ข้ามไปเนื้อหา

ผักกาดหอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ผักกาดแก้ว)

ผักกาดหอม
ทุ่งผักกาดแก้วในรัฐแคลิฟอร์เนีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับทานตะวัน
Asterales
วงศ์: วงศ์ทานตะวัน
Asteraceae
เผ่า: Cichorieae
Cichorieae
สกุล: สกุลผักกาดหอม
Lactuca
L.
สปีชีส์: Lactuca sativa
ชื่อทวินาม
Lactuca sativa
L.
ชื่อพ้อง[1][2]

ผักสลัด หรือ ผักกาดหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca sativa) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น

มนุษย์นำใบของผักกาดหอมมาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง[ต้องการอ้างอิง] ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ

การเพาะปลูก

[แก้]

ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน แต่ก็สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่ใช้ปลูกต้องระบายน้ำได้ดี มีค่า pH ในดิน 6.5-7 ขุดดินเป็นร่องตื้นแล้วหว่านเมล็ดลงไป รดน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ เมื่อผักกาดหอมงอกแล้วอาจต้องมีการย้ายกล้าออกเพื่อไม่ให้อยู่ติดกันแน่นเกินไป ผักกาดหอมเป็นผักที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน จึงไม่จำเป็นต้องฉีดยาฆ่าแมลง แมลงศัตรูพืชที่พบบ้างก็มีเพลี้ย กับหนอนกระทู้หอม ซึ่งพบมากในฤดูหนาวแถวภาคกลางและภาคเหนือ อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมประมาณ 40-50 วัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิกิตำรา)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Lactuca sativa". Kew Royal Botanical Gardens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-02. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
  2. "Lactuca serriola L". United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]