ผนังกลางอัณฑะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผนังกลางอัณฑะ
แผนภาพแสดงองค์ประกอบส่วนใหญ่ของอัณฑะมนุษย์วัยผู้ใหญ่ ประกอบด้วย: 1. ทูนิกา วาจินาลิส, 2. ผนังกั้นอัณฑะ, 3. กลีบย่อยอัณฑะ, 4. ผนังกลางอัณฑะ, 5. หลอดสร้างอสุจิ, 6. ทูบูลี เซมินิเฟรี เรกติ, 7. รีตีเทสทิส, 8. ท่อขับ, 9a. หัวของเอพิดิไดมิส, 9b. ตัวของเอพิดิไดมิส, 9.c หางของเอพิดิไดมิส, 10. หลอดนำอสุจิ, 11a. ทูนิกา วาจินาลิส (ผิวฝั่งนอกอวัยวะ), 11b. ทูนิกา วาจินาลิส (ผิวฝั่งในอวัยวะ) และ 12. ช่องของทูนิกา วาจินาลิส
ภาพตัดขวางของอัณฑะ[วัว]]โดยหลอดเลือดถูกฉีดด้วยสีเจลาตินแดง 1. พาเรงไคมา, 2 ผนังกลางอัณฑะ, 3 ทูนิกา อัลบูจินี, 4 หางของเอพิดิไดมิส, 5 หัวของเอพิดิไดมิส, 6 สายรั้งอัณฑะพร้อมหลอดเลือดแดงอัณฑะ
ตัวระบุ
TA98A09.3.01.018
TA23595
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ผนังกลางอัณฑะ (ละติน: mediastinum testis) เป็นโครงข่ายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเส้นใยที่ขยายจากยอดไปยังบริเวณใกล้ส่วนล่างของอัณฑะแต่ละข้าง ด้านบนจะมีความกว้างมากกว่าด้านล่าง

ผนั้งกั้นไม่สมบูรณ์จำนวนมากแพร่ขยายไปยังด้านหน้าและด้านข้างเข้าหาพื้นผิวของอัณฑะ และยึดเกาะเข้ากับทูนิกา อัลบูจิเนีย ทำหน้าที่แบ่งภายในของอัณฑะออกเป็นช่องว่างที่ไม่สมบูรณ์จำนวนหนึ่ง เรียกว่า กลีบย่อย ซึ่งมีรูปทรงลักษณะค่อนข้างเป็นทรงกรวย บริเวณส่วนฐานที่อยู่บนพื้นผิวของอัณฑะกว้าง และเริ่มแคบลงเรื่อย ๆ เมื่อเข้าบรรจบกับผนังกลาง

ผนังกลางยังทำหน้าที่รองรับรีตี เทสทิสและหลอดเลือดของอัณฑะที่ผ่านเข้าและออกจากเนื้อในของอัณฑะ

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 1243 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]