ผักเหมียง
ผักเหมียง (Gnetum gnemon) | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Gnetophyta |
ชั้น: | Gnetopsida |
อันดับ: | Gnetales |
วงศ์: | Gnetaceae |
สกุล: | Gnetum |
สปีชีส์: | G. gnemon |
ชื่อทวินาม | |
Gnetum gnemon L. |
ผักเหลียง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gnetum gnemon) เป็นพืชเมล็ดเปลือยในสกุลมะเมื่อย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม เมล็ดแก่สีส้ม ติดเมล็ดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันตกของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก แพร่กระจายจากรัฐอัสสัมผ่านอินโดนีเซีย มาเลเซียไปจนถึงฟิลิปปินส์และฟีจี ในไทยพบทางภาคใต้ เช่น พบในจังหวัดพังงา ภูเก็ต ชื่อในภาษาต่าง ๆ ได้แก่ เมอลินโจ หรือ เบอลินโจ (ภาษาอินโดนีเซีย), บาโก (ภาษามลายู, ภาษาตากาล็อก), ปีแซ (ภาษามลายูปัตตานี), แด (ภาษากวาราแอ) และ Bét, Rau bép, Rau danh หรือ Gắm (ภาษาเวียดนาม)
การใช้ประโยชน์
[แก้]จัดเป็นผักพื้นบ้านในภาคใต้ที่นิยมปลูกแซมในสวนยางพารา โดยใบอ่อนรับประทานได้ ในอินโดนีเซียนำไปใส่ซุป เรียก sayur asam นำไปบดเป็นผงแล้วใส่แป้งทำเป็นขนมซึ่งมีรสขม เรียก emping เคยมีความเชื่อว่ากรดยูริกในผักเหลียงที่เป็นอันตรายสำหรับผู้เป็นโรคเกาต์ แต่รายงานล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นเมื่อปี 2008 (Mori, M.,et al., 2008) พบว่ามิได้เป็นเช่นนั้น
อ้างอิง
[แก้]- ภูวดล บุตรรัตน์ และ อาคม วังเมือง. ผลของอุณหภูมิและสารควบคุมการเจริญเติบโตบางชนิดที่มีต่อการเจริญของเอ็มบริโอและการงอกของเมล็ดพืชสกุลนีตั้ม.[ลิงก์เสีย] การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัยครั้งที่ 3. 28 – 29 กรกฎาคม 2550. มหาวิทยาลัยนเรศวร
- Mori, M., et al.. (2008). Relationship between Lifestyle-related Diseases with The Intake of Indonesian Traditional Fruit Melinjo Rich in Phytoestrogens. Niigata, Japan. The 4th International Niigata Symposium on Diet and Health Integrative Function of Diet in Anti-aging and Cancer Prevention.
- Santoso, M., et al..(2008). Inhibition of Fish Lipid Oxidation by the Extract of Indonesia Edible Plant Seed `Melinjo`. Kyoto, Japan. Japanese Society for Food Science and Technology เก็บถาวร 2015-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Hisada, H., et al.. (2005). Antibacterial and Antioxidative Constituents of Melinjo Seeds and Their Application to Foods. Japan. Science Links Japan เก็บถาวร 2012-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Kato, E., Tokunaga, Y., Sakan, F. (2009). Stilbenoids Isolated from the Seeds of Melinjo (Gnetum gnemon L.) and Their Biological Activity. Japan. J. Agric Food Chem, 57 (6), 2544-2549.