรรมนั้นจะเป็นเนื้อหาที่จริยธรรมตรวจสอบ จริยธรรมจะเป็นการหาวิธีประยุกต์มาตรฐานทางศีลธรรมมาสู่ชีวิตจริงและคอยตรวจสอบว่าศีลธรรมนี้มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล[1]ในส่วนความหมายของคำว่า จริยธรรม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เป็นแนวทางในการประพฤติตนเพื่ออยุ่กันอย่างสงบสุขในสังคม และจริยธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการความขัดแย้งเกิดขึ้น ทำให้เราตกอยุ่ในสภาพที่ต้องแก้ปัญหาแล้ว เราตัดสินใจแก้ปัญหาดดยยึดผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น จากการแก้ปัญหาเพื่อสังคมแสดงว่าเรามีจริยธรรมสูงกว่าคนที่แก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของตัวเอง[2] กล่าวโดยรวมแล้วจริยธรรม คือเป้าหมายที่กำหนดมาตรฐานของศีลธรรมนั้นว่าถูกต้องแค่ไหน อย่างไร และยังเป็นเกณฑ์ความประพฤติหรือธรรมที่ควรประพฤติให้สอดคล้องกับความถูกต้องดีงาม ตามวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา

2.มาตรฐานจริยธรรมที่ข้าราชการไทยต้องมี[แก้]

ปัจจุบันนี้ จริยธรรมในราชการมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นการมีมาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นของ ข้าราชการไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดสาระสำคัญไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550 และยังมีแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นสิ่งที่กำกับความประพฤติของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ โดยยึดหลักตามมาตรฐานนี้

  • 1) ยึดมั่นคุณธรรมและจริยธรรม
  • 2) การมีจิตใต้สำนึกที่ดีงาม ไม่สุจริต มีความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
  • 3) การยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่หวังผลประโยชน์ หรือเจตนาแอบแฝงใดๆ
  • 4) การเป็นกลาง ยึดหลักความถูกต้อง
  • 5) การให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว และมีอัธยาศัยที่ดี ไม่เลือกปฏิบัติ
  • 6) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนต้องเป็นความจริง ครบถ้วน
  • 7) การมุ่งผลที่สำเร็จของงาน มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
  • 8) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • 9) การยึดมั่นในหลักวิชาชีพขององคกรณ์ไม่ผิดในจรรยาบรรณ[3]

3.มาตรฐานจริยธรรมของต่างประเทศ[แก้]

3.1ประเทศสหรัฐอเมริกา[แก้]

ได้มีมาตรฐานทางจริยธรรมโดยจะเน้นไปในเรื่องใช้อำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดดังนี้

  • 1)จงรักภักดีต่อศีลธรรมและต่อประเทศ
  • 2)เคารพในกฎหมาย
  • 3)ให้ค่าจ้างตามผลการปฏิบัติงานและความคิด
  • 4)จ้างงานที่มีประสิทธิภาพกว่าและประหยัดกว่า
  • 5)ไม่เลือกปฏิบัติและไม่รับประโยชน์ใด ๆ ในการปฏิบัติหน้าที่
  • 6)ไม่ให้คำมั่นสัญญาใด ๆ อันกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่
  • 7)ไม่ทำธุรกิจกับภาครัฐ หรือกับหน่วยงานของตน
  • 8)ไม่ใช้ข้อมูลข่าวสารไปแสวงหา ประโยชน์ส่วนตน
  • 9)เปิดเผยการทุจริตที่พบเห็น
  • 10)ยึดหลักความไว้วางใจจากสาธารณะ

3.2 ประเทศนิวซีแลนด์[แก้]

ประเทศนิวซีแลนด์ได้มีการกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมไว้ 3 ข้อ ดังนี้

  • 1)เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ภาระผูกพันตามกฎหมายที่มีต่อรัฐบาลด้วยความเป็นมืออาชีพและความซื่อสัตย์สุจริต
  • 2)เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อตรง มีประสิทธิภาพ เคารพสิทธิของประชาชนและเพื่อนร่วมงาน
  • 3)เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่ราชการ

3.3ประเทศสหราชอาณาจักร[แก้]

ประเทศสหราชอาณาจักรได้กำหนดข้อปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ภาครัฐไว้ดังนี้

  • 1) ความเสียสละ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากเกินไป
  • 2) ความซื่อตรง ไม่ทุจริตคดโกง
  • 3) ความตรงไปตรงมา แสดงคุณลักษณะตามความเป็นจริง
  • 4) ความพร้อมที่จะให้ผู้อื่นตรวจสอบ คือการแสดงความโปร่งใสไม่มีข้อปิดบัง
  • 5) ความโปร่งใสเปิดเผย กล้าที่จะเปิดเผยข้อมูลตามความเป็นจริง
  • 6) ความซื่อสัตย์สุจริต มีความดปร่งใส
  • 7) การเป็นแบบอย่างที่ดี ประพฤติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม

3.4ประเทศมาเลเซีย[แก้]

ประเทศมาเลเซียมีข้อกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ที่ข้าราชการจะต้องมีและยึดถือปฏิบัติ ไว้ 5 ข้อ ดังนี้

  • 1)ความซื่อสัตย์ ไม่ควรทุจริตต่อหน้าที่ทีตนรับผิดชอบ
  • 2)ต้องมีความน่าเชื่อถือ ไม่กระทำตัวที่ไม่เหมาะสม
  • 3)ความยุติธรรม เพราะถือว่าเป็นใจความสำคัญของข้าราชการ
  • 4)มีความโปร่งใส สุจริตทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  • 5)มีความกตัญญู

3.5ประเทศญี่ปุ่น[แก้]

ประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการไว้ 5 ข้อ ดังนี้

  • 1)ไม่ควรให้บริการโดยไม่ยุติธรรมหรือเลือกปฏิบัติเพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ควรทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด
  • 2)ต้องรู้จักแยกงานของราชการกับงานส่วนตัวไม่ควรเอามาเกี่ยวข้องกันและไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของตนเพียงฝ่ายเดียว ควรยึดหลักการทำเพื่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
  • 3)ไม่กระทำการที่ทำให้เกิดข้อ ครหา หรือความทำความไม่ไว้วางใจให้แก่ผู้ร่วมงานและประชาชนในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่
  • 4)ในการปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นอันดับแรกและใช้จงความพยายามสูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่
  • 5)ระลึกเสมอว่าพฤติกรรมของตนอาจส่งผลต่อบริการสาธารณะ ไม่ว่าจะอยู่นอกสถานที่ก็ตาม[4]

สรุปได้ว่า มาตรฐานทางจริยธรรม คือ ตัวแบบสำคัญในการวางบรรทัดฐานทางสังคมของแต่ละประเทศ แต่อย่างไรก็ตามมาตรฐานทางจริยธรรมเพียงประการเดียวไม่อาจสกัดกั้นความเห็นแก่ตัวของบุคคลที่ใช้อำนาจในการ ปกครองประเทศ เพราะโดยหลักการแล้วการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย แต่ละประเทศจึงได้มีการสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมให้เป็นบทบัญญัติที่เป็นกฎหมายเรียกว่า ประมวลจริยธรรม ขึ้นมา เพื่อควบคุมการกระทำของบุคคลที่ใช้อำนาจในการปกครองประเทศ

4.การปลูกฝังจริยธรรม[แก้]

การปลูกฝังจริยธรรม หมายถึงการที่ทำให้บุคคลหรือสมาชิกในสังคมหรืสมาชิกในองกรณ์ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ประพฤติปฏิบัติ ทีถูกต้องเหมาะสม งดเว้นสิ่งที่ควรจะเว้นและกระทำสิ่งที่ควรกระทำ ตามหลักเกณฑ์ความเป็นจริงในเรื่องต่างๆ ในการดำรงชีพ ที่มนุษย์ต้องปฏิบัติบนพื้นฐานของความเป็นจริงของธรรมชาติ[5]

5.ปัญหาการขาดจริยธรรมของข้าราชการที่พบบ่อยในสังคม[แก้]

ปัญหาในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีประเด็นปัญหาจริยธรรมทางด้านต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติ ได้แก่ การทุจริตการเลือกตั้ง การช่วยเหลือพวกพ้องให้ได้เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน พ้นจากความผิดหรือรับโทษสถานเบา การใช้ทรัพย์สินทางราชการและ งบประมาณ ของหน่วยงานราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว การบังคับให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยกระทำผิดแทนตน การปรับหรือออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเอง การเอาใจออกห่างจากการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยตามหลักแล้ว ข้าราชการควรให้ความสำคัญกับส่วนรวม เพื่อที่จะได้เกิดทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สังคมจะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข พ้นจากการถูกกดขี่ข่มเหงสังคมจะได้มีความเจริญงอกงามทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ประเทศจะได้มีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น[6]

6.แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการไทย[แก้]

  • แนวทางการแก้ไข

1 ควรมีการปรับเปลี่ยนค่านิยมของสังคมให้ยกย่องนับถือคนจากความประพฤติดีและมีคุณงามความดี ความรู้ความสามารถ มากกว่าตำแหน่งหน้าที่และความร่ำรวย จะช่วยแก้ไขการละเมิดจริยธรรม 2ควรมีการกำหนดบทลงโทษทางกฎหมายให้มากขึ้นเกี่ยวกับจริยธรรมวิชาชีพนั้นๆ 3ควรมีการก่อตั้งหน่วยงานเฉพาะที่มีความเป็นอิสระ เพื่อกำกับดูแลเรื่องจริยธรรมของข้าราชการ 4ควรมีการให้ความรู้แก่ประชาชนรวมถึงการปลุกจิตสำนึกของประชาชนให้ช่วยกันสอดส่องดูแลการกระทำที่ผิดจริยธรรมของข้าราชการ[7]

  • การพัตนาจริยธรรมของข้าราชการไทยการพัฒนา หมายถึง ทำให้มีความมั่นคงและก้าวหน้า การพัฒนาประเทศก็ทำให้บ้านเมืองมีควาทเจริญมั่นคง

การพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการคือ กระบวนการปลูกฝังให้เกิดความเจริญงอกงามทางด้านจริยธรรมแก่บุคคล ให้บุคคลมีความประพฤติและการปฏิบัติสอดคล้องกับระเบียบแบบแผน และบรรทัดฐาน ที่สังคมได้มีการบัญญัติขึ้น และเพื่อสอดคล้องกับหลักศีลธรรมอันดีงามทางศาสนา สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการคือ การพัฒนาจิจใจ เป็นกระบวนการสร้างจิตสำนึกต่อการรับผิดชอบและการรู้จักแยกแยะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำออกจากกันได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดความเคยชินจนให้กลายเป็นจิตใต้สำนึก[8]

  1. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,ควมรุ้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์,พิมพ์ที่ บริษัท บพิธการพิมพ์,พิมพ์ปีที่ 2554,ISBN 974-345-243-5,หน้าที่ 257
  2. รศ.ดร.ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์,สำนักพิมพ์สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา,พิมพ์ปีที่ 2535,ISSN 0125-3778,หน้าที่ 1
  3. ส.เสือ,มาตรฐานจริยธรรม 9 ข้อของข้าราชการ-ลูกจ้าง อปท.http://www.thailocalmeet.com/index.php?topic=59606.0,หน้าที่1
  4. Ethics1stclass,มาตรฐานทางจริยธรรม,http://ethics1stclass.blogspot.com/2012/11/blog-post.html?m=1,หน้าที่ 2
  5. นายเอี่ยม ทองดี,ภาษาและวัฒนธรรม,สำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท,พิมพ์ปีที่ 2536,ISSN 0125-6424,หน้าที 60
  6. สมิต สัชฌุกร.For Quality,พิมพ์ปีที่ 2549,ISSN 0859-0990,หน้า 78
  7. รศ.ดร.วริยา ชินวรรโณ ,ดร.ฐิตารีย์ ศิริศีศรชัย ,จริยธรรมนักการเมือง,http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=6425:2015-05-13-10-52-53&catid=22&Itemid=217,หน้า 18
  8. รศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์,สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,พิมพ์ที่ หจก.โรงพิมพ์มิตรสยาม,พิมพ์ปีที่ 2541,ISSN 0125-2860,หน้า 67