ปาแลการ์นีเย
ปาแลการ์นีเย Palais Garnier | |
---|---|
โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | โรงอุปรากร |
สถาปัตยกรรม | ฟื้นฟูบาโรก |
เมือง | ปารีส |
ประเทศ | ฝรั่งเศส |
พิกัด | 48°52′19″N 2°19′54″E / 48.87194°N 2.33167°E |
เริ่มสร้าง | ค.ศ. 1862 |
ผู้สร้าง | จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | ชาร์ล การ์นีเย |
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ Opéra |
ปาแลการ์นีเย (ฝรั่งเศส: Palais Garnier) บ้างเรียก หออุปรากรปารีส (Opéra de Paris) หออุปรากรการ์นีเย (Opéra Garnier) เป็นโรงละครโอเปราตั้งอยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างโดย ชาร์ล การ์นีเย เป็นสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูบาโรก โรงอุปรากรปาแลการ์นีเยถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของยุค
เมื่อทำการเปิดในปี ค.ศ. 1875 หออุปรากรมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Académie Nationale de Musique - Théâtre de l'Opéra” (วิทยาลัยแห่งชาติ สาขาคีตกรรม และโรงละครโอเปราแห่งปารีส) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันมาจนกระทั่งปี 1978] เมื่อได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “Théâtre National de l'Opéra de Paris” (โรงละครแห่งชาติเพื่อการแสดงอุปรากรแห่งปารีส) แต่หลังจากคณะอุปรากรแห่งปารีส (Opéra National de Paris) เลือกโรงอุปรากรบัสตีย์ซึ่งเป็นโรงอุปรากรที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่เป็นโรงอุปรากรหลักแล้ว โรงละครแห่งชาติก็เปลี่ยนชื่อเป็น “ปาแลการ์นีเย” แม้ว่าจะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Académie Nationale de Musique” (สถาบันดนตรีแห่งชาติ) แม้ว่าคณะอุปรากรจะย้ายไปยังโรงอุปรากรบัสตีย์ แต่ “ปาแลการ์นีเย” ก็ยังคงเรียกกันว่า “โรงอุปรากรปารีส”
ประวัติ
[แก้]ปาแลการ์นีเยออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ของปารีสของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ที่ริเริ่มโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ผู้ทรงเลือกชอร์ช-เออแชน โอสแมนน์ให้เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง ในปี ค.ศ. 1858 จักรพรรดินโปเลียนก็มีพระบรมราชโองการให้เคลียร์พื้นที่ 12,000 ตารางเมตรที่ใช้ในการสร้างโรงละครที่สองสำหรับคณะนักแสดงอุปรากรและบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกของปารีส โครงการนี้ได้เปิดแข่งขันประมูลกันในปี ค.ศ. 1861 โดยมีชาร์ล การ์นีเยเป็นผู้ประมูลได้ ในปีเดียวกันก็ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ และการก่อสร้างเริ่มขึ้นในปีต่อมาในปี ค.ศ. 1862 มีเรื่องเล่ากันว่าจักรพรรดินีเออเชนีเดอมองติโคตรัสถามการ์นีเยระหว่างการก่อสร้างว่าจะสร้างเป็นแบบโรมันหรือกรีก ซึ่งการ์นีเยก็ถวายคำตอบว่าจะเป็น “แบบนโปเลียนที่ 3”[ต้องการอ้างอิง]
อุปสรรค
[แก้]การก่อสร้างโรงอุปรากรประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ หลายอย่าง อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการเลื่อนเวลาการเทฐานคอนกรีตลงบนพื้นดินที่เป็นเลนแฉะที่ภายใต้เป็นทะเลสาบใต้ดิน ที่ต้องใช้เวลาตลอดแปดเดือนเต็มในการใช้เครื่องสูบน้ำดูดน้ำออก จากนั้นก็ประสบกับสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย, การล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 และ การปกครองภายใต้รัฐบาลปารีสคอมมีน ระหว่างนั้นการก่อสร้างก็สร้าง ๆ หยุด ๆ เป็นพัก ๆ และถึงกับมีข่าวลือว่าโครงการจะถูกระงับลงโดยสิ้นเชิง[ต้องการอ้างอิง]
เพลิงไหม้
[แก้]เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1873 ปัจจัยที่ทำให้จำเป็นที่จะต้องสร้างปาแลการ์นีเยให้เสร็จมาจากโรงอุปรากรปารีสเดิมที่เรียกว่า “โรงละครแห่งราชสถาบันการดนตรี” (Théâtre de l'Académie Royale de Musique) ถูกเพลิงเผาไหม้อยู่ 27 ชั่วโมงจนไม่เหลือซาก
การก่อสร้าง
[แก้]เมื่อมาถึงปลาย ค.ศ. 1874 การ์นีเยก็สร้างปาแลการ์นีเยเสร็จ และเปิดดำเนินการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1875 ด้วยการแสดงอันยิ่งใหญ่ งานแสดงฉลองประกอบด้วยองค์ที่สามของอุปรากร La Juive โดย Fromental Halévy และบางตอนของอุปรากร Les Huguenots โดย Giacomo Meyerbeer คณะบัลเลต์แสดง Grand Divertissement ที่ประกอบด้วยฉาก Le Jardin Animé จากบัลเลต์ Le Corsaire โดย Joseph Mazilier ด้วยดนตรีโดย Léo Delibes.[ต้องการอ้างอิง]
แฟนธอม
[แก้]ในปี ค.ศ. 1896 โคมระย้าของโรงอุปรากรก็ร่วงลงมาทำให้มีผู้เสียชีวิตไปคนหนึ่ง เหตุการณ์นี้และการมีทะเลสาบใต้ดิน ห้องใต้ดินและองค์ประกอบอื่นทำให้กัสตง เลอรูซ์นำเอาไปเขียนนวนิยายกอธิค เรื่อง "เดอะแฟนธอมออฟดิโอเปรา" ในปี ค.ศ. 1909
ลักษณะสถาปัตยกรรม
[แก้]แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าโรงอุปรากรเดิมเล็กน้อย แต่ปาแลการ์นีเยก็มีเนื้อที่ถึง 11,000 ตารางเมตร จุผู้ชมได้ประมาณ 2,200 คนภายใต้โคมระย้าที่หนักกว่า 6 ตัน และมีห้องที่สามารถรับนักแสดงได้ถึง 450 คน การตกแต่งอย่างหรูหราเป็นการตกแต่งตามแบบสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ ที่ผังเป็นลักษณะที่สมมาตรพร้อมด้วยการตกแต่งภายนอก
การตกแต่งปาแลการ์นีเยเป็นการตกแต่งอัน “วิจิตรตระการตา” โดยใช้แถบหินอ่อนหลากสี, คอลัมน์ และ รูปสลักเสลาอันงดงามที่บางรูปมาจากตำนานเทพเจ้ากรีก ระหว่างคอลัมน์ด้านหน้าเป็นประติมากรรมสำริดครึ่งตัวของคีตกวีเอกหลายคนที่รวมทั้งโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท, จออาชิโน รอสซินี, แดเนียล โอแบร์, ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน, จาโคโม ไมเยอร์เบียร์, โฟรเมินทาล ฮาเลวีย์, กาสปาเรอ สปงทีนี และ ฟิลีป ควีโนล์ท.
กลางหลังคาเป็นประติมากรรม “อพอลโล, กวีนิพนธ์ และ ดนตรี” ที่สร้างโดยเอเม มิลเลต์ กลุ่มประติมากรรมปิดทองเป็น “ความกลมกลืน” และ “ดนตรี” ที่ออกแบบโดยชาร์ล จูเมอรีย์ และประติมากรรมสำริดขนาดเล็กกว่าเป็นภาพเพกาซัสของเออแฌน-หลุยส์ เลอเคสเนอ ประติมากรรมด้านหน้าสร้างโดยฟรองซัวส์ จูฟฟรอย (“ความกลมกลืน”), ฌอง-บัพทิสต์ โคลด เออแฌน กีโยม (“ดนตรี”), ฌอง-บัพทิสต์ คาร์โพซ์ (“นาฏกรรม”), ฌอง-โฌเซฟ แพร์โรด์ (“นาฏดนตรี”) และงานชิ้นอื่น ๆ โดย ศิลปินอีกหลายท่าน
ภายในตัวโรงอุปรากรประกอบด้วยระเบียง, บันได, ที่พักระหว่างขั้นบันได และ เวิ้ง ที่ผสานสลับกันไปมาที่ทำให้สามารถผู้คนจำนวนมากสามารถเคลื่อนย้ายทำการสังสรรค์กันได้อย่างสะดวกระหว่างการพักครึ่งระหว่างการแสดง การใช้สีที่ลึกและเป็นกำมะหยี่, ใบประดับสีทอง, ดรุณเทพ และ นิมฟ์ ในการตกแต่งภายในเป็นการตกแต่งตามแบบฉบับของสถาปัตยกรรมบาโรกอันอลังการ
บริเวณเพดานรอบโคมระย้าได้รับการเขียนภาพใหม่ในปี ค.ศ. 1964 โดยมาร์ค ชากาล แต่เป็นงานที่สร้างความขัดแย้ง เพราะมีผู้มีความเห็นว่าเป็นงานที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะการตกแต่งโดยทั่วไปของสถาปัตยกรรม
อิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมในต่างประเทศ
[แก้]ปาแลการ์นีเยเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลที่สุดต่อสิ่งก่อสร้างอื่นสิ่งก่อสร้างหนึ่งอยู่เป็นเวลาราวสามสิบปีหลังจากที่สร้างเสร็จ
-
ด้านข้างของ Juliusz Slowacki theater
-
สังคีตศาลาวอร์ซอราว ค.ศ. 1900
-
Maquette of the Lviv Theatre
-
ตึกทอมัส เจฟเฟอร์สัน
-
โรงละครแห่งรีโอเดจาเนโร
-
โรงละครเซาเพาโล
-
โรงละครอมาโซนาสที่มานูอัส
- โปแลนด์ - สิ่งก่อสร้างหลายแห่งในโปแลนด์สร้างใช้ผังของปาแลการ์นีเยเป็นแบบ ที่รวมทั้ง Juliusz Słowacki Theatre ใน คราคอฟที่สร้างในปี ค.ศ. 1893 และ สังคีตศาลาวอร์ซอที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1900 ถึงปี ค.ศ. 1901
- ยูเครน - อิทธิพลของปาแลการ์นีเยเห็นได้ใน The Lviv Theatre of Opera and Ballet ใน Lvivที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1897 ถึงปี ค.ศ. 1900 และที่โรงอุปรากรแห่งชาติแห่งยูเครน ใน Kyiv ที่สร้างในปี ค.ศ. 1901
- สหรัฐอเมริกา - ตึกทอมัส เจฟเฟอร์สัน ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใน วอชิงตัน ดี.ซี.สร้างตามแบบปาแลการ์นีเย โดยเฉพาะด้านหน้าและโถงใหญ่ภายใน
- บราซิล - โรงละครแห่งรีโอเดจาเนโรที่สร้างในปี ค.ศ. 1909 ก็สร้างแบบปาแลการ์นีเยโดยเฉพาะในการสร้างห้องโถงและบันได และโรงละครอมาโซนาสที่มานูอัส ที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1884 ถึงปี ค.ศ. 1896
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ปาแลการ์นีเยราวปี ค.ศ. 1900
-
ประติมากรรม “อพอลโล, กวีนิพนธ์ และ ดนตรี”
-
รายละเอียดประติมากรรม “อพอลโล, กวีนิพนธ์ และ ดนตรี”
-
ประติมากรรม “กวีนิพนธ์”
-
ประติมากรรม “นาฏดนตรี” ด้านหน้า
-
“นาฏกรรม”
-
วันเปิดในปี ค.ศ. 1875
-
ภาพเขียนบนเพดาน
-
เวทีและที่นั่งภายใน
-
รายละเอียดด้านหน้า
อ้างอิง
[แก้]- Allison, John (ed.), Great Opera Houses of the World, supplement to Opera Magazine, London 2003
- Beauvert, Thierry, Opera Houses of the World, New York: The Vendome Press, 1995. [ISBN 0-86565-978-8]
- Guest, Ivor Forbes, Ballet of the Second Empire, London: Wesleyan University Press, 1974
- Guest, Ivor Forbes, The Paris Opera Ballet, London: Wesleyan University Press, 2006
- Kleiner, Fred S., Gardner's Art Through The Ages, Belmont: Thomsom Wadsworth, 2006 [ISBN 0-534-63640-3]
- Zeitz, Karyl Lynn, Opera: the Guide to Western Europe's Great Houses, Santa Fe, New Mexico: John Muir Publications, 1991. [ISBN 0-945465-81-5]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย
- Official website[ลิงก์เสีย] (in English)
- History of architecture (in Spanish)
- The Palais Garnier เก็บถาวร 2008-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน current photographs and of the years 1900.
- Unused architectural drawings for the Opéra de Paris by Charles Rohault de Fleury เก็บถาวร 2011-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน