ผู้ใช้:Ampha.BK/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จาฤก กัลย์จาฤก

จาฤก กัลย์จาฤก
เกิดกรุงเทพ
อาชีพประธานบริษัทกันตนา,
ผู้บริหาร,
ผู้ผลิตละครวิทยุ, โทรทัศน์ และภาพยนตร์,การแสดง,การศึกษา,อีสปอร์ต,ออนไลน์มีเดีย
ผลงานเด่นประธานกรรมการบริษัท บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน),
กรรมการ บริษัทในเครือกันตนา,
กรรมการ บริษัท กัลย์จาฤก โฮลดิ้งส์ จำกัด,
กรรมการ มูลนิธิประดิษฐ์-สมสุข กัลย์จาฤก,
ที่ปรึกษาสถาบันกันตนา,
ที่ปรึกษาสถาบันกันตนา,
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ,
,ที่ปรึกษามูลนิธิยุวเกษตรกรไทยในพระราชูปถัมภ์
,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
,นายกสมาคมส่งเสริมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ไทย
,กรรมการ คณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์การศึกษาจังหวัด นครปฐม ม.สวนสุนันทา,

จาฤก กัลย์จาฤก (JAREUK KALJAREUK) ประธานกรรมการ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ผู้นำบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ สู่ความเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านธุรกิจบันเทิง ระดับแนวหน้าของเอเชียและของโลก เป็นที่ยอมรับจากบริษัทชั้นนำต่างๆ ในต่างประเทศ และสร้างภาพพจน์ให้กับประเทศชาติในการช่วยพัฒนาธุรกิจบันเทิงให้กับประเทศเพื่อนบ้าน


ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ[แก้]


การศึกษา[แก้]


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ[แก้]

เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • รางวัล Asia Pacific Copyright Educator (A.C.E.) Award ครั้งที่ 3 พ.ศ.2557 ณ เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะที่ทุ่มเทการทำงานเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อย่างต่อเนื่อง
  • รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ ปี พ.ศ.2557
  • รางวัลช่อสะอาดสำหรับบุคคล/องค์กร ที่มีผลงานสร้างสรรค์สื่อดีเด่นด้านสนับสนุนและส่งเสริมป้องกันและปราบปรามการทุจริต ปี พ.ศ.2558
  • โล่แสดงความขอบคุณ จัดทำและจัดฉายวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ "เรื่อง 7ทศวรรษ ใต้ร่มพระบารมี" ปี พ.ศ.2558


ส่วนหนึ่งของผลงาน[แก้]

ด้านโทรทัศน์ที่มีการริเริ่มและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง[แก้]

  • การสร้างละครชุดแบบจบในตอน (Series) เรื่อง 38 ซอย 2 (พ.ศ. 2523)
  • การถ่ายทำละครโทรทัศน์ เช่น การถ่ายทำนอกสถานที่ โดยใช้รถ O.B., การใช้ระบบเสียง Wireless, เทคนิคการถ่ายทำตัดต่อที่นำสมัย, สร้างสตูดิโอและโรงถ่าย Out Door ถ่ายทำละครโทรทัศน์
  • การผลิตละครสร้างสรรค์สังคม อาทิ ละครสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น เรื่องจอมเกเร (2525), ละครสะท้อนปัญหาสังคม เช่น เรื่องบาปบริสุทธิ์ (2524) ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด (2526), ละครส่งเสริมการต่อสู้ชีวิตเพื่อสิทธิมนุษยชน เช่นเรื่อง ผู้หญิงคนหนึ่ง (2525), หางเครื่อง (2530) ลอดลายมังกร (2535), ละครแนวอนุรักษ์ความเป็นไทยและชีวิตชนบทไทย เช่น เจ้าซอใจซื่อ, ทิมมวยไทย (2526), เหล็กน้ำพี้ (2527) และ แม่เอิบ (2529)
  • เป็นต้นแบบของการถ่ายทำละครในต่างประเทศ เช่นเรื่อง “ซูซี่ซิงซิง” ที่ฮ่องกง (2530), “ทิวาหวาม” ที่ประเทศอังกฤษ (2532) และ “แก้วตาดวงใจ” ที่สหรัฐอเมริกา (2534)
  • เป็นต้นแบบการสร้างสรรค์ฉาก เช่น เรื่อง เปรต (2529) สร้างฉากเรือนไทยซึ่งได้รับรางวัลด้านฉากยอดเยี่ยม, ฉากถ้ำในเรื่อง มาเฟียซาอุ (2529), ฉากภายในเครื่องบินเรื่องนางฟ้าปีกอ่อน (2537)
  • เป็นต้นแบบของการสร้างประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบฉาก เช่น เรื่อง “ชาติมังกร (2529)” สร้างรถมอเตอร์, “พันท้ายนรสิงห์” สร้างเรือ
  • ด้านเทคนิคการถ่ายทำต่างๆ เช่น สัตว์ประหลาดในเรื่อง เกาะมหัศจรรย์ (2528), ห้องถ่ายภาพใต้น้ำในเรื่อง “คนทะเล”
  • ด้านเทคนิคการตัดต่อลำดับภาพ ริเริ่มการฟรีซภาพ รีเวิร์สภาพ และตัดต่อลำดับภาพให้แปลกตาในการทำไตเติ้ล คีย์ซีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา และยังมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟฟิคมาใช้ เช่น เรื่อง เทพบุตรสุดเวหา (2536) ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกที่ใช้โปรแกรม “มอร์ฟ” ในการเปลี่ยนภาพแทนการซ้อนภาพ และดิสโซล์ฟ
  • การผลิตสารคดีสั้น 1-3 นาที ได้แก่ สารคดีโลกกว้างทางแคบ ชุด เรื่องกิน เรื่องใหญ่ และสารคดีงามอย่างไทย (2523)
  • รายการโทรทัศน์ประเภท Docu Drama และ Documentary ด้วยเรื่อง แฝดสยาม (2534). เสรีไทย (2535). คนจีนในแผ่นดินสยาม (2537)
  • เป็นต้นแบบของการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ และเปิดตลาดภาพยนตร์การ์ตูน โดยร่วมมือกับ บริษัท โตเอะ ประเทศญี่ปุ่น ในการผลิตการ์ตูน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา
  • เป็นต้นแบบของการถ่ายทำมิวสิควิดีโอ โดยทำให้กับกลุ่มซูโม่ ด้วยเพลงแนวล้อเลียน “I Just Call to Say I love You” (2526)
  • ผลิตรายการ Big Brother Thailand ซีซั่น 1-3 รายการประเภทเรียลลิตี้โชว์ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชม. ของผู้แข่งขันที่เข้ามาใช้ชีวิตในบ้านด้วยกันเป็นเวลา 100 วัน ผ่านกล้องบันทึกเหตุการณ์กว่า 30 ตัว จนโด่งดังเป็นที่กล่าวถึงทั้งในด้านรูปแบบรายการและคอนเทนต์ที่สนุกสนาน
  • พัฒนาต่อเนื่องในการผลิตคอนเทนต์ที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของผู้ชมที่เปลี่ยนไป โดยนำฟอร์แมทโปรแกรมจากต่างประเทศมาสร้างสรรค์ในเวอร์ชั่นไทย จนประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเฉพาะ The Face Thailand และ The Face Men Thailand
  • พัฒนาฟอร์แมตรายการอีสปอร์ตเรียลลิตี้โชว์รายการแกของโลก King of Gamer จากซีซั่น 1 จนถึงปัจจุบันยาวนานกว่า 6 ซีซั่น ทั้งยังต่อยอดสู่การพัฒนานักกีฬาอีสปอร์ตระดับแนวหน้าของโลก โดยจัดตั้งทีม KOG เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่างๆ จนคว้ารางวัลมาแล้วมากมายทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ถือได้ว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของกีฬาอีสปอร์ตให้ได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น

ด้านการสร้างบุคคลากรคุณภาพ[แก้]

ก่อตั้งสถาบันกันตนา สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแห่งแรกที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนทาง วิชาชีพโดยเฉพาะ ในแขนงวิชาการผลิตภาพยนตร์ แขนงวิชาการผลิตแอนิเมชัน และแขนงวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการสื่อสารข้ามสื่อ แบบเข้มข้น เน้นการปฏิบัติจริงควบคู่การเรียนในภาคทฤษฎี เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์สูง มีความเป็นมืออาชีพ สามารถเข้าทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตสื่อบันเทิงได้ทันที หรือสามารถรับงานอิสระหรือสร้างงานด้วยตัวเองได้

ด้านภาพยนตร์และแอนิเมชัน[แก้]

  • จุดประกายวงการภาพยนตร์ไทยด้วยการสร้างภาพยนตร์ที่ใช้ Special Effect ทั้งเรื่อง “กาเหว่าที่บางเพลง”
  • สร้างภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลมากที่สุดในรอบปี 2540 “ท้าฟ้าลิขิต”
  • สร้างภาพยนตร์ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องการให้คนไทยมีความรักและสามัคคีกัน “คนไททิ้งแผ่นดิน”
  • สร้างภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องแรกของไทย ที่ประสบความสำเร็จในการทำรายได้สูงสุดของภาพยนตร์แอนิเมชันที่ฉายในประเทศ และได้รับรางวัลมากมายทั้งในและต่างประเทศ “ก้านกล้วย” ต่อเนื่องมาสู่ “ก้านกล้วย2” ที่สร้างผลงานออกมาได้อย่างน่าประทับใจไม่แพ้กัน
  • สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันรูปแบบ 3D Stereoscopic เรื่องแรกของไทย โดยฝีมือคนไทยทุกขั้นตอน เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อนปัจจุบัน ที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์ ผลักดันให้เยาวชนเกิดแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางธรรมชาติ “เอคโค่ จิ๋วก้องโลก” (Echo Planet)
  • ถือเป็นอีกหนึ่งความกล้าหาญในการนำบทละครคลาสสิคอย่าง “ห้องหุ่น” มาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย พร้อมกระแสตอบรับจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลกที่ซื้อภาพยนตร์ไปเรื่องนี้ไปฉายด้วยเช่นกัน ทั้งยังเป็นภาพยนตร์ไทยเพียงเรื่องเดียวใน 12 เรื่อง ที่ได้รับคัดเอกให้เข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ Puchon International Fantasic Film Festival (PIFAN) ของเกาหลีอีกด้วย
  • สร้างภาพยนตร์ไทยแนวอาชญกรรมวัยรุ่น สะท้อนสังคมอุดมปัญญาในโลกของสื่อสังคมออนไลน์ “อวสานโลกสวย” ทั้งยังได้รับเชิญเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ในต่างประเทศ อาทิ New York Asian Film Festival (NYAFF) ท่ามกลางเสียงตอบรับชื่นชมจากนักวิจารณ์ต่างประเทศจำนวนมาก

ด้านธุรกิจ โพสท์โปรดักชั่น[แก้]

  • ก่อตั้ง บริษัท กันตนา แลบบอราทอรี่ จำกัด ผู้ให้บริการครบวงจรเป็นแห่งแรกในทวีปเอเชียที่ได้รับ

ISO 9001:2000 ซึ่งนับว่าเป็น Film Post Production Service ในระดับมาตรฐานสากลพร้อมด้วยเครื่องมือจาก Photo-Mec และ Hollywood Film และ ก่อตั้ง บริษัท กันตนา โพสต์ โปรดักชั่น (ไทยแลนด์) เพื่อรองรับธุรกิจฟิล์มให้ก้าวสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ

  • ร่วมทุนกับบริษัท โอเรียนทัล โพสท์ จำกัด ซึ่งเป็น Post Production Service เทียบเท่าระดับมาตรฐานสากล
  • ให้บริการบันทึกเสียงภาพยนตร์เต็มรูปแบบ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เป็นผู้บุกเบิกการบันทึกเสียงระบบเสียงรอบทิศทาง (Surround Sound) สำหรับภาพยนตร์ไทย เป็นครั้งแรก (ภาพยนตร์ "กาเหว่าที่บางเพลง") และ การบันทึกเสียงรอบทิศทางระบบดิจิตอล (Dolby SR-D) แห่งแรกในเอเชีย (ภาพยนตร์ Batman: Forever) ปัจจุบัน รองรับการบันทึกเสียงครบสามระบบมาตรฐานสากล คือ Dolby, Auro 3D และ DTSX Format ซึ่งระบบเสียง Dolby Atmos เป็นระบบเสียง มาตรฐานใหม่สําหรับภาพยนตร์ ระบบ Auro 3D ระบบเสียงอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับโรงภาพยนตร์ที่เริ่มแพร่หลายในต่างประเทศ

ด้านธุรกิจคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและแอนิเมชัน[แก้]

  • รองรับและสนับสนุนงานผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ ด้วยอุปกรณ์ทันสมัยระดับ PowerWorkstation "Silicon Graphics" จำนวนถึง 6 Workstation พร้อมซอฟแวร์ "Alias Wave front" และ "Soft Image" ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับระบบฟิล์มแล็ป และ Hi-end Post Production Service ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ด้านการขยายสถานีโทรทัศน์และโพสต์โปรดักชั่นในต่างประเทศ[แก้]

  • เปิดประตูสู่อินโดจีน ด้วยบริษัท มิก้า มีเดีย จำกัด (MICA MEDIA CO.,LTD) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท กันตนาฯ กับนักธุรกิจท้องถิ่น จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชา
  • ร่วมทุนตั้งสถานีโทรทัศน์ VTC 9 โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม
  • ร่วมทุนตั้งสถานีโทรทัศน์ MWD ประเทศเมียนมาร์

ด้านการขยายเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม[แก้]

  • M Channel ช่องภาพยนตร์และความบันเทิงตลอด 24 ชม. ดำเนินงานโดยบริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด สถานีภาพยนตร์ระดับพรีเมี่ยม 24 ชั่วโมง สามารถรับชมได้ผ่านหลากหลายช่องทาง นอกเหนือจากจานดาวเทียม อาทิ ช่องเคบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ ชมรายการสดผ่านเว็บไซต์ ทีวีบนมือถือ หรือผ่านฟรีทีวีดิจิทัล เพิ่มความคมชัดขึ้น 3 เท่า และคัดสรรเฉพาะภาพยนตร์คุณภาพที่ได้รับความนิยม รวมถึงการจัดกิจกรรมการตลาดร่วมกับริษัทในเครือเมจเอร์ ซีนีเพล็กซ์
  • Boomerang Thailand สถานีโทรทัศน์ช่องการ์ตูนอันดับ 1 ของประเทศไทย ออกอากาศภาคภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ ความร่วมมือระหว่างกันตนา กรุ๊ปและกลุ่มเมเจอร์ ในนามของบริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด และบริษัท เทิร์นเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเซีย แปซิฟิค จำกัด เจ้าของช่อง Boomerang ผู้นำด้านช่องการ์ตูน สำหรับครอบครัวระดับโลกในเครือเทิร์นเนอร์ กลุ่มบริษัทด้าน Broadcasting ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นำเสนอความสนุกสนานบันเทิงสำหรับครอบครัว ด้วยหลากหลายรายการการ์ตูนชื่อดัง ทั้งคลาสสิคและสมัยใหม่ระดับโลก เช่น Powerpuff Girls, Batman, Ben 10, Garfield, Tom and Jerry เป็นต้น