ผู้ใช้:Arawadee/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระปทุมเทวาภิบาล
ไฟล์:พระปทุมเทวาภิบาล(บุญมา).jpg
พระปทุมเทวาภิบาล(ท้าวสุวอธรรมา)
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดบุญมา
เกิด19 มกราคม พ.ศ. 2382
เสียชีวิต21 พฤษภาคม พ.ศ. 2466
อาชีพข้าราชการ,


พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา) เจ้าเมืองหนองคายคนแรก

ประวัติ[แก้]

พระประทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายคนแรก มีนามเดิมว่า ท้าวบุญมา เป็นบุตรของพระอุปฮาดแพง อุปฮาดเมืองยโสธร เป็นหลานพระปทุมสุรราช(คำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช และเป็นหลานเจ้าพระวิไชยขัตติยะราชสุริยวงศ์ (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ ๓ สืบเชื้อสายราชวงศ์เชียงรุ่ง เจ้าพระตาเมืองหนองบัวลุ่มภู

ประวัติการเข้ารับราชการ[แก้]

พ.ศ. ๒๓๖๙ ท้าวสุวอธรรมา เป็นผู้มีความชอบ เก่งกล้าสามารถในการสนับสนุนกำลังรบ จนได้รับชัยชนะเป็นผลสำเร็จ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่ "พระปทุมเทวาภิบาล" ทรงโปรดให้เป็นผู้ก่อตั้งเมืองหนองคายขึ้น และดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองคายคนแรกเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ ให้ปกครองประชาราษฏร์ ดูแลครอบครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขสืบมา

ผลงาน[แก้]

ตั้งเมืองหนองคาย[แก้]

บริเวณที่ตั้งของตัวอำเภอเมืองหนองคายปัจจุบัน ในอดีตเป็นเพียงชุมชนหมู่บ้านเล็กๆ เรียกว่า "บ้านไผ่" และน่าจะเป็นชุมชนหมู่บ้านในเขตการปกครองของเมืองเวียงคุก ของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อกองทัพไทยยกทัพมาปราบเจ้าอนุวงศ์ ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ - ๒๔๗๑ และตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายพานพร้าวฝั่งตรงข้ามกับเวียงจันทน์ ภายหลังหลงกลข้าศึกจึงทิ้งค่ายพานพร้าวมาตั้งมั่นที่ "ค่ายบกหวาน" ห่างจากค่ายพานพร้าวมาทางใต้ ๕๐ กิโลเมตร ภายหลังเมื่อรบชนะเจ้าอนุวงศ์ จึงมีการตั้งเมืองใหม่แทนที่เมืองเวียงจันทน์ ซี่งกองทัพไทยได้ทำลายจนไม่เหลือให้เป็นที่ตั้งมั่นของชาวลาวล้านช้างได้อีก ต่อไป

บึงค่ายที่มาของเมืองหนองค่าย ค่ายบกหวานซึ่งเหมาะสมทั้งตำแหน่งสถานที่และจุดประสงค์ในการย้ายฐานการ ปกครองจากที่เก่า (เวียงจันทน์ - พานพร้าว) มายังแห่งใหม่ เมื่อรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ยุบยกเลิก "พระเจ้าประเทศราชเวียงจันทน์" และเวียงจันทน์ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีย์) เป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา สมุหนายกมหาดไทยและให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นแทนที่เวียงจันทน์ในคราวนั้นด้วย ซึ่งทั้งพระโหราธิบดีและกรมพระอาลักษณ์คงคิดผูกศัพท์ฤกษ์ชัยแล้ว โดยใช้ค่ายบกหวานเป็นนิมิต ดังนี้คือ ค่ายนี้ไม่ติดแม่น้ำทหารจึงต้องอาศัยน้ำจากหนองบึงมาบริโภค หนองบึงนั้นคงเรียกกันในคราวนั้นว่า "บึงค่าย" หรือ "หนองค่าย" เป็นที่ตั้งของทหารไทยจนรบชนะเวียงจันทน์ถึงสองครั้งคือ พ.ศ. ๒๓๒๑ และ พ.ศ. ๒๓๗๑ จึงได้ชื่อเมืองใหม่แห่งนี้ว่า "เมืองหนองค่าย" เมื่อถือหนองน้ำเป็นนิมิตเมือง จึงถือเป็น "นาคนาม" ที่เหนือกว่า "จันทบุรี สัตนาคนหุต อุตมราชธานี" ของเวียงจันทน์ที่ถือนิมิตพญาช้าง และไม้จันทน์หอม (ใช้บูชาเทพเจ้าของลัทธิพราหมณ์) ดังนั้นนักปราชญ์ไทยจึงได้ใช้ "ดอกบัว" ซึ่งเป็นไม้พุทธอาสน์ (อาสนะพระพุทธเจ้า) และเป็นไม้น้ำตามนิมิตชื่อเมืองหนองคาย และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เป็น "พระปทุมเทวาภิบาล" เมืองหนองคาย (นิมิตนามเจ้าเมืองแปลว่า "เทวดาผู้รักษาดอกบัว") ทั้งนี้เพื่อเป็นการข่มดวงเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งถือเป็นเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต นั่นเอง

เมื่อได้ชื่อเมืองแล้ว จึงได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บ้านไผ่ ริมแม่น้ำโขงโดยตั้งกองทหารส่วนหน้าอยู่บริเวณศาลากลาง (หลังที่ ๑ และ ๒ เดิม) มีถนนสายหนึ่งเรียกว่า "ถนนท่าค่าย" สืบมา ทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองลาวล้านช้าง ทั้งฝั่งซ้ายฝั่งขวาแทนเวียงจันทน์ราษฎรเมืองหนองคายส่วนใหญ่คือชาวลาว เวียงจันทน์นั่นเอง ถือเป็นเมืองเอก ๑ ใน ๑๕ เมือง รวมเมืองขึ้น ๕๒ เมือง หลังปราบศึกเจ้าอนุวงศ์ฯ ยุบประเทศราชเวียงจันทน์แล้วหนองค่ายจึงมีบทบาททางการเมืองการปกครองมากที่ สุดในหัวเมืองภาคอีสาน และเป็นที่มั่นด่านหน้าของทัพไทยในการทำสงครามกับญวน ต่ออีก ๑๕ ปี (พ.ศ. ๒๓๗๑ - ๒๓๘๖)

ซึ่งจักรพรรดิมินมางหว่างเด๊ ของญวนเป็นพันธมิตรกับเจ้าอนุวงศ์ ทั้งมีอาณาเขตติดกับอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เดิม เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) สมุหนายกมหาดไทย จึงยกทัพรบญวนจนถึงไซ่ง่อน โดยมีเมืองหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ช่วยสกัดทัพด้านนี้แทน รัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นว่าราษฎรเมืองต่างๆ ในอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ - จำปาศักดิ์ ต่างระส่ำระสาย เพราะบ้านเมืองกลายเป็นสมรภูมิ จึงทรงมีรัฐประศาสน์นโยบายให้เจ้าเมืองพาราษฎรอพยพมายังฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง โดยพระราชทานที่ทำกินและสืบตระกูลได้ จึงปรากฏว่ามีชาวเมืองพวนจากแคว้นเชียงขวางและชาวญวน อพยพมาอยู่ฝั่งหนองคายมากขึ้น รวมทั้งนครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี สกลนคร ที่มีชาวเมืองกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานจนถึงปัจจุบัน เช่น พวน ผู้ไทย ญวน โส้ บรู และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ (ข่า) ในลาว ก็อพยพมาตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ตามภาคอีสานด้วยเช่นกัน [1]

สร้างวัดโพธิ์ชัย[แก้]

พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคายเมื่อมีการอัญเชิญพระเสริมพระใสมาไว้ที่เมืองหนองคาย แล้วก็เอาธุระในการเคารพบูชาตามสมควรเพราะบ้านเมืองสมัยนั้นยังอยู่ในภาวะ สงครามดังจะปรากฏว่าตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๗๒-๒๓๗๖ นั้นมีการยกกองทัพมาผ่านและแวะพักที่หนองคายหลายครั้ง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๗๙ ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นที่วัดหอก่องกล่าวคือเกิดแผ่นดินไหวทำให้เกิดเป็น รอยแยกขนาดใหญ่ต่อหน้าพระเสริมดังปรากฏในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ฉบับ ที่ ๒ ว่า

“ ศักราชได้ ๑๙๘ ปี ฮวยสันเดือน ๖ ขึ้นแปดค่ำวันเสาร์ มื้อเต่าสี ( ) ยามกองแลง (ประมาณบ่าย ๓ โมงเศษ) แผ่นดินยะ (แยกหรือแผ่นดินไหวจนแตกออกเป็นหลุมกว้าง) ณ วัดหอก่อง ตรงหน้าพระเสริมแล ”

การเกิดเหตุอัศจรรย์ดังกล่าวทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันของชาวเมืองและข้าราชการไปต่างๆนานา บ้างก็ว่าเป็นอาเพศบ้านเมืองจะทุกข์ร้อน บ้างก็ว่าเป็นลางบอกเหตุว่าพระเสริมต้องการย้ายไปวัดอื่น บ้างก็ว่าวัดหอก่องเป็นวัดเล็กๆไม่เหมาะสมที่จะเอาพระพุทธรูปที่พระมหา กษัตริย์ทรงสร้างมาไว้ในที่แคบๆเช่นนี้ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้นทางเจ้าเมืองและกรรมการเมืองหนองคายจึงได้ปรึกษากันว่าจะ ทำอย่างไรในที่สุดก็มีมติว่าจะต้องหาสถานที่เพื่อสร้างเป็นวัดและอัญเชิญพระ เสริมไปประดิษฐานอยู่ซึ่งสถานที่ดงกล่าวก็คือวัดผีผิวหรือวัดโพธิ์ชัยซึ่ง เป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาแต่มีเจดีย์โบราณที่สวยงามอยู่แสดงว่าที่ดัง กล่าวมีความสำคัญมาแต่ครั้งอดีต ดังนั้น จึงมีมติในการบูรณะวัดโพธิ์ชัย เมื่อคณะกรรมการเมืองมีมติดังกล่าวแล้วเจ้าเมืองก็ได้นำความเข้าปรึกษากับ ท่านญาครูหลักคำผู้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของเมืองหนองคาย (นัยว่ามีศักดิ์เทียบเท่าเจ้าคณะจังหวัดในปัจจุบัน)

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ พระปทุมเทวาภิบาล(ท้าวสุวอ)เจ้า เมืองหนองคายจึงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยมีท่านญาคูหลักคำเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำการยกวัดโพธิ์ชัยคือการยกฐานะจากวัดที่ไม่มีพระสงฆ์ให้เป็นวัดที่มีพระ สงฆ์อยู่จำพรรษาพร้อมกับบูรณะปฎิสังขรณ์เสนาสนะที่เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ สามเณรเมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๘๒ดังปรากฏในพงศาวดารย่อฯว่า

“ศักราชได้ ๒๐๑ ปีกัดไค้ เจ้าเมืองหนองคาย(ยก)วัดโพไชย เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำวันเสาร์แล”

เมื่อทำการบูรณะและยกวัดเสร็จแล้วพระปทุมเทวาภิบาล(ท้าวสุวอ)เจ้าเมือง หนองคายก็ได้นิมนต์ท่านญาคูหลักคำมาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยและ ได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระเสิมจากวัดหอก่องมาประดิษฐานที่อุโบสถวัดโพธิ์ชัย และนับจากนั้นมาวัดโพธิ์ชัยก็ได้กลายมาเป็นวัดหลวงคือวัดประจำเมือง เหตุเพราะเจ้าเมืองเป็นผู้สร้าง(หรือบูรณะ) อนึ่ง ภายหลังจากทำพิธียกวัดโพธิ์ชัยและอัญเชิญพระเสิมมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแล้วถัดจากนั้นมาอีก ๑๓ วัน คือตรงกับวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๓๘๒ ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญคือเกิดสุริยุปราคาขึ้น [2]


เมื่อจัดหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาล พระยาประจันตประเทศฯ ก็ได้รับราชการในตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดตลอดมาจนแก่ชราจึงได้เปลี่ยนเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาราชการ เหตุด้วยพระ ยาประจันตประเทศฯ เป็นผู้คุ้นเคยราชการมามากไม่มีใครเหมือนในท้องที่สกลนคร จะเป็นเสนาบดีเจ้ากระทรวงก็ดี ข้าหลวงต่างพระองค์ก็ดี สมุหเทศาภิบาลก็ดี เมื่อจะใคร่รู้เรื่องราวกิจการอันใด ที่ได้เคยมีมาในเมืองสกลนคร จะต้องปรึกษาพระยาประจันตประเทศฯ เป็นนิตย์จึง นับว่าเป็นผู้ได้ทำประโยชน์แก่ราชการ บ้าน เมืองมาจนตลอดอายุอันยืดยาว น้อยตัวที่จะมีเหมือน พระยาประจันตประเทศธานีป่วยเป็นโรค ชรา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 คำนวณอายุได้ 85 ปี

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า Arawadee/กระบะทราย ถัดไป
เริ่มตั้งเมืองหนองคาย
เจ้าเมืองหนองคาย
(พ.ศ. 2370 - พ.ศ. 2381)
พระปทุมเทวาภิบาล (เคน)