ผู้ใช้:Boonyisa thamariya

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จริยธรรมของข้าราชการไทย[แก้]

1.ควมหมายของคำว่าจริยธรรม[แก้]

 ตามหลักพจจนานุกรมแล้วคำว่าจริยธรรม มีหลายความหมาย ความหมายแรกคือเป็นหลักความประพฤติที่ควบคุมบุคคลหรือกลุ่ม 

ความหมายที่สองคือจริยธรรมกับศีลธรรมหลายคนอาจจะสงสัยว่ามันต่างกันยังไงทั้งๆที่จริยธรรมก้เป็นการสึกาาเกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรมจะเป็นกระบวนการตรวจสอบ และเป้นผลลัพธ์ของการตรววจสอบ ส่วนศีลธรรมนั้นจะเป้นเนื้อหาที่จริยธรรมตรวจสอบ จริยธรรมจะเป็นการหาวิธีประยุกต์มาตรฐานทางศีลธรรมมาสู่ชีวิตรจริงและคอยตรวจสอบว่าศีลธรรมนี้มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล[1]

 ในส่วนความหมายของคำว่า จริยธรรม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ แนวทางในการประพฤติตนเพื่ออยู่กันอย่างสงบสุขในสังคม และจริยธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้นทำให้เราตกอยู่ในสภาพที่ต้องแก้ไขปัญหา เราควรตัดสินใจแก้ปัญหาโดยยึดผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น จากการแก้ปัญหาเพื่อสังคมแสดงว่าเรามีจริยธรรมสูงกว่าคนที่แก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของตัวเอง[2]
 กล่าวโดยรวมแล้วจริยธรรม คือเป้าหมายที่่กำหนดมาตรฐานของศีลธรรมนั้นว่าถูกต้องแค่ไหน อย่างไร และยังเป็นเกณฑ์ความประพฤติให้สอดคล้องกับความถูกต้องดีงามตามวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา

2.มาตรฐานจริยธรรมที่ข้าราชการไทยต้องมี[แก้]

 ปัจจุบันนี้ จริยธรรมในราชการมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นการมีมาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นของ ข้าราชการไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดสาระสำคัญไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550

และยังมีแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นสิ่งที่กำกับความประพฤติของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ โดยยึดหลักตามมาตรฐานนี้

  • 1) ยึดมั่นคุณธรรมและจริยธรรม
  • 2) การมีจิตใต้สำนึกที่ดีงาม ไม่สุจริต มีความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
  • 3) การยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่หวังผลประโยชน์ หรือเจตนาแอบแฝงใดๆ
  • 4) การเป็นกลาง ยึดหลักความถูกต้อง
  • 5) การให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว และมีอัธยาศัยที่ดี ไม่เลือกปฏิบัติ
  • 6) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนต้องเป็นความจริง ครบถ้วน
  • 7) การมุ่งผลที่สำเร็จของงาน มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
  • 8) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • 9) การยึดมั่นในหลักวิชาชีพขององคกรณ์ไม่ผิดในจรรยาบรรณ[3]

3.มาตรฐานจริยธรรมของต่างประเทศ[แก้]

3.1 ประเทศสหรัฐอเมริกา[แก้]

ได้มีมาตรฐานทางจริยธรรมโดยจะเน้นไปในเรื่องการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีข้อกำหนดดังนี้

  • 1)เคารพในศีลธรรมและจงรักประเทศ
  • 2) เคารพกฎหมายบ้านเมือง
  • 3) ให้ค่าจ้างตามการปฏิบัติหน้าที่และมีความคิด
  • 4) จ้างงานที่ให้ประสิทธิภาพกว่าและถูกกว่า
  • 5) ไม่เลือกประฏิบัติและไม่ร่วมรับประโยชน์ใดๆ ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่
  • 6) ไม่มีคำสัญญาใดๆที่กระทบต่อการทำงาน
  • 7) ไม่ทำธุรกิจกับภาครัฐ หรือกับหน่วยงานของตน
  • 8) ไม่เอาข้อมูลไปแอบอ้างเพื่อผลประโยชน์ของตน
  • 9) เปิดเผยการทุจริตที่พบเห็น
  • 10) ยึดถือความไว้วางใจแก่สาธารณะ

3.2 ประเทศนิวซีแลนด์[แก้]

แต่ละประเทศก็ย่อมมีความแตกต่างทางด้านจริยธรรม เพราะอาจจะเป็นสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน การปกครองที่แตกต่างกัน สังคมชนเผ่าที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่จริยธรรมทุกประเทศมีเหมือนกันก็คือการซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคม เป็นคนดี สร้างผลประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความเสียสระ
  1. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,ควมรุ้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์,พิมพ์ที่ บริษัท บพิธการพิมพ์,พิมพ์ปีที่ 2554,ISBN 974-345-243-5,หน้าที่ 257
  2. รศ.ดร.ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์,สำนักพิมพ์สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา,พิมพ์ปีที่ 2535,ISSN 0125-3778,หน้าที่ 1
  3. ส.เสือ,มาตรฐานจริยธรรม 9 ข้อของข้าราชการ-ลูกจ้าง อปท.http://www.thailocalmeet.com/index.php?topic=59606.0,หน้าที่1