หนังหุ้มปลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนังหุ้ม
หนังหุ้มปลายที่กำลังปกคลุมบางส่วนของสวนหัวองคชาต แสดงให้เห็นแถบริ้วที่ปรากฏที่ปลายสุดของหนังหุ้มปลาย
รายละเอียด
คัพภกรรมปุ่มอวัยวะสืบพันธุ์, ส่วนทบอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงด้านบนขององคชาต
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำด้านบนขององคชาต
ประสาทเส้นประสาทด้านบนขององคชาต
ตัวระบุ
ภาษาละตินPraeputium
MeSHD052816
TA98A09.4.01.011
TA23675
FMA19639
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์เพศชาย หนังหุ้มปลาย คือส่วนทบแบบสองขั้นของกล้ามเนื้อเรียบ หลอดเลือด เซลล์ประสาท ผิวหนัง และ เยื่อเมือก ที่เป็นส่วนหนึ่งของขององคชาต ทำหน้าที่ปกคลุมและปกป้องส่วนหัวองคชาตและรูปัสสาวะ มันยังสามารถอธิบายว่าเป็นหนังหุ้มปลายองคชาตได้อีกด้วย ในทางกว้างขึ้นทางศัพท์เทคนิคนั้นจะหมายรวมไปถึงหมวกปุ่มกระสัน (Clitoral hood) ในผู้หญิงด้วยด้วย ซึ่งหนังหุ้มปลายนั้นเป็นตัวอ่อนที่ต้นกำเนิดเหมือนกัน เป็นบริเวณเขตเยื่อบุทวารหนักกับผิวหนังที่ปกคลุมไปเส้นประสาทอย่างมากขององคชาต ซึ่งเกิดขึ้นใกล้กับส่วนปลายของหนังหุ้มปลาย หนังหุ้มปลายนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ง่าย ยืดออกได้พอสมควร และทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ

โดยปกติ หนังหุ้มปลายของผู้ใหญ่จะสามารถดึงรั้งลงมา (retractable) จากส่วนหัวองคชาตได้ ซึ่งครอบคลุมส่วนหัวทั้งในสถานะอ่อนตัวและแข็งตัว ขึ้นอยู่กับความยาวของหนังหุ้มปลาย เมื่อแรกเกิดหนังหุ้มปลายจะยึดอยู่กับส่วนหัวองคชาต และโดยทั่วไปจะยังไม่สามารถดึงรั้งลงได้ในวัยทารก[1] เมื่อโตขึ้นในวัยเด็กสามารถจึงสามารถดึงรั้งลงมาได้ แต่จากผลสำรวจพบว่า 95% ของผู้ชายสามารถดึงรั้งหนังหุ้มปลายลงมาได้อย่างเต็มที่ขณะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว[2] การไม่สามารถดึงรั้งหนังหุ้มปลายลงมาได้ในวัยเด็กนั้นไม่ควรถือว่าเป็นปัญหาเว้นแต่มีอาการอย่างอื่น[3]

องค์การอนามัยโลกมีการอภิปรายถึงหน้าที่อย่างแน่นอนของหนังหุ้มปลาย ซึ่งรวมถึง "ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของส่วนหัวขององคชาต ปกป้องการพัฒนาขององคชาตในวัยแรก หรือเพิ่มความความสุขทางเพศเนื่องจากมีตัวรับความรู้สึก"[4]

หนังหุ้มปลายอาจตกอยู่ภายใต้สภาวะทางพยาธิวิทยาจำนวนมาก[5] ส่วนมากเงื่อนไขนั้นเกิดยาก และสามารถรักษาได้ง่าย ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาวะเรื้อรัง การรักษาอาจทำได้วิธีการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นการนำหนังหุ้มปลายองคชาตบางส่วนหรือทั้งหมดออกไป

อธิบาย[แก้]

แผนภาพตัดแบ่งของกายวิภาคศาสตร์เพศชาย

เมื่อมองจากภายนอก หนังหุ้มปลาย คือ การต่อเนื่องกันของผิวหนังและแท่งองคชาต (Shaft) แต่ด้านใน หนังหุ้มปลาย คือ เยื่อเมือกเหมือนกับที่อยู่ด้านในของเปลือกตาหรือปาก เขตเยื่อบุทวารหนักกับผิวหนังเกิดขึ้นในบริเวณที่ด้านนอกและด้านในของหนังหุ้มปลายมาพบกัน แถบริ้วเป็นบริเวณที่ปกคลุมไปด้วยเนื้อเยื่อเส้นประสาทอย่างมากและอยู่ด้านในส่วนบนสุดของหนังหุ้มปลาย เช่นเดียวกับเปลือกตา หนังหุ้มปลายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระหลังจากที่มันแยกตัวออกจากส่วนหัวองคชาตแล้ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือในช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ โดยหนังหุ้มปลายถูกเชื่อมต่อกับส่วนหัวองคชาตด้วยเส้นสองสลึง

เทย์เลอร์และคณะ (ค.ศ. 1996) รายงานการนำเสนอเกี่ยวกับบัลบอยด์คอร์พัสเซิล (Bulboid corpuscle) และชนิดของปลายประสาทที่เรียกว่าแทคไทล์คอร์พัสเคิล[6] ตามรายงานนั้น ความหนาแน่นของความกว้างในแถบริ้ว (บริเวณของริ้วเยื่อเมือกที่ส่วนปลายของหนังหุ้มปลาย) จะมีมากกว่าบริเวณเยื่อเมือกที่เรียบในบริเวณที่ยาวกว่า[6] ซึ่งมีผลตามอายุ ซึ่งพวกมันจะลดลงหลังจากวัยรุ่น[7] เมซเนอร์คอร์พัสเคิลไม่สามารถแยกได้ในทุกรายบุคคล[8] ส่วนแบตและคณะ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเมซเนอร์คอร์พัสเคิลที่จำนวนของความแตกต่างไซท์ ประกอบด้วย "ปลายนิ้ว อุ้งมือ ด้านหน้าของแขนท่อนปลาย ฝ่าเท้า ริมฝีปาก หนังหุ้มปลายขององคชาต ด้านหลังของแขนและเท้า" พวกเขาพบว่าดัชนีเมซเนอร์ (Meissner's Index) ที่ต่ำที่สุดในเรื่องความหนาแน่นนั้นอยู่ในหนังหุ้มปลาย และในรายงานยังระบุอีกว่าคอร์พัสเคิลที่ไซท์นี้มีขนาดเล็กทางกายภาพ ซึ่งมีการบันทึกถึงความแตกต่างของรูปร่างด้วย พวกเขาสรุปว่าคุณลักษณะเหล่านี้ถูกพบใน "บริเวณความรู้สึกน้อยของร่างกาย"[9] ในช่วงปลายยุค ค.ศ. 1950 วิงเกิลแมนน์ ชี้ว่าตัวรับค่าบางอย่างนั้นผิดพลาดที่นำมาใช้แยกเมซเนอร์คอร์พัสเคิล[10][11]

วิทยาลัยแพทย์และศัลยแพทย์แห่งบริติชโคลัมเบีย ได้เขียนระบุเกี่ยวกับหนังหุ้มปลายว่าเป็น "การประกอบด้วยของผิวหนังด้านนอกและเยื่อเมือกด้านในซึ่งอุดมไปด้วยปลายประสาทสัมผัสพิเศษและเนื้อเยื่ออีโรจีนัส (Erogenous tissue)"[12]

การพัฒนา[แก้]

แปดสัปดาห์หลังการปฏิสนธิ หนังหุ้มปลายเริ่มเจริญขึ้นเหนือหัวขององคชาต และจะปกคลุมอย่างสมบูรณ์เมื่อวัย 16 สัปดาห์ ที่สถานะนี้ หนังหุ้มปลายและส่วนหัวองคชาตแบ่งปันเยื่อบุผิว (ชั้นเยื่อเมือก) ด้วยกัน นั่นทำให้มันรวมเข้าด้วยกัน และจะคงอยู่ไปจนกว่าหนังหุ้มปลายจะแยกออกจากส่วนหัวขององคชาต[13]

ตามที่การศึกษาเมื่อปี 1949 โดยดักลาส แกรดเนอร์ หนังหุ้มปลายโดยทั่วไปจะยังคงถูกรวมเข้ากับส่วนหัวในตอนที่เกิด[13] ในกระบวนการตอนวัยเด็ก มันจะแยกออกจากกันทีละน้อย[14] จากรายงานนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามอายุที่หนังหุ้มปลายจะสามารถแยกออกได้ เมื่อปี 2005 ทอร์วาลด์เซนและเมย์ฮอฟฟ์ รายงานว่า 21% ของเด็กชายวัย 7 ปีในการศึกษาของพวกเขาไม่สามารถแยกหนังหุ้มปลายออกได้ และสัดส่วนนี้จะลดลงไป 7% ในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ ซึ่งการแยกออกครั้งแรกนั้นเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุประมาณ 10.4 ปี[15] แต่รายงานของแกรดเนอร์เมื่อปี 1949 ระบุว่ามีเพียง 10% ของเด็กชายวัย 3 ปีเท่านั้นที่ไม่สามารถแยกหนังหุ้มปลายออกได้[13] อย่างไรก็ตาม แกรดเนอร์นั้นมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการพัฒนาและการแยกออกของหนังหุ้มปลาย[1][16] รายงานของไรท์ (Wright) เมื่อปี 1994 ได้โต้แย้งในการใช้ความรุนแรงในการแยกหนังหุ้มปลาย ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น และควรให้ตัวเด็กเองเป็นผู้แยกหนังหุ้มปลายของเขาเองในครั้งแรก[1] ความพยายามที่จะแยกหนังหุ้มปลายอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดและเป็นเหตุแห่งอาการบาดเจ็บได้[17]

ภาพของหนังหุ้มปลายที่แยกออกจากส่วนหัวองคชาตเองตามธรรมชาติ ชั้นทั้งสองของหนังหุ้มปลายของผิวหนังด้านนอกและเยื่อยเมือกด้านในสามารถแยกออกจากส่วนหัว

ในวัยเด็ก หนังหุ้มปลายโดยมากจะปกคลุมส่วนหัวโดยสมบูรณ์ แต่ในวัยผู้ใหญ่มันอาจไม่เป็นอย่างนั้น Schöberlein (1966) ได้จัดการศึกษาผู้ชายวัยรุ่น 3,000 คนในเยอรมัน และพบว่า 41.9% ยังมีหนังหุ้มปลายปกคลุมบางส่วน และ 8.5% นั้นไม่มีปกคลุมแล้ว ราว ๆ ครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น (4%) หนังหุ้มปลายได้ถอยร่นไปเองตามธรรมชาติโดยปราศจากการศัลยกรรม[18] ในระหว่างการแข็งตัว องศาของการถอยร่นของหนังหุ้มปลายนั้นต่างกันอย่างมาก ในผู้ใหญ่บางคน หนังหุ้มปลายจะยังคงเหลือปกคลุมทั้งหมดหรือบางส่วนของส่วนหัวองคชาต จนกระทั่งมีการถอยร่นด้วยตนเองหรือมีกิจกรรมทางเพศ ความแตกต่างนี้ถูกพิจารณาโดยเฉิงซูเมื่อปี 2011 ในฐานะเงื่อนไขผิดปกติชื่อว่า 'prepuce redundant' ความถี่ของการแยกออกและล้างภายใต้ของหนังหุ้มปลายนั้นแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีหนังหุ้มปลายยาวหรือหนังหุ้มปลายมากเกินไป[19] เมื่อหนังหุ้มปลายนั้นยาวกว่าองคชาต มันจะไม่ถอยร่นออกไปเองขณะมีการแข็งตัว

มันแสดงให้เห็นว่าการดึงหนังหุ้มปลายโดยใช้มือระหว่างวัยเด็กหรือในวัยผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตามปกติและดึงหนังหุ้มปลายลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งชี้ว่ามีหลายเงื่อนไขที่มีผลต่อหนังหุ้มปลายซึ่งอาจกีดขวางหรือถนอมทางพฤติกรรม[20] ในผู้ชายบางคน ตามที่ Xianze ระบุไว้เมื่อปี 2012 พวกเขาอาจไม่เต็มใจที่ส่วนหัวองคชาตของพวกเขานั้นถูกเปิดออก เพราะว่ารู้สึกไม่สะดวกสบายเมื่อมันถูกรบกวนจากการปะทะกับเสื้อผ้า แม้ว่าความรู้สึกไม่สะดวกสบายส่วนหัวของคชาตตามรายงานจะหายไปภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากเปิดออก[21] Guochang (2010) รายงานว่าสำหรับคนที่มีหนังหุ้มปลายองคชาตที่คับแน่นจนเกินไปที่จะเปิดออกหรือมีบางสิ่งที่ยืดไว้ ควรหลีกเลี่ยงการเปิดออกเพราะอาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้[22]

หน้าที่[แก้]

หนังหุ้มปลายองคชาตปกคลุมบริเวณส่วนหัวองคชาตขณะไม่แข็งตัว (ภาพบน) แต่โดยทั่วไปมักเปิดออกเมื่อเกิดภาวะแข็งตัว (ภาพล่าง) การครอบคลุมส่วนหัวขององคชาตในขณะอ่อนตัวและแข็งตัวจะแตกต่างกันไปตามความยาวของหนังหุ้มปลาย

องค์การอนามัยโลกมีการอภิปรายถึงหน้าที่อย่างแน่นอนของหนังหุ้มปลาย ซึ่งรวมถึง "ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของส่วนหัวขององคชาต ปกป้องการพัฒนาขององคชาตในวัยแรก หรือเพิ่มความความสุขทางเพศเนื่องจากมีตัวรับความรู้สึก"[23] หนังหุ้มปลายช่วยให้องคชาตมีผิวหนังเพียงพอเมื่อเกิดการแข็งตัวและขยายออกได้อย่างเต็มรูปร่าง[24] สมาคมเพศวิทยาคลินิกแห่งนอร์ดิก ได้ระบุว่าหนังหุ้มปลาย "ก่อให้เกิดการทำงานตามธรรมชาติเมื่อมีการใช้องคชาตในกิจกรรมทางเพศ"[25]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Wright JE. Further to "the further fate of the foreskin". Update on the natural history of the foreskin. Med J Aust. 1994;160(3):134–5. PMID 8295581.
  2. Øster J. Further fate of the foreskin: Incidence of preputial adhesions, phimosis, and smegma among Danish schoolboys. Arch Dis Child. April 1968;43(228):200–202. doi:10.1136/adc.43.228.200. PMID 5689532.
  3. "Phimosis (tight foreskin)". NHS Choices. สืบค้นเมื่อ 3 November 2013.
  4. "Male circumcision: Global trends and determinants of prevalence, safety and acceptability" (PDF). World Health Organization. 2007.
  5. Manu Shah (January 2008). The Male Genitalia: A Clinician's Guide to Skin Problems and Sexually Transmitted Infections. Radcliffe Publishing. pp. 37–. ISBN 978-1-84619-040-7.
  6. 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ taylor
  7. Dong G, Sheng-mei X, Hai-yang J, et al. Observation of Meissner's corpuscle on fused phimosis. J Guangdong Medical College. 2007 [archived 2011-07-07; cited 2017-07-30].
  8. Haiyang J, Guxin W, Guo Dong G, Mingbo T et al.. Observation of Meissner's corpuscle in abundant prepuce and phimosis. J Modern Urol. 2005 [archived 2011-07-07; cited 2017-07-30].
  9. Bhat GM, Bhat MA, Kour K, Shah BA. Density and structural variations of Meissner's corpuscle at different sites in human glabrous skin. J Anat Soc India. 2008 [archived 2013-12-04; cited 2017-07-30];57(1):30–33.
  10. Winkelmann RK. The cutaneous innervation of human newborn prepuce. J Investigative Dermatol. 1956;26(1):53–67. doi:10.1038/jid.1956.5. PMID 13295637.
  11. Winkelmann RK. The mucocutaneous end-organ: the primary organized sensory ending in human skin. AMA Arch Dermatol. 1957;76(2):225–35. doi:10.1001/archderm.1957.01550200069015. PMID 13443512.
  12. College of Physicians; Surgeons of British Columbia (2009). "Circumcision (Infant Male)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
  13. 13.0 13.1 13.2 Gaidner D. Fate of the Foreskin. BMJ. 1949;2(4642):1433–7. doi:10.1136/bmj.2.4642.1433. PMID 15408299.
  14. Øster J. Further fate of the foreskin: incidence of preputial adhesions, phimosis, and smegma among Danish Schoolboys. Arch Dis Child. 1968;43:200–3. doi:10.1136/adc.43.228.200. PMID 5689532.
  15. Thorvaldsen MA, Meyhoff H. Phimosis: Pathological or Physiological?. Ugeskrift for Læger. 2005;167(17):1858–62. PMID 15929334.
  16. Denniston GC, Hill G. Gairdner was wrong.. Can Fam Physician. 2010;56(1):986-7. PMID 20944034. PMC 2954072.
  17. "Circumcision of infant males" (PDF). RACP. p. 7.[ลิงก์เสีย]
  18. "The Significance and Frequency of Phimosis and Smegma". Male-initiation.net. 1966. สืบค้นเมื่อ 2013-04-16.
  19. Chengzu, Liu (2011). "Health Care for Foreskin Conditions". Epidemiology of Urogenital Diseases. Beijing: People's Medical Publishing House.
  20. "Best Way to Cure Phimosis / Tight Foreskin". ehealthforum.com. 2007. สืบค้นเมื่อ 2013-10-21.
  21. Xianze, Liang (2012). Tips on Puberty Health. Beijing: People's Education Press.
  22. Guochang, Huang (2010). General Surgery. Beijing: People's Medical Publishing House.
  23. "Male circumcision: Global trends and determinants of prevalence, safety and acceptability" (PDF). World Health Organization. p. 13.
  24. Dobanavacki D, Lucić Prostran B, Sarac D, et al.. Prepuce in boys and adolescents: what when, and how?. Med Pregl. 2012;65(7-8):295-300. PMID 22924249.
  25. Nordic Association of Clinical Sexologists. Statement on Non-therapeutic circumcision of boys; 10 October 2013 [archived 2016-01-14; cited 6 January 2016].