ปาโอโล อุชเชลโล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ภาพเหมือนสตรี" (ค.ศ. 1450) โดย ปาโอโล อุชเชลโลที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ปาโอโล อุชเชลโล (อิตาลี: Paolo Uccello; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Paolo di Dono; ค.ศ. 1397 - 10 ธันวาคม ค.ศ. 1475) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์ของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และเป็นจิตรกรในบรรดาจิตรกรคนแรก ๆ ที่ใช้ทฤษฎีการเขียนแบบทัศนียภาพ จอร์โจ วาซารี กล่าวใน "ชีวิตศิลปิน" ถึงปาโอโล อุชเชลโลว่าเป็นจิตรกรผู้มีความสนใจอย่างมุ่งมั่นในการเขียนแบบทัศนียภาพและจะนั่งศึกษาเพื่อจะเข้าใจการใช้จุดลับตาหรือจุดอันตรธาน[1] (Vanishing point) อุชเชลโลใช้ทัศนียภาพเพื่อทำให้ภาพมีความลึกในการบรรจุเนื้อหาแทนที่จะต้องเขียนต้องเขียนภาพเป็นชุดหรือต่อเนื่องเป็นฉากๆ อย่างเช่นจิตรกรร่วมสมัย

"ยุทธการซานโรมาโน" เป็นภาพเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดของปาโอโล อุชเชลโล ซึ่งเดิมสันนิษฐานว่าเป็นภาพ "ศึกซานอีจิดิโอ ค.ศ. 1416" (Battle of Sant' Egidio of 1416) ภาพเขียนของอุชเชลโลเป็นแบบปลายกอธิคและเน้นการใช้สีและขบวนการหรูหราแทนที่จะเน้นลักษณะลัทธิสัจนิยมแบบคลาสสิกซึ่งศิลปินคนอื่นๆ ริเริ่ม ลักษณะของอุชเชลโลเป็นแบบที่เรียกว่า "idiosyncratic" ซึ่งไม่มีผู้ติดตามใช้ต่อมา อุชเชลโลมีอิทธิพลบางส่วนต่อนักวิจารณ์วรรณกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20[ต้องการอ้างอิง]

สมุดภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]