ผู้ใช้:ณรงค์ฤทธิ์ พรหมโยธี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันตำรวจโท ณรงค์ฤทธิ์ พรหมโยธี
คิดถึงทุกคน มีโอกาสคงได้พบกันอีก

ณรงค์ฤทธิ์  พรหมโยธี (๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ - ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๓)

ได้รับสมญานาม " ครูเปี๊ยกลูกบ่อฝ้าย "

คติประจำใจ " ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง "

ประวัติ[แก้]

พันตำรวจโท ณรงค์ฤทธิ์  พรหมโยธี เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ ที่ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ (เกียกกาย)

เป็นบุตรของ พลโท กำจร พรหมโยธี กับ นางคลอจิต พรหมโยธี เป็นหลานชายของ พลเอก มังกร พรหมโยธี (หลวงพรหมโยธี) กับ คุณหญิง ทองเจือ พรหมโยธี

มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ทั้งหมด ๙ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๘ คน คือ

๑. นางจารุชา สุเสวี

๒. พันตำรวจโท ณรงค์ฤทธิ์  พรหมโยธี

๓. นางทิพย์มาศ คุ้นวงศ์ (ถึงแก่กรรม)

๔. นางปรางค์ทิพย์ บุญศรี

๕. นางสาวจริยา พรหมโยธี

๖. นางมัทนี ลิ่มป์ธีระกุล

๗. นางเกศรินทร์ ลิ่มสุวรรณ

๘. นางณัฎฐพัชร์ พรหมโยธี

๙. นางนฤมล อิศดุลย์

ครอบครัว[แก้]

พันตำรวจโท ณรงค์ฤทธิ์ พรหมโยธี ได้สมรสกับ นางสาววิบูลย์สุข พรหมโยธี (สกุลเดิม : ดวงหิรัญ) เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๑๘

มีบุตรร่วมกัน ๒ คน หญิง ๑ ชาย ๑ คือ

๑. นางสาวชารีฎา พรหมโยธี (สมรสกับ นาวาเอก พัทธเขตร แก้วอำไพ ร.น.)

๒. นายธิติ พรหมโยธี

มีหลานชาย ๒ คน คือ

๑. นายก้องกิตติ พรหมโยธี

๒. ด.ช.ศัตชัย  แก้วอำไพ

ประวัติการศึกษา[แก้]

พ.ศ. ๒๕๑๑     สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (BCC 115)

พ.ศ. ๒๕๑๕     สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี (เฮลิคอปเตอร์) ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

พ.ศ. ๒๕๒๐     เข้าศึกษาอบรม โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

พ.ศ. ๒๕๓๓     สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนายทหารยุทธการระดับฝูงบิน รุ่นที่ ๓๑ ของกองทัพอากาศ

พ.ศ. ๒๕๓๓     สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนิรภัยภาคพื้นสำหรับ (ชั้นสัญญาบัตร) รุ่นที่ ๑๘

พ.ศ. ๒๕๓๓     สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเทคนิคการสอน ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน]

พ.ศ. ๒๕....     สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปฏิบัติการรบร่วม อากาศ-พื้นดิน รุ่นที่ ๘๖ (ในหนังสือรุ่นไม่ได้ระบุปี พ.ศ.)

พ.ศ. ๒๕๔๑     สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสารวัตร สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตำแหน่งในราชการ[แก้]

๑ ธันวาคม ๒๕๑๕     เข้ารับราชการ เป็นพลฯ สำรองพิเศษ ประจำแผนก ๕ กก.๒ กองบินตำรวจ

๑ ตุลาคม ๒๕๑๙     ช่างอากาศและพนักงานวิทยุ (ตนอ.) ชั้นประทวน

๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๑  พนักงานวิทยุ ผ.๕ กก.๒ กองบินตำรวจ

๑ ตุลาคม ๒๕๒๒     ผู้ทำการในอากาศ ตำแหน่งนักบินประจำกอง (ต.น.ก.) ชั้นประทวน

๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๕   ผบ.หมู่ แผนก ๒ (ฝูงบินที่ ๒) กก.๒ บ.ตร.

๕ เมษายน ๒๕๒๘    นักบินตรี แผนก ๑ (ฝูงบินที่ ๑) กก.๒ บ.ตร.

๑๖ มกราคม ๒๕๓๖   นักบินตรี แผนก ๑ (ฝูงบินที่๑) กก.๒ บ.ตร.

๑ ตุลาคม ๒๕๓๖ - ๓๗  ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการ (ตำแหน่งในสนาม)

๑ ตุลาคม ๒๕๓๘ - ๓๙  หัวหน้าชุดรักษาความปลอดภัย สตม.๘๒ (ตำแหน่งในสนาม)

๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ - ๔๐  หัวหน้าชุดช่วยเหลือประชาชน ๒ (ตำแหน่งในสนาม)

๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๘  นักบินสัญญาบัตร

๑ ตุลาคม ๒๕๔๘    ลาออกจากราชการ

ยศตำรวจ[แก้]

๑ ธันวาคม ๒๕๑๕     พลฯ สำรองพิเศษ

๑ เมษายน ๒๕๑๙     สิบตำรวจตรี

๑ ตุลาคม ๒๕๑๙      สิบตำรวจโท

๑ กรกฎาคม ๒๕๒๑    สิบตำรวจเอก

๕ เมษายน ๒๕๒๘    ว่าที่ร้อยตำรวจตรี

๑ ตุลาคม ๒๕๒๙     ร้อยตำรวจตรี

๑ ตุลาคม ๒๕๓๓     ว่าที่ร้อยตำรวจโท

๑ ตุลาคม ๒๕๓๔    ร้อยตำรวจโท

๑๖ มกราคม ๒๕๓๖   ร้อยตำรวจเอก

๑ เมษายน ๒๕๔๒    ว่าที่พันตำรวจตรี

๑ ตุลาคม ๒๕๔๓     พันตำรวจตรี

๑ ตุลาคม ๒๕๔๕     พันตำรวจโท

ประวัติการทำงานเป็นครู[แก้]

๒๓  กันยายน ๒๕๑๒                  เป็นครู โรงเรียนแม้นศรีพิทยาลัย

๖ กันยายน ๒๕๔๓ - ๓ มกราคม ๒๕๔๓   ดูแลศิษย์การบินกองบินตำรวจ ที่ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน สนามบินบ่อฝ้าย หัวหิน

๙ เมษายน ๒๕๔๔                    เป็นครูการบิน ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน หัวหิน

๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๕                   สอนหลักสูตรค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (Search and Rescue Administrator) ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน หัวหิน

๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๕ สอนวิชา

- กฎการบินและการให้บริการจราจรทางอากาศ (Rules of the Air & Air Traffic Services)

- การติดต่อสื่อสาร (Communications)

- การวางแผนการบินและการปฏิบัติการบิน (Flight Planning & Operations)

- การเดินอากาศ (Navigation)

ที่ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน หัวหิน

๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕                  สอนวิชาภาคพื้น ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน สนามบินบ่อฝ้าย หัวหิน

๑๓ ตุลาคม๒๕๔๗ - ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘   สอนวิชาภาคพื้น ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน หัวหิน และประสานงานกำกับดูแลศิษย์การบินของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พ.ศ.๒๕๔๘ - ๒๕๖๓                 สอนวิชาภาคพื้น ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน หัวหิน

ภารกิจสำคัญ[แก้]

๑. ช่วยเหลือตำรวจพลร่มและปะทะผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔

ขณะดำรงตำแหน่งนักบินประจำอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับคำสั่งให้บินเข้าไปช่วยตำรวจพลร่มซึ่งถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ปิดล้อม ที่ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ เฮลิคอปเตอร์ที่บินอยู่ถูก ผกค.ระดมยิงได้รับความเสียหาย ส่วนตนเองได้รับบาดเจ็บด้วย แต่สามารถนำเครื่องบินกลับไปนำกำลังมาช่วยตำรวจพลร่มทุกนายออกมาได้อย่างปลอดภัย

เมื่อ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พันตำรวจโท ณรงค์ฤทธิ์ พรหมโยธี จึงได้รับ โล่นักรบค่ายนเรศวร ตำรวจพลร่มดีเด่น จากวีรกรรมที่ได้ช่วยเหลือตำรวจพลร่มที่ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ในภายหลังมีผู้ทราบวีรกรรมดังกล่าวได้ทำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชา จึงได้มีการจัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติดังกล่าวให้ นับเป็นวีรกรรมที่น่าภาคภูมิใจ แม้แต่ทางบ้านก็ไม่เคยทราบเรื่องที่ได้รับบาดเจ็บเลย

๒. ยุทธการบางกลอยบน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ๗ สิงหาคม ๒๕๓๕

เกิดเหตุการณ์ตำรวจพลร่มและ ตชด.ปะทะกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ในพื้นที่บริเวณ ป่าบางกลอยบน เหนือเขื่อนแก่งกระจาน ตำรวจพลร่ม จากค่ายนเรศวร ๒ นาย กับ กก.ตชด.๑๔ ค่ายพระมงกุฎเกล้า ๖ นาย และชาวกะเหรี่ยงนำทาง ๑ คน ชื่อนายเมือง รวม ๙ นาย ออกปฏิบัติหน้าที่หาข่าวด้านความมั่นคงตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดยกำหนดเวลาทำภารกิจไว้ ๗ วัน ระหว่างปฏิบัติภารกิจเกิดการยิงปะทะกับกองกำลังไม่ทราบฝ่ายบนแนวสันเขา เป็นเหตุให้ จนท.ตร.และผู้นำทาง เสียชีวิต ๕ นาย ส่วนที่เหลือถูกฝ่ายตรงข้ามไล่ล่าจนกระทั่งเหลือ ตชด.รอดชีวิตเพียง ๔ นาย

   ร้อยตำรวจเอก ณรงค์ฤทธิ์ พรหมโยธี (ยศขณะนั้น) เป็นนักบินเฮลิคอปเตอร์นำชุดปฏิบัติการค้นหาและช่วยชีวิต ออกค้นหา ตชด.ที่รอดชีวิตกลุ่มนี้อยู่นานประมาณ ๑ เดือน จนกระทั่งวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๓๕ จึงค้นพบและได้บินเฮลิคอปเตอร์นำชุดค้นหาและช่วยชีวิตมารับ ตชด.ที่รอดชีวิต ณ บริเวณต้นน้ำเพชร จ.เพชรบุรี เป็นการเสร็จสิ้นภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตทางอากาศและทางพื้นดินร่วมกัน โดยใช้เวลาทั้งสิ้น ๓๕ วัน ประวัติการรบได้บันทึกไว้ว่า
   
   “ตชด.หัวหิน ปะทะกับ ผกค.กลุ่ม  ‘สหายลุงดิน’ ในยุทธการ  ‘๓๕ วัน นรกป่าบางกลอย’ ทำให้ ตชด.เสียชีวิต ๔ นาย นับเป็นการสู้รบครั้งสุดท้ายระหว่างทหารป่ากับเจ้าหน้าที่รัฐ (หมายเหตุ ในเขตงานเพชรบุรีของ ผกค.)”

๓. ปฏิบัติภารกิจเพื่อสันติภาพในประเทศติมอร์ตะวันออก ๓๐ เมษายน ๒๕๔๔ - ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๕

พันตำรวจตรี ณรงค์ฤทธิ์ พรหมโยธี (ยศขณะนั้น) ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นตำรวจสหประชาชาติในกองกำลังรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติ เพื่อการส่งผ่านอำนาจการบริหารประเทศให้แก่ประเทศติมอร์ตะวันออก (United Nations Transitional Administration in East Timor, UNTAET)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญ[แก้]

๕ ธันวาคม ๒๕๓๑  เหรียญจักรมาลา

๕ ธันวาคม ๒๕๓๓  จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย

๕ ธันวาคม ๒๕๓๖  จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก

๕ ธันวาคม ๒๕๔๓  ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕    เหรียญรักษาสันติภาพ องค์การสหประชาชาติ (UN Service Medalข้อความขนาดอักษรใหญ่ ด้านหลังจารึกว่า In the Service of Peace) สำหรับการเป็นตำรวจสหประชาชาติในประเทศติมอร์ตะวันออก(ติมอร์-เลสเต)

๕ ธันวาคม ๒๕๔๕  ตริตาภรณ์ช้างเผือก

ถึงแก่กรรม[แก้]

พันตำรวจโท ณรงค์ฤทธิ์ พรหมโยธี

ถึงแก่กรรมจากก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณเส้นเลือดใหญ่หลังผนังช่องท้อง ขนาดกว่า ๓๐ เซ็นติเมตร เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ โรงพยาบาลตำรวจ เวลา ๑๖.๓๕ นาฬิกา

พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา

อ้างอิง

[1]

  1. พลเอก มังกร พรหมโยธี